วันพุธที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2552

บทกวี(ข้อมูล)

ความทุกข์โดยเฉพาะของสตรี
(1) พลัดพรากจากญาติเว้น วงศ์วานทนทุกข์ทรมาน ค่ำเช้าราตรีทิวานาน เนาว์เนื่อง แผนกหนึ่งน้องโศกเศร้า หลั่งล้นชลนา
(2) วารเวียนผันเปลี่ยนเข้า เต็มเดือนโลหิตติดตามเตือน ห่อนเว้นเสียดจุกทุกข์เสมือน เสพย์สนิทบีบกดมดลูกเค้น รุกเร้ารอบเดือน
(3) พยาธิสภาพนั้น กำหนดสวาทเสพย์เมถุนกฏ กลัดกลุ้มภิรมย์ร่วมเพศรส เป็นเหตุปฏิสนธิอุ้ม โอบใว้ในครรภ์
(4) กำหนดทศมาสถ้วน ทรงครรภ์กำเนิดภาระอัน หนักแท้กำแสงกำสรวลศัลย์ เจ็บปวดกำบิดกรีดกายแม้ มากพ้นทนเอา
(กำบิด = มีด)
(5) บำเรอบุรุษเคล้า โลกีย์ รอนสิทธิ์อิสตรี บีบคั้นกิเลส-เลส-บัดสี วิปริตขืนคุกคามกีดกั้น คับแค้นแน่นใจ
(6) ความทุกข์ห้าอย่างนี้ ดำรัสจำเพาะสตรีชัด บ่งใว้อาเวณิกสูตรตรัส พุทธพจน์เตือนสติบุรุษไซร้ ชั่วช้า อย่าทำ !!!! By …… Ritti Janson
***************************************
เหนื่อย ......
(-) รู้สึกเหน็ดเหนื่อยแล้ว อย่างไร (?)ความคิดฟุ้งซ่านไป หยุดบ้าง เพียงพักผ่อนกายใจ สักหน่อย ตั้งสติเข่าคู้อ้าง ออกเข้าลมปราณ ฯ
By …… Ritti Janson
***********************************
***** ดูจิต ***** (1) ดูจิต ติดตาม ความว่าง ปล่อยวาง ตัวตน เราเขาไม่ยึด ไม่ติด ไม่เอา สิ่งเร้า รึงรัด ขจัดไป
(2) ดูจิต คิดตาม ถามเหตุ อาเพศ หลงผิด คิดไฉน ?หยุดคิด หยุดจิต หยุดใจ หยุดได้ จึงหลุด สุดทาง
(3) ดูจิต ดูเบา เมาหมก จิตรก รุงรัง ถากถางจิตโง่ หลงทิศ หลงทาง ถูกบ้าง ผิดบ้าง ต่างไป …..
(4) ดูจิต คือสติ ตามติด ตัวคิด ตัวรู้ อยู่ไหน ?เกิดแล้ว ดับแล้ว อย่างไร ? ปัจจัย เกิดดับ ลับตา
(5) ดูจิต กิจแท้ แก้ทุกข์ ปลอบปลุก รุกทัน ตัณหาสติ เท่าทัน ปัญญา รู้ท่า รู้แก่น รู้แกน
(6) ดูจิต ดูอิ- ริยาบท ยืดหด เหยียดถ่าง กางแขนเฝ้าดู รู้ภพ จบแดน อกแอ่น ปากอ้า ขาเดิน (7) ดูจิต ดูหลับ ดูตื่น ดูตื้น ดูลึก ดูเขิน ดูขบ ดูขาด ดูเกิน ประเมิน สติ ปัญญา
(8) ดูจิต อย่าโหม อย่าหัก รู้จัก แก้ไข คลายบ้าอย่ายึด โลกนี้ (ว่า)อัตตา ปัญญา สติ เท่าทัน (9) ดูจิต แม้ศูนย์ กลางกาย ดีร้าย อยู่ที่ สตินั่นต้องรู้ จริงเท็จ เท่าทัน เมื่อนั้น ย่อมเห็น เป็นจริง
(10) ดูจิต กิเลส กำจัด สลัด นิวรณ์ ถอนทิ้งจึงรู้ เห็นตาม ความจริง สรรพสิ่ง รู้ได้ ในตน
(11) ดูจิต ได้เห็น เพียงเห็น อย่าเป็น อย่าจับ สับสนอย่ายึด ถือมั่น ตัวตน จึงพ้น รอดหลุด(มุตติ) สุดทาง ฯลฯ
By …… Ritti Janson
*******************************
“หนึ่งเดียว”
(1) ประจักษ์แรกชัดแจ้ง แก่ใจบุญบาปมิอยู่ใน นอกนั้นมิพบท่ามกลางใด ไหนอื่นจิตหนึ่งมิอาจกั้น นอกแม้กลางใน (2) ประจักษ์จิตหนึ่งนั้น อย่างไร (?)พุทธะย่อมเป็นไป อย่างนั้นธรรมะหนึ่งเดียวไม่ อาจแบ่งสรรพสิ่งหลายหลากชั้น ที่แท้หนึ่งเดียว ฯ
By ….… Ritti Janson
****************************************
******* อย่าคิดหยุด ******
(1) มิควรเศร้า โศกาลัย ในสิ่งอื่นมิควรขืน สิ่งที่พ้น ในหนหลังมิควรยึด ถือมั่น กันจริงจังมิควรหลั่ง น้ำตาริน เหมือนสิ้นใจ
(2) สิ่งที่ผ่าน พ้นแล้ว ให้แล้วเถิดอย่าให้เกิด ทุกขา น้ำตาไหลแม้นเขาเหน็บ เจ็บแปลบ จนแสบใจก็อย่าได้ ถือสา หาคดี
(3) อภัยทาน ผ่านพ้น กุศลจิตอย่าได้คิด ผูกเวร ไปเช่นนี้วิบากเกิด ผลกรรม ซ้ำทวี มิอาจหนี หนี้ล้วน ควรแก่ธรรม
(4) สิ่งใดเกิด ล้วนเกิด เพราะมันเกิดอย่าได้เชิด ชูจิต คิดถลำสิ่งใดดับ ล้วนดับ สรรพกรรมอย่าล่วงล้ำ ตามฟุ้ง ปรุงแต่งไป
(5) ที่ควรหยุด ต้องหยุด อย่าคิดหยุด !!!มิอาจหลุด หยุดลง ด้วยสงสัย (?)เพราะคิดหยุด ยุดสบัด เหตุปัจจัยหยุดมิได้ เพราะคิดหยุด สุดกำลัง
(6) ไม่คิดหยุด จึงเสร็จ สำเร็จกิจเพราะหยุดคิด จึงหยุดได้ ดังใจหวังไม่คิดฟุ้ง ปรุงสังขาร ดันทุรัง จึงถึงฝั่ง สุดภพ จบกิจพลัน ฯ
คำอธิบาย
หลวงปู่ดุลย์ อตุโล ได้เคยอธิบายเอาใว้ว่า ……..
การหยุดที่ถูกต้องนั้น ย่อมหมายถึงการดับที่เหตุปัจจัย(ของสิ่งนั้นๆ) การหยุดคิด(ในวิปัสสนา) ก็จะต้องดับเหตุปัจจัยที่ปรุงแต่งให้เกิดการคิด(ฟุ้งซ่าน)เหล่านั้นแต่ก็มิได้หมายความว่า ให้ไปมัวคิดหาวิธีที่จะหยุดคิด เพราะการกระทำอย่างนั้น ก็ย่อมแสดงถึงความผิดพลาดด้วยเหตุที่ โดยหลักการที่ถูกต้องนั้นคือ ให้หยุดคิดหยุดนึก ก็ในเมื่อกลับไปคิดที่จะหยุดคิดเสียอีก แล้วอาการหยุดคิด จะอุบัติขึ้นได้อย่างไร ? หลวงปู่ได้กล่าวสรุปเอาใว้ดังนี้ว่า
“จงกำจัดอวิชชาแห่งการหยุดคิดหยุดนึกเสียให้สิ้น เลิกล้มความคิดที่จะหยุดคิด เสียก็สิ้นเรื่อง”
By …… Ritti Janson
****************************************
เหยื่อโลก …..
(1) ชีวิตถูกคร่าแล้ว ของน้อย มิอาจต้านชราคอย ห่อนเว้น เห็นภัยทุกข์ชะรอย รับทราบ ละเหยื่อโลกหลีกเร้น เพ่งรู้นิพพาน ฯ
(2) อายุ ... เป็นของน้อย ชราคอย ... คร่าประหาร ทุกข์ท้น ... ชนมานย์ วัฏสงสาร ... ผลาญชีวิน
(3) ใดใด ... มิอาจต้าน ทรมาน ... มิรู้สิ้น ท่วมทบ ... ธรณินท์ มิอาจผิน ... พ้นชรา
(4) เห็นภัย ... ในโลกแล้ว ขอเพื่อนแก้ว ... อย่ากังขา รู้ทุกข์ ... ในชรา กนิษฐา ... จงป้องกัน
(5) เหยื่อโลก ... ละได้แล้ว ใจผ่องแผ้ว ... แคล้วโศกศัลย์ พ้นทุกข์ ... ชราพลัน มุ่งไกวัลย์ ... นิรพาน
(6) พุทธพจน์ ... กำหนดชัด ปริวรรต ... อักษรสาส์น เป็นธรรม ... บรรณาการ มิตรประมาณ ... ถึงเพื่อนยา ฯ
"ชีวิตคืออายุมีประมาณน้อย ถูกต้อนเข้าไปเรื่อย เมื่อบุคคล ถูกชราต้อนเข้าไปแล้ว ย่อมไม่มีผู้ป้องกัน บุคคลเมื่อเห็นภัยนี้ในมรณะ พึงละอามิสในโลกเสีย มุ่งสันติเถิด ฯ"
อ้างจาก อุปเนยยสูตร (หมายเหตุ1 ; อามิส = เหยื่อโลก = บุญ)(หมายเหตุ2 ; สันติ = นิพพาน)
By …… Ritti Janson
ผมไม่แน่ใจว่า เพื่อนๆจะชอบ บทกวีชิ้นนี้หรือไม่นะครับ ซึ่งอันที่จริงแล้ว นี่เป็นบทกวีเก่า ที่ผมแต่งให้เพื่อนคนหนึ่งเพื่อเป็นธรรมบรรณาการนะครับ แต่สิ่งที่ผมฉุกคิดขึ้นมาได้ในขณะนี้ก็คือ การนำพุทธพจน์มา “ปริวรรต” เป็นบทกวี นั้นจะเป็นการกระทำที่ถูกต้องเหมาะสมหรือไม่ และในฐานะที่เป็นผู้อ่าน เพื่อนๆทั้งหลายควรจะมีท่าทีต่อ บทกวี เหล่านี้อย่างไร ?
