วันจันทร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

อภิธรรม คือ โพธิปักขิยธรรม

เนื่องจากได้ทราบว่า มีการอภิปรายในประเด็นที่เกี่ยวกับ อภิธรรม โดยอ้างความจาก กระทู้ “PANTIP_COM Y9915529 พุทธทาสชวนฉีกพระไตรปิฎก มุมมองของพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)” ซึ่งผมเห็นว่ามีข้อขัดแย้งหลายประการที่น่าสนใจ ดังจะได้อภิปรายดังต่อไปนี้ ....

(๑) ประเด็นแรกก็คือ คำว่า อภิธรรม(ธรรมอันยิ่ง) หรือ อภิธมฺเม มีอยู่ในรูปของพุทธพจน์ หรือไม่ ?

กล่าวสำหรับประเด็นนี้ เห็นว่าไม่น่าจะเป็นปัญหาแต่อย่างใด เนื่องจากปรากฏคำว่า อภิธมฺเม อยู่โดยทั่วไปทั้งในพระสูตรและพระวินัย ตัวอย่างเช่น ....

(๑.๑) ปรากฏความใน อุททานคาถา พระวินัยปิฎก มหาวรรค ภาค ๑ ข้อ ๑๔๖ ดังนี้ว่า ….

“พระวินัยมีประโยชน์มาก คือนำมาซึ่งความสุขแก่พวกภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ข่มพวกที่มีความปรารถนาลามก ยกย่องพวกที่มีความละอายและทรงไว้ซึ่งพระศาสนา เป็นอารมณ์ของพระสัพพัญญชินเจ้า ไม่เป็นวิสัยของพวกอื่น เป็นแดนเกษม อันพระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ดีแล้ว ไม่มีข้อที่น่าสงสัย ภิกษุผู้ฉลาดใน ขันธกะ วินัย บริวาร และมาติกา ปฏิบัติด้วยปัญญาอันหลักแหลม ชื่อว่าผู้ทำประโยชน์อันควร ชนใดไม่รู้จักโค ชนนั้นย่อมรักษาฝูงโคไม่ได้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น เมื่อไม่รู้จักศีล ไฉนเธอจะพึงรักษาสังวรไว้ได้ เมื่อพระสุตตันตะ และ พระอภิธรรม เลอะเลือนไปก่อน แต่พระวินัยยังไม่เสื่อมสูญ พระศาสนาชื่อว่า ยังตั้งอยู่ต่อไป”

(๑.๒) ปรากฏความใน โคลิสสานิสูตร เป็นคำของท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า ....

“ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ ควรทำความเพียรในอภิธรรม ในอภิวินัย เพราะคนผู้ถามปัญหา ในอภิธรรมและในอภิวินัย กะภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์มีอยู่ ถ้าภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ ถูกถามปัญหา ในอภิธรรม ในอภิวินัยแล้ว จะให้ความประสงค์ของเขาสำเร็จไม่ได้ จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ว่า ท่านผู้นี้ถูกถามปัญหา ในอภิธรรมในอภิวินัยแล้ว ยังความประสงค์ของเขาให้สำเร็จไม่ได้ จะมีประโยชน์อะไรด้วยการอยู่เสรีในป่าแก่ท่านผู้นี้ซึ่งสมาทานอรัญญิกธุดงค์แต่ผู้เดียวเล่า จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ดังนี้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ จึงควรทำความเพียร ในอภิธรรม ในอภิวินัย”