ได้ปรากฏหลักฐานในพระวินัยปิฎกถึงกรณีที่มีภิกษุสองพี่น้องมาทูลขอพระพุทธองค์ เพื่อที่จะขอยกพุทธพจน์ขึ้นโดยฉันท์ตามแบบอย่างในภาษาสันสกฤต ซึ่งพระพุทธองค์ไม่ทรงอนุญาติ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ ........
อรรถกถาจารย์ ได้ให้คำอธิบายเอาใว้ดังนี้ว่า .....
บทว่า ฉนฺทโส อาโรเปม มีความว่า ข้าพระพุทธเจ้าจะยก พระพุทธวจนะขึ้นสู่ทางแห่งการกล่าวด้วยภาษาสังสกฤตเหมือนเวท คือแต่งเป็นกาพย์กลอนเป็นโศลกเหมือนคัมภีร์พระเวทของพราหมณ์.
โดย คุณ สุชีพ ปุญญานุภาพ ได้อธิบายเกี่ยวกับประเด็นนี้เอาใว้ว่า ......
“ มีทางสันนิษฐานว่า ห้ามแต่งถ้อยคำของพระพุทธเจ้าเป็นคำฉันท์ เพราะอาจทำให้ความหมายเดิมผิดเพี้ยน หรือบิดผันไปตามบังคับหนักเบา ของคำฉันท์ ยิ่งถ้าผู้แต่งไม่แตกฉานในภาษาเพียงพอ ก็จะเป็นการทำร้ายพุทธวจนะ ทำให้เนื้อความแปรปรวนไป แต่การห้ามครั้งนี้น่าจะหมายความว่า การแต่งเพื่อใช้เป็นตำรา ซึ่งจะต้องท่องจำเล่าเรียนศึกษา ส่วนการแต่งสดุดีตามปกติอันเป็นของส่วนบุคคลไม่อยู่ในข้อนี้ ...ฯ” (อ้างจาก พระไตรปิฎกฉบับประชาชน)
ที่จริงแล้ว ท่านพุทธทาส ก็เคยได้กล่าวเตือนเอาใว้แล้วว่า ในส่วนที่เกี่ยวกับ “กวีธรรม” นั้น อย่าได้ไปใส่ใจกับความไพเราะของมันมากนัก อย่างน้อยก็ไม่ควรจะมากไปกว่า “อรรถ” คือสาระประโยชน์ที่แท้จริง ซึ่งเป็นแก่นของพระธรรมคำสอน ซึ่งก็นับได้ว่า สิ่งที่ท่านกล่าวมานั้น สอดคล้องต้องกัน กับพระธรรมวินัยเป็นอย่างดี นะครับ
เพื่อนๆ ลองอ่านบทกวีของท่านพุทธทาสดูนะครับ .........
เมื่อเทียบกับ “พุทธพจน์” จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า บทกวีของท่านพุทธทาส สามารถเก็บ “อรรถ” และ “พยัญชนะ” อันเป็นแก่นสารของพระธรรมคำสอนเอาใว้ได้อย่างครบถ้วน โดยที่ท่านมิได้เอาใจใส่กับ “ฉันทลักษณ์” และความไพเราะสละสลวยตามแบบอย่างของบทกวีมากนัก
ซึ่งเมื่อเทียบกับบทกวีของผมแล้ว จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า แม้บทกวีของผม จะใช้ถ้อยคำฟุ่มเฟือย มากกว่าท่านพุทธทาส ถึงสามเท่าตัว แต่กลับเก็บใจความของพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ได้แค่เพียงครึ่งเดียว แต่ที่น่าเกลียดไปกว่านั้นก็คือ ผมไม่ได้มีเจตนาที่จะเก็บใจความทั้งหมดให้ครบถ้วนเสียด้วยซ้ำ …..
นั่นจึงหมายความว่า หากท่านผู้อ่าน ไม่ขวนขวาย ไปค้นคว้าศึกษาพุทธพจน์ ตามที่ผมทำเชิงอรรถเอาใว้ให้ ท่านผู้อ่านก็จะได้แต่เพียงรสกวีห่วยๆของผม แต่อาจพลาดแก่นธรรมบางประการที่สำคัญไปอย่างน่าเสียดาย และนี่ก็คือความแตกต่าง ในแง่มุมของความรับผิดชอบต่อการเผยแผ่พระธรรมคำสอน ระหว่าง ภิกษุผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ กับ คนไม่เอาไหนอย่างผม !!!!!!
สิ่งที่ผมต้องการจะสื่อถึงท่านทั้งหลายก็คือ เมื่อได้อ่าน “บทกวี” ของผมแล้ว ถ้าหากท่านไม่ต้องการที่จะเสียประโยชน์ล่ะก็ …..กรุณาตรวจสอบที่มาที่ไปและความถูกต้องด้วยนะครับ เพราะธรรมชาติของบทกวีที่มี “ฉันทลักษณ์” คอยบังคับอยู่นั้น อาจจะเป็นเหตุที่ทำให้พุทธพจน์ มีเนื้อความแปรปรวนไปได้ ไม่ว่าจะด้วยความตั้งใจหรือไม่ก็ตาม อย่ามัวแต่ไปเพลิดเพลินกับความไพเราะตามรูปแบบของฉันทลักษณ์นะครับ
ใน อนาคตสูตร พระพุทธองค์ได้ตรัสเอาใว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย จะไม่ใส่ใจในพระสูตรต่างๆที่พระองค์ได้ภาษิตใว้ แต่กลับไปเอาใจใส่กับ สูตรต่างๆ ที่นักกวีแต่งไว้ประพันธ์เป็นบทกวี มีอักษรสละสลวยซึ่งจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการลบล้างพระธรรมวินัยในกาลต่อไป
ดังที่เราจะสามารถสังเกตเห็นได้ในปัจจุบันนี้ว่า พุทธศาสนิกชน มักเอาใจใส่กับ คำสอนของครูบาอาจารย์ของตน มากกว่าที่จะเอาใจใส่กับ พุทธพจน์ จนเมื่อถึงที่สุดแล้ว ถ้าหากคำสอนนั้นๆ เกิดการขัดกันขึ้นมา พวกเขาเหล่านั้นกลับยืนยันว่าคำสอนของครูอาจารย์ของตน มีความถูกต้องมากกว่าคำสอนของพระพุทธองค์เสียอีก ซึ่งทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้ พระพุทธองค์ได้ตรัสบอกเอาใว้ล่วงหน้าแล้วทั้งสิ้น นะครับ .......
อีกประการหนึ่ง ในอนาคต ภิกษุทั้งหลายจักไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีลไม่อบรมจิตไม่อบรมปัญญา เมื่อไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา พระสูตรต่างๆที่ตถาคตได้ภาษิตไว้ เป็นสูตรลึกซึ้ง มีอรรถลึกซึ้งเป็นโลกุตระ ประกอบด้วยสุญญตาธรรมเมื่อพระสูตรเหล่านั้นอันบุคคลแสดงอยู่ก็จักไม่ฟังด้วยดี จักไม่เงี่ยโสตลงสดับ จักไม่ตั้งจิตเพื่อรู้ จักไม่ใฝ่ใจในธรรมเหล่านั้นว่าควรศึกษาเล่าเรียน แต่ว่าสูตรต่างๆ ที่นักกวีแต่งไว้ประพันธ์เป็นบทกวี มีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะสละสลวย เป็นพาหิรกถา เป็นสาวกภาษิตเมื่อพระสูตรเหล่านั้น อันบุคคลแสดงอยู่ ก็จักฟังด้วยดี จักเงี่ยโสตลงสดับจักตั้งจิตเพื่อรู้จักฝักใฝ่ใจในธรรมเหล่านั้นว่าควรศึกษาเล่าเรียน เพราะเหตุดังนี้แล การลบล้างวินัยย่อมมีเพราะการลบล้างธรรม การลบล้างธรรมย่อมมีเพราะการลบล้างวินัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคตข้อที่ ๔ นี้ ซึ่งยังไม่บังเกิดในบัดนี้แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป ภัยข้อนี้อันเธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ ครั้นแล้ว พึงพยายามเพื่อละภัยนั้น ฯ
*******************************************************
ปล่อย ..........
(1) ปล่อยปลาปล่อยเต่าแล้ว ได้บุญ แอบปล่อยหมาแมววุ่น พระเจ้า กายใจปล่อยชุลมุน เสียเปรียบ ปล่อยไก่ใครยั่วเย้า เพื่อนล้อได้อาย
(2) ปล่อยวางยึดติดแล้ว เบาสบาย เพลิงใส่ไฟสุมกาย ไม่ร้อน ใครส่อเสียดเสียหาย คลายโกรธ ตั้งสติมิยอกย้อน มั่นใว้ใจตน ฯ
By …… Ritti Janson
******************************************
ศีล-สมาธิ-ปัญญา
(1) ปฐพีผืนแผ่นเพี้ยง พสุธา ยืนหยัดกิริยา มั่นใว้ เปรียบประดุจศีลา หมดจด พันลึกหากคนไร้ แผ่นพื้นยืนคง ฯ (2) ปฐพี พสุธา กิริยา ยืนหยัดใว้ศีลา หมดจดใน ดังแผ่นพื้น คนยืนคง
(3) พสุธายืนหยัดแล้ว มั่นคง ขาหยัดแขนยังทรง สั่งใด้ กระทำกิจบรรจง สำเร็จ สมาธิส่งเสริมให้ ยิ่งแล้วกำลัง ฯ (4) พสุธา ยืนมั่นคง แขนขาทรง คงสั่งใด้สมาธิ ส่งเสริมใจ สำเร็จกิจ จิตบรรจง
(5) ถางไพรเตรียมมีดพร้า ขวานตัด กำหนดรู้แจ้งชัด เพริศพริ้ง ปัญญาขณะสงัด สงบ คมตัดกิเลสทิ้ง ป่าไม้เป็นฟืน ฯ
(6) ถางไพร เตรียมมีดพร้า ดังปัญญา รู้แจ้งจริงคมตัด กิเลสทิ้ง ดังตัดไม้ ใด้เป็นฟืน
(7) นิทานซ่อนเลสนี้ คำคม กลกล่าวเป็นเหตุปม แต่งใว้ ทายถูกย่อมนิยม ว่าเก่ง ขบคิดตรึกตรองใด้ ย่อมรู้ความจริง ฯ
(8) นิทาน ซ่อนเลสนี้ กำหนดชี้ มีคำคมกลกล่าว เป็นเหตุปม นิยมนึก ตรึกตรองความ ...
By …… Ritti Janson
***************************************
ใจ .....
(1) ใจ-บุญหนุนส่งให้ สงบ ใจ-เมตตาจึงพบ สุขได้ ใจ-ว่างเปล่าสยบ ยึดติด ใจ-กุศลคนใกล้ รับแล้วผลบุญ ฯ
By …… Ritti Janson
************************************
ชั้นเชิงชาย ......
(1) เชิงชาย วิสัยแมว คงไม่แคล้ว ทับแล้วทิ้งยั่วหยอก กลับกลอกยิ่ง ดังแมวหวด ทำลวดลาย
(2) เชิงชาย วิสัยคน อย่าสับสน จงขวนขวายพุทธธรรม นำใจกาย รู้รับผิด คิดชอบธรรม
(3) จากหลับ กลับเป็นตื่น รู้คิดขืน ชั่วถลำกุศลจิต สนิทนำ อนุโมทนา สาธุชน
(4) ทุเรศ เพศวิฬาร์ อนาถา สัตว์หน้าขนติดสัด กำหนัดดล ธรรมชาติ เรี่ยราดไป
(5) เชิงชาย วิสัยเปรต อุบาทว์-เลส สังเวชไฉน ?เสื่อมสนิท จิตจัญไร น่าสมเพศ ทุเรศคน
(6) เสื่อมซ้ำ ถลำจิต สังคมผิด ผลิตผล กลอกกลับ สัปดน เศษมนุษย์ สุดระอา ฯ
By ……… Ritti Janson
********************************
หนึ่งเส้น ...... ปลายผม
(1) พุทธพจน์สัจจะแท้ บรมธรรมหลายหลากมากมายคำ ท่วมท้นทั้งหมดรากแหล่งกำ- เนิดหน่อสังเกตเห็นมิพ้น หนึ่งเส้นปลายผม
(2) ปรัชญาแม้ลึกซึ้ง เพียงใดดังหนึ่งเส้นผมใน แหล่งกว้างเจนจบภพเป็นไป เปรียบดั่งเหวลึกสลัดคว้าง หนึ่งน้ำหยดเดียว ฯ
By ……… Ritti Janson
*************************************
ดอกไม้ เบ่งบาน
(-) แสวงหาความหลุดพ้น ตัวกูเน่าเปื่อยบ่อยครั้งดู แมกไม้กิ่งก้านแตกหน่อชู ไหวช่อเพียงหนึ่งหนเดียวไซร้ ดอกไม้เบ่งบาน ฯ
By …… Ritti Janson
**********************************
วาง ……
(-) วางแม้ความว่างนั้น วางวางวางจิตความคิดพลาง ว่างเว้นวาง “โลกว่าง” ควรวาง วางว่างหากว่างกิเลสเร้น ดับแท้ฤๅมี
By …… Ritti Janson
******************************
อุปกิเลส
(1) ธรรมใดไหนเครื่องเศร้า หมองจิตสดับตรองสักนิด เถิดเจ้าอุปกิเลส-เลสสนิท โสฬสเมาหมกมืดมัวเคล้า ห่อนแก้ฤๅควร ฯ
(2) ธรรมใด ไหนเป็นเหตุ อุปกิเลส เครื่องเศร้าหมองฟังศัพท์ สดับตรอง พุทธพจน์ จำจดเอา
(3) ละโมบ โลภอนาถ พยาบาท มาดร้ายเขาโกธะ มิบรรเทา ผูกโกรธใว้ ในใจตน
(4) ลบหลู่ เพราะดูเบา ยกตนเท่า เทียบเปรียบผลริษยา ในกระมล ตระหนี่จัด มัจฉริยา
(5) มายา มารยายิ่ง โอ้อวดสิ่ง สังขยาแข่งดี สารัมภา หัวดื้อด้าน จะค้านเอา (6) มานะ ความถือตัว จิตสลัว ดูหมิ่นเขามทะ มืดมัวเมา มักเลินเล่อ ปมาทา ฯ
(7) กิเลส เลสสนิท อสรพิษ ปริศนาโสฬส บทจรมา เมาหมกแม้ แก้จึงควร ฯ
By ……. Ritti Janson
อุปกิเลส ๑๖
[๙๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมเหล่าไหน เป็นเครื่องเศร้าหมองของจิต [คือ]
1. อภิชฌาวิสมโลภะ [ละโมบไม่สม่ำเสมอ] 2. พยาบาท [ปองร้ายเขา] 3. โกธะ [โกรธ]4. อุปนาหะ [ผูกโกรธไว้] 5. มักขะ [ลบหลู่คุณท่าน] 6. ปลาสะ [ยกตนเทียบเท่า] 7. อิสสา [ริษยา]8. มัจฉริยะ [ตระหนี่] 9. มายา [มารยา] 10. สาเฐยยะ [โอ้อวด] 11. ถัมถะ [หัวดื้อ] 12. สารัมภะ [แข่งดี]13. มานะ [ถือตัว] 14. อติมานะ [ดูหมิ่นท่าน] 15. มทะ [มัวเมา] 16. ปมาทะ [เลินเล่อ]
เหล่านี้เป็นธรรมเครื่องเศร้าหมองของจิต.
(อ้างจาก วัตถูปมสูตร)
***********************************
จิตประภัสสร
(1) เดิมจิตประภัสสร์นี้ ผุดผ่องมูลเหตุ*เลสเศร้าหมอง ห่อนแก้จรมาอุปกิเลสกอง เมาหมกปุถุชน-มิ-สดับแล้ หย่อนแล้วอบรม
(2) เดิมจิตประภัสสร์นี้ ผุดผ่องเห็นเหตุ*เลสเศร้าหมอง ผ่อนแก้ พ้นวิเศษกิเลสกอง ดับสนิทอริยสาวกแท้ ย่อมรู้ตามจริง ฯ
By …….. Ritti Janson
************************************
เต็กเก็ง
(-) เต็กเก็งเซ็งแซ่ซ้อง ปรัชญาสรรพสิ่งเคลื่อนไหวพา แต่งตั้งอนิจจตาทุกขตา เฉลยบอกเว้นแต่อนัตตตาพลั้ง ท่านรู้บ่ถึง ฯ
By …… Ritti Janson
*********************************
ตัดป่า .... อย่าตัดต้นไม้
(1) กิเลสดุจแมกไม้ ภัยมารกชัฏตัดตัณหา ป่าต้นกำบิดใช่คิดพร่า วนัปติ เพียรเพิกราคะพ้น ตัดห้วงสงสาร ฯ
(2) กิเลส ดุจแมกไม้ เหตุปัจจัย วนาสณฑ์ วนาลัย ในสกล ภัยก่อเกิด กำเนิดมา
(3) ป่าต้น กลกำจัด ดงรกชัฏ ตัดตัณหา ควรคิด พิจารณา ภาษาคน ภาษาธรรม
(4) กำบิด ใช่คิดพร่า กิริยา พาถลำ วนัปติ มิใช่คำ สติต้อง ตรองกมล
(5) ตัดห่วง ห้วงสงสาร ปัญญาญาณ สำเร็จผลเพียรเพิก ราคะพ้น ดับตัณหา อนาลัย ฯ
By …… Ritti Janson
****************************************
คืนก่อนจาก ……
(1) โลมไล้ ไหวเอน เย็นเยือก จูบเปลือก ตากลม ลมหนาวสัมผัส ภูษา ดาดาว วามวาว พราวเด่น ดารา
(2) แขนสอด ออดอ้อน กรก่าย นวลกาย กลืนกลิ่น ถวิลหาซุกไซร้ ไฟสุม ปทุมมา มัสยา หลงเหยื่อ เจือใจ
(3) เนื้อแนบ เนื้อน้อง นอนนับ โจมจับ เอวองค์ หลงไหลน้องน้อย ลอยเลื่อน เคลื่อนไป ไหวไหว วาบวับ นับดาว
(4) เร่าเร่า สำเนียง เสียงน้อง เร่งร้อง สรรพางค์ กลางหาวหยาดหยด รดร่าง พร่างพราว เดือนดาว ราวยิบ พริบตา
(5) อิดเอื้อน เลือนลับ หลับซบ เกลื่อนกลบ หลบเล่ห์ สเน่หากระเส่าเสียง เอียงอาย ชายตา กนิษฐา แย้มยิ้ม พิมพ์ใจ
(6) โถมถา ขวาซ้าย กายสั่น กระสัน รัญจวน นวลใสลิ่วล้ำ น้ำเชี่ยว เกลียวไป รินไหล หลากหลั่ง ทั้งคืน
(7) ใจหาย ยามเช้า คราวจาก จำพราก จากนุช สุดฝืนจำใจ ไกลจาก นวลชื่น ยามคืน กลืนกลับ ลับตา ...... ฯ
By Ritti Janson ***********************************
งามแท้ เมื่อแลเห็น …..