(๒) จากหลักฐานที่ปรากฏ ย่อมเป็นที่แน่ชัดว่าคำ อภิธมฺเม มีอยู่จริงทั้งในทั้งส่วนที่เป็นพระวินัยและที่เป็นพระสูตร ดังนั้น ปัญหาที่ควรพิจารณาต่อไปก็คือคำว่า อภิธมฺเม ตามที่ปรากฏอยู่นั้นมีความหมายว่าอย่างไร ?
เพื่อเป็นการป้องกันความสับสน จึงขอกล่าวย้ำอีกครั้งว่า ประเด็นในข้อที่ ๒ นี้ก็คือ อภิธมฺเม ตามที่ปรากฏอยู่ในรูปของพระวินัยและพระสูตรนั้น มีความหมายว่าอย่างไร ?
ด้วยเหตุที่ แม้จะปรากฏคำว่า อภิธมฺเม อยู่จริง แต่นั่นก็ยังมิได้เป็นหลักฐานที่แสดงว่า อภิธมฺเม จะต้องหมายถึง พระอภิธรรมปิฎก เสมอไป นอกเสียจากเราจะพบว่า มีการให้ความหมายเอาใว้ว่าอย่างนั้นจริงๆ ซึ่งในข้อที่ ๒ นี้มีเป้าหมายเพื่อจะพิสูจน์ความข้อนี้นั่นเอง ดังจะได้ปรากฏในลำดับถัดไป ....

(๒.๑) เท่าที่ได้ทำการสอบสวนพบว่า การให้ความหมายของคำว่า อภิธมฺเม ในส่วนที่เป็นพุทธพจน์นั้น ปรากฏอยู่เพียงแห่งเดียวคือใน กินติสูตร ความว่า ....

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย เป็นอันว่าพวกเธอมีความดำริในเราอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคผู้อนุเคราะห์ แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล อาศัยความอนุเคราะห์แสดงธรรม เพราะฉะนั้นแล ธรรมเหล่าใด อันเราแสดงแล้วแก่เธอทั้งหลายด้วยความรู้ยิ่ง คือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ เธอทั้งปวงพึงเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ยินดีต่อกัน ไม่วิวาทกัน ศึกษาอยู่ในธรรมเหล่านั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อพวกเธอนั้นพร้อมเพรียงกัน ยินดีต่อกัน ไม่วิวาทกัน ศึกษาอยู่ จะพึงมีภิกษุผู้กล่าวต่างกันในธรรมอันยิ่ง เป็นสองรูป ฯ”

แปลความอีกทีก็คือ พระพุทธองค์ตรัสว่า อภิธรรม(ธรรมอันยิ่ง) นั้นก็คือ โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการนั่นเอง โดยที่อรรถกถาจารย์ ได้กล่าวย้ำความข้อนี้ว่า

“พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสโพธิปักขิยธรรม ๓๗ประการ มีว่าสติปัฏฐาน ๔ ดังนี้เป็นต้น ทั้งโลกิยะและโลกุตระทีเดียว บทว่า ตตฺถ ได้แก่ ในธรรม ๓๗ ประการนั้น. บทว่า สิยุ แปลว่า พึงเป็น บทว่า อภิธมฺเม ได้แก่ ในธรรมอันวิเศษยิ่ง. อธิบายว่า ในโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการเหล่านี้”

ก่อนที่จะมีข้อสรุปใดๆออกไป ขอให้ท่านจงทำความเข้าใจให้ดีก็คือ คำว่า อภิธมฺเม หมายถึง โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ นั้นเป็นข้อความในส่วนที่เรียกว่า “พุทธพจน์” มิใช่เป็น มติของอรรถกถาจารย์ และย่อมมิใช่ มติของพุทธบริษัทท่านหนึ่งท่านใดเป็นการเฉพาะเจาะจง !!!!
ทั้งนี้ ขอเรียนให้ท่านทั้งหลายทราบว่า เท่าที่ผมทำการตรวจสอบ ก็ยังไม่พบว่า พระพุทธองค์ได้เคยให้ความหมายของคำว่า อภิธมฺเม เป็นอย่างอื่นอีก ดังนั้น ถ้านักศึกษาพระพุทธศาสนาท่านใดสามารถตรวจพบข้อความดังกล่าว กรุณานำมาแสดงให้เป็นที่ประจักษ์ด้วย จักเป็นพระคุณต่อผู้ศึกษา(พระพุทธศาสนา)ทั้งหลายเป็นอย่างสูง