(1) ยามเจ้ายิ้ม แย้มหัว ยั่วกระหยิ่ม พี่ก็ยิ้ม แย้มให้ ด้วยใจหวังยามชม้าย ชายสะทก ตกภวังค์ เหมือนยาสั่ง ศรรัก มาปักทรวง
(2) เส้นเกศา นวลฉวี สีสลับ เงาระยับ แสงสรร แม่ขวัญสรวงวจีน้อย ร้อยลำนำ ใช่คำลวง ด้วยใจห่วง สเน่หา เอื้ออาลัย
(3) ยามเมื่อเห็น พักตร์พริ้ง ยิ่งน่ารัก มิอาจหัก ห้ามฝัน ด้วยหวั่นไหวเห็นแก้มนวล เนื้อน้อง พี่ต้องใจ ยามแก้มใส แย้มสรวล เย้ายวนตา
(4) เปลวแดดเผา ผิวละออง หมองน้ำผึ้ง พี่คำนึง ถึงกิจ กนิษฐาเลี้ยงควายเฒ่า ข้าวปลูก ลูกชาวนา ไม่งอขา งอตีน ให้เปลืองตน (5) มือหยาบกร้าน แห้งเหี่ยว เพราะเกี่ยวข้าว ไม่เหมือนชาว เมืองฟุ้ง บำรุงขนมือขาวนุ่ม ซุ่มเงียบ เอาเปรียบคน ดูชอบกล ใจหยาบ กาบปูเล
(6) แดงระเรื่อ เจือกลิ่น กินพลูหมาก พอหายอยาก หัวเราะร่วน ได้สรวลเสรสแสบสิ้น ลิ้นเผ็ด ไม่เข็ดเล่ห์ พอหันเห เหลื่อมล้ำ ความลำเค็ญ
(7) กระดูกแนบ แบบบาง ร่างระหง ละออองค์ งามแท้ เมื่อแลเห็น ทำงานหนัก นาข้าว เช้าถึงเย็น สมเชิงเช่น เป็นเพศ เกษตรกร
(8) ใช้ชีวิต ให้ถูก สนุกเถิด อย่าให้เกิด ทุกข์ใจ ไฟสุมขอนอย่าติดยึด ถือมั่น นิรันดร อย่ารนร้อน ตัณหา อุปาทาน
(9) ทำสิ่งใด แล้วเสร็จ สำเร็จกิจ อย่าได้คิด ปรุงแต่ง แข่งประหารภาวนา เลิศล้ำ คือทำงาน อย่าสืบสาน ตัวตน(อหังการ) ผลของกู(มมังการ)
(10) แปดสาแหรก สองกระบุง มุ่งความหมาย กุศโลบาย พุทธธรรม อย่ากำหูคือมรรคแปด ฌานสอง* ลองฟังดู ตรัสรู้ ความว่าง กระจ่างใจ
* หมายถึง อารัมมณูปนิชฌาน และ ลักขณูปนิชฌาน
(11) เห็นฝักบัว บัวน้ำ มีสามเหล่า พระพุทธเจ้า เทศนา อย่าสงสัยบรรลุธรรม ล้ำค่า อนาลัย ลมหายใจ ยังอยู่ จงดูมัน
(12) จงทำงาน เพื่องาน ประสานกิจ กำหนดจิต ความว่าง ทางขยันคนก็ว่าง งานก็ว่าง ไม่ต่างกัน อย่าแข่งขัน แย่งค้น ผลของงาน
(13) สันตุฏฐา สมาทาน รู้สันโดษ เห็นคุณโทษ รสคำ พระธรรมขาน หาพอกิน อยู่พอใช้ เหลือให้ทาน ดังบัวบาน พ้นน้ำ อร่ามเรือง ฯลฯ
(14) รัศมี สีขาว ดาวประดับ แวววาววับ เสกสรร พระจันทร์เหลืองกิจกุศล ผลบุญ ย่อมหนุนเนื่อง บังคมเบื้อง พุทธบาท ศาสดา
(15) ขอให้สุข สนุกสนาน สำราญจิต สิ่งที่คิด มุ่งมาด ปรารถนาประสบผล ประสบสุข ทุกเวลา ภาวนา เจริญธรรม ตามสมควร ....ฯลฯ
By …… Ritti Janson
*************************************
คอยอยู่ รู้ไหม ?
(1) เหตุใด ใจเพ้อ ลอยลอย เหตุใด ใจหงอย คอยหาเหตุใด ไม่รู้ เวลา เมสเสส ส่งมา บ้างซี
(2) ใจลอย คอยอยู่ รู้ไหม ? เธอไกล ไม่อยู่ ตรงนี้นอนนับ เวลา นาที คนดี รอซับ น้ำตา ……
(3) ยามไกล ใจสั่น พลันคิด เคยสนิท กลับกลาย หายหน้าเหลือใว้ เพียงคราบ น้ำตา อุรา รันทด สลดใจ
(4) รอเธอ รอแล้ว รอเล่า ว่างเปล่า หนาวสั่น หวั่นไหวรอยเล็บ เจ็บแปลบ แสบใจ อาลัย รอยรัก สลักทรวง
(5) ยังรอ ใจลอย คอยอยู่ เคียงคู่ ในฝัน ขวัญสรวงพนอ คลอเคล้า ดาวดวง เป็นห่วง หวงนัก รักเธอ ฯ
By …… Ritti Janson
************************************
อ้อ …….
(1) อ้อ- ไหวใบโบกพลิ้ว ตามลมอ้อ-อ่อนช้อยกลอยกลม แกว่งก้านอ้อ-งามพฤกษ์พรรณชม โชยชื่นอ้อ-ลู่ฉลาดต้าน เล่ห์ร้ายแรงลม
(2) อ้อไหว ใบโบกพลิ้ว ก้านใบฉิว ละลิ่วลมเขียวฝาด บาดใบคม ลมละออง ล่องลอยไกล
(3) อ้ออ่อน ช้อยกลอยกลม กิ่งก้านสม ลมไสว โอนอ่อน ผ่อนช่อใบ ไหลลมชื่น ระรื่นรมย์
(4) อ้องาม ยามเขียวสด ใบ-รบส บรรณผสม พันลึก พฤกษ์พรรณชม ลมโชยชื่น รื่นลอยชาย
(5) อ้อลู่ ร้ายลมผ่าน แรงลมผลาญ พาลสลาย ร้อยเล่ห์ สเน่ห์ชาย ฉลาดค้าน ต้านลมลวง ฯ
By ……. Ritti Janson
************************
*** สิ่งอันเป็นที่รัก ***
(1) พรำพรำเสียงสั่งฟ้า ครืนครืนกรุ่นกรุ่นปานจะกลืน สวาทเจ้าครวญครวญส่ำสะอื้น คืนจากพรากพรากชลเนตรเคล้า ปริ่มน้ำตาคลอ ฯ
(2) พรำพรำ พิรุณปรอย น้ำฝนย้อย หยาดระรินกรุ่นกรุ่น อุ่นไอดิน สวาทกลิ่น เจ้าเนื้อนวล
(3) แช่มชื่น พิรุณฉ่ำ มิชอกช้ำ ยุพินสงวนร่ำร่ำ ส่ำเสียงครวญ หยอกเย้ายวน ชวนพี่ชม
(4) ฝนจาง สว่างฟ้า เห็นดวงหน้า เจ้างามสมเพียงพิศ สนิทชม อภิรมณ์ สุดาดวง
(5) ใสใส พิรุณซา นิราศลา สวรรค์สรวงกลืนกล้ำ ระกำทรวง จำจากดวง สุดาไกล
(6) พรากพราก น้ำตากลบ ทุกข์ท่วมทบ สลบไสลเคยชิด สนิทใน มาแปรไป ใจระทม
(7) ใจเจ็บ เพราะพรากจาก ยิ่งรักมาก ยิ่งขื่นขมรักร่วง ติดบ่วงจม วิบากถม ทวีพูน
(8) โทษท้น ทวีสลด ทุกข์รันทด ทวีสูญทดท้อ ทวีคูณ ทวีเทวษ ทวีกรรม ฯ
By …… Ritti Janson
************************************
ยาหยี ......
(1) ...... โอ้โลม ปฏิโลม สวาทโฉม ดวงสมร เปลไกว ให้เจ้านอน กลอนจะกล่อม ให้เจ้าฟัง
(2) คลอเคล้า เสียงเจ้าครวญ ใจพี่หวน ถึงหนหลังแสนโศก วิโยคดัง หทัยร้าว ยามเจ้าไกล
(3) เห่กล่อม พี่จะกล่อม ทนุถนอม แม่นวลใสเปลไกว พี่จะไกว บุญรักษา สุดาดวง
(4) รอยเล็บ คือรอยรัก ดังศรศักดิ์ สลักสรวง ดื่นฟ้า ดาราดวง ไหนจะเท่า เยาวมาลย์
(5) เจ้าช้ำ ระกำจิต พี่ก็คิด สุดสงสาร เสื่อมทรุด สุดประมาณ พี่ก็ยาก ลำบากกาย
(6) ยามเหนื่อย เจ้าหนุนตัก ที่ยากนัก จักสลายอบอุ่น หนุนแนบกาย พี่จะปลอบ ประโลมนวล
(7) เจ้าทุกข์ ทวีเทวษ ชลเนตร ทวีหวนเจ้าช้ำ ระกำครวญ พี่ก็ทุกข์ ทวีคูณ
(8) น้องเอ๋ย จงพักผ่อน ที่ทุกข์ร้อน จะเสื่อมสูญ เพลิดเพลิน เจริญจรูญ กลอนสดับ หลับสบาย
(9) เกลากล่อม ถนอมจิต ถึงมิ่งมิตร สนิทสหายพ้นโศก วิโยคคลาย สติมั่น รู้ทันตน ฯ
By …… Ritti Janson
***************************
จันทร์-กระพ้อ !!!!!
(1) จันทร์-เอ๋ยเคยส่องหล้า แสงนวล กระพ้อ-พร่ำคร่ำเสียงครวญ บอกเจ้า พ้อ-เสียงส่ำกำศรวล คืนค่ำ จันทร์-จากจรใจเศร้า พี่ช้ำกลัดหนอง ฯ
(2) จันทร์เอ๋ย เคยส่องหล้า ใยไม่มา กมลหมอง เพียงพ้อ ลออ-ละออง น้ำตานอง ชลนา
(3) ยิ่งคิด ยิ่งเพ้อพร่ำ ทุกเช้าค่ำ ร่ำเรียกหา กระพ้อ สกุณา แผ่วเสียงพา อุราระทม
(4) ใจเอย เอ๋ยใจเจ้า ตัวพี่เศร้า เคล้าขื่นขม นวลเอ๋ย เคยชิดชม ร้าวระบม เพราะน้องยา
(5) แสงจันทร์ สวรรค์ส่อง ชะเง้อมอง กนิษฐา คอยเจ้า เจ้าไม่มา ทุกขเวทนา โศกาดูร
(6) ใจเอย เอ๋ยใจพี่ ป่านฉนี้ สิสาบสูญ ท่วมท้น ทวีคูณ แสนอาดูร จำเนียรนาน ฯ
By …… Ritti Janson
*******************************
เจ้างามนัก ……
(1) งามเอย เจ้างามนัก นวลพักตร์ เจ้างามพริ้ง น้ำใส แลใจจริง เมตตายิ่ง มัจฉาชม
(2) งามเอย เจ้างามพร้อม พวงพยอม เจ้างามสม บุญทำ ช่างขำคม ชื่นชมแล้ว แม่แก้วตา
(3) อาลัย มัจฉาชาติ โอ้อนาถ วาสนาพบกัน ไม่ทันลา เรียมแลน้อง ต้องคลาไคล
(4) ยามไกล น้ำตากลบ มิอาจพบ สลบไสลหมื่นฟ้า สุลาไลย ไหนจะเทียบ แม่เนื้อทอง
(5) กุศล ผลกระทำ จงหนุนนำ ตามสนองครบถ้วน นวลละออง บุญรักษา ผกากานต์
(6) บุญนี้ พี่น้อยนัก ขาดคนรัก สมัครสมานทนทุกข์ ทรมาน คิดถึงเจ้า เฝ้าอาลัย ฯ
By …… Ritti Janson
**********************************
นิกกี้ ....... (เจ้า)ชายกบ
(1) โอ้อนาถ วาสนา นิจจาเจ้า ชายกบเง้า งอนแง่ ชะแง้หาถูกคุมขัง นั่งเซื่อง ชำเลืองตา พระน้องยา ใยโกรธ พิโรธกัน
(2) เจ้าคุมแค้น แสนโกรธ พิโรธกบ พี่ก็ซบ หน้าโหนก ด้วยโศกศัลย์เพียงไม่พบ สบพักตร์ เจ้าสักวัน เหมือนถูกบั่น ด้วยมีด กรีดหัวใจ
(3) โถ ... ยาใจ ใสซื่อ สะดือจุ่น ใยเคืองขุ่น ข้องคำ ทำผลักไสถึงพี่ผิด อิดหนา ระอาใจ ขอทรามวัย อดโทษ อย่าโกรธเลย
(4) ระลึกกลับ นับย้อน ตอนเริ่มรัก ยามสมัคร รักสรวม ร่วมเขนยตระกองกอด ยอดชื่น ระรื่นเชย กระไรเลย ลืมหมด ไม่จดจำ
(5) เคยพรอดพร่ำ คำหวาน สะท้านจิต เคยจุมพิต แก้มขอด กอดขยำเคยลูบไล้ เนื้อแน่น แขนกำยำ เคยโยกย้ำ นวลเจ้า เคล้าปทุม
(6) ก่อนเคยรัก สลักใจ อย่างไรเจ้า พี่ไม่เข้า หฤทัย ดังไฟสุมถูกศรปัก บักโกรก โรครักรุม เหมือนตกขุม นรกร้อน ตะกอนเตา
(7) ทุรนทุราย หายใจ ไม่สะดวก เหมือนถูกลวก ลมร้อน ตอนถูกเผาระกำจิต พิษร้าย มิใช่เบา ฤๅกรรมเก่า บาปชัก วิบากพา
(8) เหมือนถูกควัก ตับไต ไส้แทบขาดเหมือนมีดบาด ขาดแหวก แยกหว่างขาเหมือนโลกดับ ดาวดิ้น สิ้นชีวา ร้าวอุรา รานแหลก แยกกระมล
(9) เหมือนเคว้งคว้าง กลางห้วง มหรรณพ มิพานพบ ทางกลับ จิตสับสนหากเวียนเกิด เวียนดับ สัปดน คงไม่พ้น วิบาก พรากชะตา
(10) ต้องเวียนวน ขวนขวาย ในวัฏฏะ อุตสาหะ ดารดาษ วาสนามิสิ้นภพ จบชาติ ญาติระอา ต้องฟันฝ่า ทนทุกข์ จนจุกใจ
(11) โอ้ชาตินี้ พี่ขอ พอแล้วเจ้า ไม่อยากเอา อยากเป็น เช่นเงื่อนไขขอสละ ละทิ้ง ด้วยจริงใจ มิอยากได้ ชาติภพ ประสบกรรม
(12) ขอคุณพระ ไตรรัตน์ สลัดทุกข์ ช่วยปลอบปลุก พ้นบาป หยาบถลำมโนน้อม ย้อมจิต สนิทนำ พุทธธรรม ส่องทาง สว่างใจ
(13) สลัดรัก สลัดโกรธ แลโลภหลง ให้ปลดปลง บ่วงทุกข์ จิตสุกใสกิเลสกรรม ทำแล้ว ให้แล้วไป จงพ้นได้ ปรมัตถ์ อนัตตา
(14) ไม่ยึดมั่น ตัวกบ และของกบ เหยียบสยบ อุปาทาน และตัณหาไม่ยึดติด ถือมั่น อนันตา* โลกุตตรา พ้นโลก พ้นโศกเอย ... ฯ
(อนันตา = ไม่มีที่สุด = นิพพาน)
By Ritti Janson
*******************************
คืนก่อนจาก 2

(1) ลมไหว ใจหนาว ร้าวรวด เจ็บปวด กระมล หม่นหมองหลากหลั่ง ไหลน้ำ ตานอง ประคอง ใจอยู่ คู่ตัว
(2) ยามค่ำ คืนน้ำ ค้างฟ้า ดวงตา มืดมน หม่นสลัวการใหญ่ ในจิต คิดกลัว สิ้นตัว สิ้นสุด หยุดพลัน
(3) ปณิธาน การกิจ พิชิตศึก สำนึก สำแดง แข่งขันกอบกู้ ชูธง วงศ์ฮั่น บากบั่น เหนื่อยยาก ลำบากกาย
(4) แลเลือน เดือนดาว ราวยิบ กระพริบ เคลื่อนไป ใจหาย ดาวตก อกร้าว คราวตาย เสียดาย วันคืน .... ขื่นใจ
(5) เสียชีพ มิอาจ เสียสัตย์ ดำรัส ดำรง คงใว้ซื่อตรง จงรัก ปักใจ การใหญ่ ร่วมทาง สร้างธรรม
(6) (แม้) .... มิอาจ ร่วมเกิด ร่วมสาย (ขอ) .... ร่วมตาย ร่วมทุกข์ อุปถัมป์ภารกิจ กู้ชาติ กู้ธรรม จดจำ จนชั่ว ตัวตาย (7) ฟันกัด หยัดยืน ฝืนข่ม แม้ลม หายใจ สุดท้ายตราบสิ้น ดินฟ้า มลาย ถวาย ราชบาตร์ ชาติพลี ฯ
By ….. Ritti Janson
***********************************
กิเลส ........ ฤๅดอกไม้ (?)
(1) กิเลสฤๅดอกไม้ (?) นัยนาเพลินพิศสิเหน่หา ออดอ้อนเอวองค์อ่อนอรสา อวบอิ่ม เพลิงเร่งราคะร้อน นิ่มน้อง ละอองนวล ฯ
(2) กิเลส ฤๅดอกไม้ (?) หฤทัย สิเหน่หา นวลน้อง นัยนา สุกสว่าง อยู่กลางใจ
(3) ออดอ้อน นอนสนิท รันจวนจิต พิศมัย เชยชิด สนิทใน สวาดิสอง ตระกองพา
(4) เกษมสันต์ บรรจถรณ์ เอวองค์อ่อน อรสา อวบอิ่ม พริ้มพรายมา สายสวาท แทบขาดใจ
(5) เพลิงเร่ง ราคะร้อน สะอื้นอ้อน อนุสัยชลเชี่ยว เป็นเกลียวไป นิ่มเนื้อน้อง ละอองนวล ฯ
By …… Ritti Janson
*****************************************
เสื้อสี ......... (?)
(1) บัดโน้น .............. ชาวสยาม ยามสรง ทรงเครื่องประเสริฐ เลิศล้ำ อร่ามเรือง แดงเหลือง เขียวผ้า ภูษาทรง
(2) ผลัดผ้า ผลัดสี ผลัดเปลี่ยน หมุนเวียน เปลี่ยนตาม ประสงค์สวัสดิ- รักษา โฉมยงค์ ควรคง ศิริหมาย ฝ่ายเดียว
(3) บัดนี้ .................. เข้ากรุง ชั้นใน ต้องใส่เขียวอย่าเผลอไผล ใส่แดง ไปคนเดียว รถถังเฉี่ยว กระสุนสาด อาจตายฟรี
(4) ติดต่อ รัฐ- วิสาหกิจ อย่าคิด สวมเสื้อแดง แสงสีจะอึดอัด ขัดใจ ไม่ดี ควรใส่สี เหลืองข่ม จึงสมปอง
(5) ไปพัทยา ผ้าเหลือง เคืองขัด อาจถูกฟัด คาไฟแดง แหยงสยองต้องรู้จัก เลือกผ้า ภูษาครอง ให้ถูกต้อง จึงเห็น เป็นมงคล
(6) จะไปไหน มาไหน เดี๋ยวนี้ ต้องเลือกสี เลือกผ้า น่าฉงนให้ถูกจิต ถูกใจ ฝูงชน อย่าสับสน สีสรร หมั่นระวัง
(7) โอ้เอ๋ย ชาวพุทธ .......... ควรหยุด แยกสี แยกฝั่งหยุด !!!! อาละวาด ชาติพัง วอนหวัง เจรจา พาที
(8) ร่วมมือ ร่วมใจ ช่วยเหลือ สวมเสื้อ ฉัพพรรณ- รังสีเกาะเกี่ยว รู้รัก สามัคคี ไม่แบ่งสี แยกฝ่าย ไทยด้วยกัน
(9) ผิดถูก กฏหมาย บัญญัติ กำจัด อคติ แข่งขันบังคับใช้ เสมอภาค เทียมกัน เมื่อนั้น สันติ กลับคืน
(10) กิเลสโลภ โกรธหลง ควรลด หิริโอต- ตัปปะ ควรตื่นเมตตาธรรม ค้ำจุนโลก ยั่งยืน มาร่วมฟื้น- ฟูซาก กากเมือง ........ ฯ
By …… Ritti Janson
*********************
ยอยศทศ
(1) ทศศรีประเสริฐสร้าง วีรกรรมทศพิธราชธรรม ทั่วหล้าทศเศียรอุทิศบำ -รุงราษฎร์ทศเกศคติกล้า กอบเกื้อนิกร
(2) ทศพักตร์ประกาศกู้ โลกาทศทุกข์สุขประชา โปรดเกล้าทศทิศนัครา ปลดแอกทศเกียรติยศเจ้า เช่นชั้นวีรชน ฯ
(3) ทศศรี ประเสริฐอ้าง ทศสร้าง วีรกรรมทศพิธ ราชธรรม แผ่ทั่วหล้า ประชาชน
(4) ทศเศียร ทรงอุทิศ บำรุงกิจ ราชกุศลทศเกศ คติดล ผลก่อเกื้อ พสกนิกร
(5) ทศพักตร์ ประกาศกู้ ข้าเสือกสู้ ศักดิศรทศทุกข์ ราษฎร ธ โปรดเกล้า ปัดเป่าภัย
(6) ทศทิศ นัครา ปลดแอกพา มหาสมัยทศเกียรติ ขจรไกล ลือชาเช่น วีรชน ฯ
By …… Ritti Janson
**********************************
อินทร์แขวน
(0) อินทร์แขวนอินทร์แต่งสร้าง ศิขรินนิรมิตวิจิตรศิลป์ เอ่ยอ้างบรมธาตุสถิตถิ่น บรรพตอินทร์เสกศิลาขว้าง สลัดขึ้น สิงขร ฯ
(1) เลอศิลป์ ดังอินทร์สร้าง แลสล้าง ศิริสรรดิลก กนกพรรณ แสงกำซาบ ทาบทองทา
(2) ฤๅสาย สวรรค์สรวง ระดาดวง ระเด่นผาพราวพริบ ระยิบตา ดลประดิษฐ์ ระดาษดาว
(3) ศิขิน ดังอินทร์ขว้าง ศิลาคว้าง ขึ้นกลางหาวอินทร์แขวน แก่นสกาว สะกดฟ้า สุลาไลย
(4) พระธาตุ ธ สถิต ปุญญฤทธิ์ ลอยไศล นิมิต สนิทใน มนะแจ้ง มโนจริง
(5) รอยองค์ อินทรฤทธิ์ รอยวิจิตร สฤษฏ์ศฤงค์ ลี้ลับ สรรพสิ่ง สรีระ ศิลาลอย
(6) อินทรา ฐาปนะ อุตสาหะ สลักสลอยลักลั่น บุหลันลอย ปานจะเปรียบ จะเทียบองค์
(7) ศรัทธา ปสาทะ วิริยะ อินทร์ประสงค์สนทิศ สถิตคง สาสนา สถาวร
(8) ม่านหมอก สลับเมฆ ดังอินทร์เสก บรรจถรณ์ผืนฟ้า ดังอาภรณ์ จะห่มเจ้า ให้หนาวคลาย
(9) ดื่นดาว หนาวน้ำค้าง ครั้นรุ่งสาง สุรีย์ฉาย น้ำทิพย์ กระพริบพราย ระเหยย้อย ลอยละออง
(10) อินทร์แขวน จากแดนสรวง สรรพ-สรรวง อินทร์สนอง ราวยิบ ดังทิพย์ทอง จะน้อมโน้ม ประโลมดิน
(11) อินทร์แขวน แดนสถาน ทิพย์วิมาน สวรรค์ฉินฝูงชน เยี่ยมยลถิ่น อนุพุทธ ดุษฎี
(12) หมอกเมฆ ดังเสกแสร้ง บดบังแสง สุรีย์ศรี รื่นร่ม รมณีย์ (พุทธ)บริษัท นมัสการ
(13) บุพพกรรม ทำอุทิศ สำรวมจิต พิษฐานจวบปรัต -ยุบันกาล วิบากเอื้อ เฟื้อพระธรรม
(14) ครองเพศ บรรพชิต กุศลจิต อุปถัมภ์สืบศาส - - นธรรม สาธุชน สาธุการ
(15) น้อมเศียร ศิโรราบ ประนมกราบ พุทธสถาน วาสนา นมัสการ เบื้องพระบาท ศาสดา (16) ธรรมะ ปรมัตถ์ อริยสัจ สาสนาสืบสาน พระสัมมา สัมพุทธแท้ เผยแผ่ธรรม
(17) อินทร์แขวน บรมธาตุ บรมศาส - - นล้ำ นิสส -รณธรรม ธ วิสุทธิ์ วิมุตตี
(18) แสงฉาน สุรีย์ฉาย ระยิบพราย สุรีย์ศรีแสงศิลป์ ผ่องอินทรีย์ ศิลาส่อง ทองประกาย
(19) ฉัตรทิพย์ ระยิบยับ ช่อประดับ ประดาหมาย แสงสรร พรรณราย พระสัมพุท -ธเจดีย์
(20) ผ่องผุด พุทธสถาน บริขาร คีรีศรีบริพัตร สวัสดี บริรักษ์ บริชน
(21) ศาสนิก จาริกแหน ถึงอินทร์แขวน ณ แห่งหนสัมพุท -ธมณฑล ณ บรรพต บริภัณฑ์
(22) พระพุท -ธเจดีย์ สมังคี ธรรมขันธ์โพธิปัก -ขิยธรรม์ พุทธพจน์ นิรพาน
(23) น้อมธรรม ปฏิบัติ มหาสติ -ปัฏฐานภาวนา ปัญญาญาณ สมุทเฉท กิเลสคลาย
(24) กวีกาพย์ กลอนลิขิต ถึงเพื่อนคิด มิตรสหาย ทุกข์ร้อน จงผ่อนคลาย เจริญสติ นิรมาน
(25) ศึกษา ปริยัติ ปฏิบัติ ปทัฏฐานปฏิเวธ วิเศษญาณ นิรทุกข์ นิรภัย
(26) พุทธพจน์ กำหนดชัด ปริยัติ อัชฌาสัยพระสูตร พระวินัย สอบสวนความ ตามพระธรรม
(27) สมถะ สมาธิ ยังสติ อุปถัมภ์ภาวนา ปัญญานำ ปัสสัทธิ นิรวาณ
(28) สันติ ปฏิเวธ ปฏิเสธ อักษรสาส์นโอษฐ์อด พจมาน พึงรู้ชัด ปัจจัตตัง ฯ
(29) ปัจฉิม ลิขิตกลอน ระลึกย้อน วอนฝากฝังบริสุทธิ์ พุทธธรรมยัง จรูญจรัส สวัสดี …….. ฯลฯ
By Ritti Janson
************************
ครู ... ไม่ใหญ่
(1) มาจะกล่าวบทไป ............ ถึงคุณครู ไม่ใหญ่ ในคลองสามทุมมังกุ ทุศีล กบิลความ เม็ดถั่วเขียว สักชาม ถวายมา
(2) ปณิธาน ยิ่งใหญ่ ใสสะดุด จะเร่งขุด วัฏฏะ อนาถารับรื้อค้น ขนสัตว์ จัดแจงมา เพียงคิดค่า ขนส่ง พอประมาณ
(3) สวนดุสิต พิสดาร ก่อการใหญ่ ด้วยห่วงใย ลูกศิษย์ ใช่คิดผลาญเปิดเฟสสอง จองแล้ว แกร่วอยู่นาน อย่าดักดาน เงินสด จ่ายหมดตัว
(4) ตุ๊กตา ขาเขียด สมเกียรติใหญ่ ใจใสใส จ่ายเสีย ทั้งเมียผัวจงทิ้งทุ่ม สุดฤทธิ์ อย่าคิดกลัว กระเฌอรั่ว หมดตูด อย่าพูดไป
(5) โอ้ ... จานบิน หินคอด ยอดด้วน ประดับล้วน ตุ๊กตา ขาไก่ !!!!ถึงเขาเหน็บ เจ็บแสบ จนแปลบใจ ขออย่าได้ ถือสา ประชาชน … (หึหึ)
(6) เพราะขลาดเขลา เบาสติ ตรองตรึก มิอาจนึก การณ์ไกล ในเหตุผลหากเกิดศึก ต่างดาว คราวผจญ จะพาพ้น ผองภัย ในจานบิน ... (ฮา)
(7) อนุบาล ในฝัน ขยันหลับ ดั่งหญ้าทับ ซีดใส อยู่ใต้หินแม้ล้มลุก ตุ๊กตา ยังราคิน คนทุศิล ฤๅจะสิ้น คำนินทา
(8) ศิลปะ ในฝัน กลั่นละเอียด มาดละเมียด เหยียดถ่าง น่ากังขานั่นมิใช่ พระพุทธ ปฏิมา นักวิชา การบอก ให้ยอกใจ ….. (ฮือ ฮือ)
(9) ฤๅเป็นรูป พ่อพระ ปาราชิก น่าหยอกหยิก สวมเสื้อ หนุ่มเนื้อใสสันดานคด ลดเลี้ยว เป็นเกลียวไป ถลากไถล ใส่เกิน เมินพระธรรม
(10) กล้าอวดอ้าง ลักษณะ มหาบุรุษ เสื่อมจนทรุด จิตหยาบ บาปถลำโหมหัวคิด โฆษณา มาโน้มนำ โถ ... เวรกรรม อีแอบ ทำแยบคาย
(11) โอ้สถาน ดึงดูด รูดราวทรัพย์ คำนวนนับ เงินสด กำหนดหมายสักหมื่นล้าน เซ้งลี้ คดีร้ายเร่งคลี่คลาย สุดฤทธิ์ ปิดจานบิน
(12) ล้างสมอง หล่อหลอม กล่อมประสาท อวชาติ อุตริ โลกติฉินข่มขู่ฆ่า ประจาน ผลาญชีวิน แทบหมดสิ้น คุณธรรม ประจำทาง
(13) ฝันในฝัน ขยันคิด ดุสิตสถาน อนุมาน กำหนัด อย่าขัดขวางพบคนโง่ โคขืน อย่าฝืนทาง จะหม่นหมาง ฮึดฮัด ทำขัดใจ
(14) เคยทำชั่ว กลัวตก นรกเดือด จึงถูกปอก หลอกเชือด จนเลือดไหลจ่ายเงินซื้อ ดุสิต คิดได้ไง (?) อนาถใจ ทุนนิยม โหมกระพือ
(15) ถวายข้าว ในฝัน กลั่นละเอียด ละไมละเมียด ทฤษฎี ผีกระสือฤๅด่วนแดก แจกดอก หลอกกระบือ ทำอออือ แปลบ-ปลื้ม จนลืมตังส์
(16) เพราะลืมตัว ลืมตาย ไถยจิต จึงเห็นผิด คิดถวาย คล้ายวาดหวังจะดูดทรัพย์ สลับฉาก หลากพลัง สติพลั้ง โลภจริต บิดจนเบือน
(17) ปาราชิก ปราชัย วิสัยโฉด รับโฉนด นาไร่ ใครจะเหมือนธรรมวินัย ไม่สดับ กลับแชเชือน ภิกษุเถื่อน ปลอมบวช ทำลวดลาย
(18) เธอเว้นขาด รับนาไร่ ซื้อขายทรัพย์ ควรสดับ พุทธพจน์ กำหนดหมายจงเอื้อเฟื้อ ธรรมวินัย ทั้งใจกาย จึงจะคล้าย ภิกษุสงฆ์ ดำรงธรรม
(19) ถูกเขาฟ้อง ร้องตี คดีโลก จนบักโกรก โรครุม นั่งกุม*XXX*ตีหน้าเศร้า เหล่าร้าย ให้ปากคำ อมพะนำ คำหลัก ปักโคลนเลน
(20) ใกล้สิ้นสุด สืบสาน พยานปาก กลัวลำบาก ติดตาราง ที่บางเขนหากศาลสั่ง ลงโทษ โปรดประเคน เป็นดาวเด่น เดนคุก คงจุกใจ
(21) คดีโลก ยอมความ ตามสะดวก มีพรรคพวก การเมือง เรืองสมัย ?เสนอหน้า รับผิด ไม่ติดใจ ทรัพย์สินให้ คืนวัด เตรียมจัดการ
(22) คดีธรรม กรรมก่อ ต่อประดิษฐ์ หากทำผิด พระวินัย ให้ประหารพ้นจากพระ ปาราชิก จิกประจาน ควรหรือท่าน ด้านหน้า ผ้าเหลืองครอง
(23) ตีหน้าเศร้า เล่าความเท็จ สะเด็ดน้ำ จะทำตาม พระลิขิต คิดสนองปาราชิก ไม่รับ สดับตรอง ทำไมร้อง ไม่ใช่พระ ลิขิตจริง …… ????
(24) สันดานถ่อย ร้อยพ่อ ส่อจริต วิสัยจิต บัดสี ดังผีสิงต่อหน้าศาล มันกลับ รับว่าจริง ยอมทุกสิ่ง เสียหมา หน้าไม่อาย !!!!
(25) จำเลยมอบ สินทรัพย์ คืนกลับวัด ผมนึกขัด ข้องใจ อยู่ไม่หายถ้าไม่ลัก ยักยอก หลอกทำลาย แล้วจะคาย ทรัพย์ใคร ให้คืนมา ?
(26) พ่อบุญหนัก ศักดิ์โต โพธิสัตว์ สมบัติวัด ยังกล้าขาย ไม่อายหมาเดี๋ยวซื้อเข้า ขายออก ถลอกตา เป็นภิกษุ หรือนายหน้า ค้าที่ดิน (?)
(27) พ่อต้นธาตุ ต้นธรรม ไม่จำกัด สรรพสัตว์ วัยกลับ นั่งทับหินพุทธพจน์ กำหนดใว้ ไม่ได้ยิน หรือว่าหิน ทับหู ไม่รู้ความ
(28) พระนิพพาน อัตตา บ้าหรือเปล่า (?) ลูกค้าเก่า เหงาปาก เขาฝากถามไตรปิฎก ยกไป ไม่ฟังความ พูดลามปาม พุทธธรรม ถลำเกิน
(29) อลัชชี ผีปอบ กระสือเปรต สังฆเภท ทำผิด ไม่คิดเขินล่อลวงพระ หลอกวัด จัดแถวเดิน สรรเสริญ เยินยอ โถ ... พ่อคุณ
(30) กี่หมื่นพระ หมื่นวัด ที่จัดอวด เพื่อนมาสวด สัพพี ผีขนุนทั้งค่าข้าว ค่าน้ำ คอยค้ำจุน ยิงกระสุน จ่ายแหลก ไม่แปลกใจ !!!!
(31) เหมือนการเมือง เรื่องเก่า เล่าไม่จบ ถลุงงบ กลบบาป สร้างภาพใส ทั้งกองเชียร์ เบี้ยบ้าย ต้องจ่ายไป ตกเขียวได้ สักกลุ่ม คุ้มค่าเงิน ........
(32) ตั้งแต่เด็ก เล็กรู้ ครูไม่ใหญ่ สยิวใจ ใครรู้ ครูก็เขินเพื่อนมันบอก กรอกหู ครูเล็กเกิน จะเหาะเหิน เดินกลับ ก็อับอาย
(33) ครูไม่ใหญ่ ใจฝ่อ พอขึ้นห้อง หมอก็ร้อง ครูเด็ก เล็กฉิบหายล่มปากอ่าว คราวแรก แตกกระจาย หมอก็ส่าย หน้าสั่น มันเล็กเกิน
(34) ครูไม่ใหญ่ ฉายา โชคไม่ช่วย แต่ได้ด้วย ทวยท่าน สรรเสริญครูไม่ใหญ่ ไซส์เด็ก แม้เล็กเกิน ก็พอเพลิน เบอร์ห้า ประหยัดไฟ …
(35) เขียนกลอนเปล่า เล่าบอก ขยอกข่าว เป็นครั้งคราว เฮฮา น้ำตาไหลที่จริงจัง หนังถลอก ขัดยอกใจ ก็อย่าได้ คิดมาก ลำบากตัว
(36) ที่หยอกเย้า เคล้าขำ ทำหัวเราะ ก็จำเพาะ เลาะเอ็น แค่เล่นหวัวอัมพาต ร่อแร่ แค่ครึ่งตัว แต่คงหัว เราะได้ ถ้าใจเย็น
(37) ขอพระธรรม ค้ำจุน พระคุณท่าน ให้เบิกบาน สราญสุข ไม่ทุกข์เข็ญพุทธธรรม แผ่ปรก โลกร่มเย็น สมเชิงเช่น พุทธศา- สนิกชน

ขอให้มีความสุข ........ ตามสมควร
ฤทธี
********************************************
ดาวเอ๋ย ดาวเรือง
(1) ดาวเอ๋ย ดาวเรือง ……… ฟูเฟื่อง เรืองเกียรติ เก่งกล้าต่อต้าน อลัชชี บีฑา ดวงสุดา กร้าวแกร่ง เกินใคร
(2) โฉมยง องอาจ ปราดเปรื่อง เหลืองเหลือง กลีบดอก ไสวชมชื่น ชูช่อ กิ่งใบ ไหวไหว ใจกล้า ท้าลม
(3) เตะสกัด อลัชชี คลองสาม ทวงถาม สาระ ยาขมเจรจา ปรับปวาท ขู่ข่ม ขำคม ขมคำ ขำคน(ฮา)
(4) อลัชชี เก้อ-ยาก อยากโอ่ อวดโง่ บาลีไทย ไม่สนคนถ่อย ย่อยยับ อับจน สับสน เซ่อซ้ำ กำเกวียน
(5) ปากพล่อย ร้อยลิ้น สิ้นท่า ขายหน้า สะอื้น คลื่นเหียนเจอหญิง สยบ ตบเกรียน !!!! วิงเวียน ขี้หด หมดลาย
(6) สิ้นเหตุ สิ้นผล สิ้นชื่อ กระบือ เกรียนกริบ ฉิบหายสันดาน ขี้ครอก ออกลาย คลับคล้าย ชายหน้า สตรี (?)
(7) ออกปาก ถากถาง ผู้หญิง ชายจริง ไม่ทำ เช่นนี้เมียพ่อ ก็เป็น สตรี ควรทำ ย่ำยี ได้ฤๅ
(8) ลูกใคร ใจสาก ปากเน่า คำเขา ทบทวน ควรหรือ ????พ่อแม่ ไม่สอน ก่อนฤๅ ใยดื้อ ใช้คำ ก้ำเกิน
(9) ดอกท้อ ดอกทอง ส่องจิต ชีวิต อึดอัด ขัดเขินหรือแฟน มีกิ๊ก ล่วงเกิน ? จึงเดิน ไม่ตรง หลงทาง
(10) ปมเขื่อง ติดค้าง คาจิต ความคิด มืดมน หม่นหมางพบแพทย์ เถิดลูก ถูกทาง ถากถาง หญ้าปรก รกใจ
(11) ทำผิด ควรออก รับผิด อย่าคิด รวนเร เฉไฉแก้ตัว เช่นนั้น จัญไร แก้ไข รู้ซึ้ง จึงควร
(12) “ขอโทษ” ควรบอก ออกปาก แม้ยาก ใจจิต คิดหวนผิดถูก ฉุกนึก ทบทวน สอบสวน ทวนความ ตามจริง ฯ
By …… Ritti Janson
*******************************
ฝาเอ๋ย .... ฝาแฝด
(1) ฝาเอ๋ย ฝาแฝด แก่แรด แดดฝน ผจญหนาวเสียสูญ มูลฝอย ร้อยเรื่องราว ข่าวคราว ฉาวสนิท สลิดดง
(2) ถึงเป็นแฝด คนละฝา ก็น่ารัก คนรู้จัก แจ้งจิต ถึงพิษสงถ่อยทะเล้น เล่นลิ้น กินไม่ลง ไถลหลง เหลี่ยมจัด สลัดลาย
(3) แฝดเบอร์หนึ่ง พึ่งได้ แม้ใจมด แสบสลด เด็กน้อย ถอยขยายโดนสบัด ตัดลิ้น จนสิ้นลาย ธรรมกลาย โกยแน่บ แอบดูเชิง
(4) เถียงผู้หญิง ไม่ได้ ชายทั้งแท่ง กระโปรงแก่ง แย่งนุ่ง จนยุ่งเหยิงวิปลาส มาดร้าย วัยระเริง กำเริบเหลิง เชิงชั่ว กลั้วกมล
(5) มธุรส วาจา ภาษาถ่อย คนปากพล่อย ตลบแตลง แสยงขนกำพืดต่ำ คำหยาบ สัปดน วิบากผล พ่อแม่ ไม่แลดู (!)
(6) ด่าผู้หญิง ยิงเรือ ไอ้เสือร้าย ช่างเป็นชาย สมชาย ไอ้ขี้หมูฤๅสันดาน จัญไร ไม่มีครู น่าอดสู เสียศักดิ์ ไม่รักดี
(7) แฝดอีแอบ แอ๊บแบ๊ว ดังแก้วใส ไม่เข้าใจ ดอกทอง มัวหมองศรีไร้เดียงสา หมาว้อ ก่อคดี คำๆนี้ ไม่เคยใช้ เกิดไม่ทัน (!)
(8) ช่างหน้าด้าน พูดได้ ไม่อายปาก มือถือสาก ขากเสลด เปรตสวรรค์อ้างไม่รู้ ไม่เคยใช้ อะไรกัน แล้วนี่มัน เขียนด่า มาได้ไง (?)
(9) แฝดเบอร์สอง น้องน้อย กลอยสวาท อวชาติ ศิษย์หา อาจารย์ไหน (?)กำพืดแก แต่ก่อน ร่อนชะไร เป็นอย่างใด ไม่อาจล้วง ดวงชะตา
(10) หลอกด่าหญิง ยิงเรือ ช่างเหลือร้าย ลูกผู้ชาย ทำได้ ไม่อายหมาธรรมเนียมหมาย ชายไทย แต่ไรมา ควรหรือด่า ดอกทอง สยองจริง !!!!
(11) หรือพ่อแม่ แกสอน แต่ก่อนเก่า จึงชำเรา วาจา ด่าผู้หญิงทำเนียนแนบ แอบจิต สนิทจริง นี่หรือสิ่ง ดีล้วน สมควรทำ (?)
(12) แฝดเบอร์สอง บ้องแบ๊ว แววฉลาด ช่างเก่งกาจ สร้างภาพ บาปถลำแสร้ง .... งุนงง สงสัย ในน้ำคำ โถช่างทำ ไปได้ ไม่อายคน
(13) เล่นละคร ย้อนใจ ให้สะอึก ไม่รู้ .... ลึก บทบาท อาจสับสนกุเรื่องกลบ สยบข่าว ราวเล่นกล มิอาจพ้น วิบากกรรม ที่ทำมา
(14) คราวแรกบอก ยอกย้อน แต่ก่อนนั้น ว่าดีฉัน บริสุทธิ์ พี่บุศฯจ๋าหาได้คิด จิตหลุด อกุศลา มิควรมา เพ่งโทษ โปรดจงฟัง
(15) แต่เมื่อครั้ง พลั้งปาก ลำบากจิต ว่าเคยคิด แค้นเคือง เรื่องความหลังจึงผูกโกรธ โจทก์หญิง ด้วยชิงชัง ไม่อาจยั้ง ปากด่า ว่าดอกทอง
(16) คำให้การ ขานขัด สกัดจุด สติหลุด สับสน กมลหมองตีหน้าเศร้า เล่าความช้ำ น้ำตานอง ต้องตริตรอง จริงเท็จ ไปเจ็ดคืน
(17) ต้องมีคำ คำหนึ่ง ซึ่งโกหก มิอาจปก ป้องคำ สำนวนขืนหลักฐานย้ำ คำขาด มิอาจคืน สุดจะฝืน ความจริง สิ่งแสดง
(18) แล้วคำไหน สะตอ พ่อคุณ เอ๋ย (?) จงเอื้อนเอ่ย ลำนำ คำแถลงอย่าแชเชือน เกลื่อนกลบ ตลบแตลง อย่ามัวแฝง ตัวแอบ ทำแนบเนียน
(19) ช่างเป็นแฝด คนละฝา หาได้ยาก เหมือนศพซาก กลากหมา พาคลื่นเหียน สมเชิงชาติ ปรสิต คิดเบียดเบียน จึงวนเวียน เขียนด่า หน้าไม่อาย
(20) อันมารดา แท้จริง เป็นหญิงแน่ หรือตัวแก เคยด่าเมีย ให้เสียหายเห็นเป็นคำ ปกติ มิหยาบคาย หรือคลับคล้าย ใช้ด่า ธิดาตน …. (?)
(21) ปกติ ศีลธรรม ประจำจิต ใยจึงบิด เบือนกลับ ให้สับสนด่าผู้หญิง ดอกทอง สนองตน มิอาจพ้น ครหา อนาจาร
(22) อคติ อย่าใช้ ในการนี้ จะเลวดี ถูกผิด ต้องคิดขานควรชำระ สะสาง เป็นทางการ ใช่ระราน เล่นแง่ เห็นแก่ตัว
(23) คนทำผิด คิดเห็น เปลี่ยนเป็นถูก ลำเอียงผูก พันธมิตร จิตสลัวไม่แยกแยะ ถูกผิด ไม่คิดกลัว ย่อมจะชั่ว มัวหมก ตกตามกัน
(24) ในสังคม ส่วนรวม ต้องร่วมคิด อย่าได้บิด เบือนธรรม ตามใจฉันควรหรือปก ป้องคนผิด ติดตามกัน สมานฉันท์ อภัยทาน นั้นไม่ควร
(25) ผิดอย่างไร ต้องชี้ ถึงที่สุด อย่าสะดุด อคติ มิสอบสวนควรดำริ ถูกผิด คิดทบทวน จึงเลิศล้วน ใสสุด ยุติธรรม(เอย) ฯ
By …… Ritti Janson
************************************