(๒.๒) ปัญหาที่พบว่าเป็นข้อขัดแย้งกันก็คือ ผู้ศึกษา(พระพุทธศาสนา)บางท่าน ได้นำข้อความจากหนังสือ พระไตรปิฎกวิเคราะห์ ของ คุณเสฐียรพงษ์ วรรณปก ซึ่งระบุว่า อภิธมฺเม หมายถึง โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ มาแสดง โดยสรุปเป็นใจความได้ว่า พระอภิธรรมปิฏก เป็นคัมภีร์ที่ถูกเรียบเรียงขึ้นในภายหลัง มิได้เป็นพุทธพจน์โดยตรง และ พระพุทธองค์ไม่เคยตรัสถึง พระอภิธรรม(ในความหมายว่า อภิธรรมปิฎก)






แน่นอนว่า ความข้อนี้ของ คุณเสฐียรพงษ์ ย่อมมีผู้กล่าวคัดค้าน ทั้งในส่วนที่เป็นมติความคิดเห็นของตนเอง รวมไปถึงการอ้างอิง มติของพระเถระรูปอื่น ซึ่งในที่นี้คือ หนังสือ “อภิธรรมเป็นพระพุทธพจน์” โดย พระคันธสาราภิวงศ์(วัดท่ามะโอ จังหวัดลำปาง)
แต่ก่อนอื่น ผมคงต้องขอให้ท่านทั้งหลาย ได้มีโอกาสทบทวนสติและความทรงจำเสียก่อนว่า วิธีการตรวจสอบพระธรรมวินัย ตามที่พระพุทธองค์ตรัสใว้ นั้นคืออย่างไร ?
หากมีผู้หนึ่งผู้ใดกล่าวอ้างว่า “นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสั่งสอนของพระศาสดา” พระพุทธองค์ได้ตรัสเอาใว้เป็นหลักการ คือ “พวกเธอไม่พึงชื่นชม ไม่พึงคัดค้าน คำกล่าวของภิกษุนั้น ครั้นแล้วพึงเรียนบทและพยัญชนะเหล่านั้นให้ดี แล้วสอบสวน ในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย”
๑) ถ้าสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย ลงในพระสูตรไม่ได้ เทียบเคียงในพระวินัยไม่ได้
พึงถึงความตกลงในข้อนี้ว่า นี้มิใช่คำของพระพุทธองค์แน่นอน และภิกษุนี้จำมาผิดแล้ว ดังนั้น พวกเธอพึง ทิ้งคำกล่าวนั้นเสีย
๒) ถ้าเมื่อสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย ลงในพระสูตรได้ เทียบเคียงในพระวินัยได้ พึงถึงความตกลงในข้อนี้ว่า นี้เป็นคำ สั่งสอนของพระพุทธองค์แน่นอน และภิกษุนี้จำมาถูกต้องแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงทรงจำมหาปเทสนี้ไว้

ขอพ่วงหลักเกณฑ์ในการจัดลำดับความสำคัญของคัมภีร์ต่างๆ ซึ่งลดหลั่นกันลงมา เป็น 4 ระดับ คือ ….
๑) สุตตะ ได้แก่ พระไตรปิฎก
๒) สุตตานุโลม ได้แก่ มหาปเทส (ยอมรับอรรถกถาด้วย)
๓) อาจริยวาท ได้แก่ อรรถกถา (พ่วงฎีกา อนุฎีกาด้วย)
๔) อัตตโนมติ ได้แก่ มติของบุคคลที่นอกจากสามข้อต้น

ทั้งนี้ ขอเตือนความทรงจำของท่านทั้งหลายเอาใว้ด้วยว่า แม้แต่อรรถกถาจารย์ ท่านยังกล่าวเป็นหลักการเอาใว้เลยทีเดียวว่า “เมื่อค้านสุตตะ ก็คือ ค้านพระพุทธเจ้า” จำเพาะถ้อยคำส่วนนี้ ต้องถือว่าเป็นท่าทีที่สำคัญยิ่งสำหรับชาวพุทธ(เถรวาท) โดยที่ผมยังคงหวังอยู่ว่า ท่านทั้งหลายซึ่งเป็นนักศึกษาพระพุทธศาสนา จะไม่คลาดเคลื่อนไปจากหลักการนี้เป็นอันขาด

(๓) เมื่อเข้าใจในหลักการและวิธีการอันถูกต้องแล้ว ก็ถึงเวลาในการพินิจพิจารณา และ วิเคราะห์หลักฐานทั้งหมดเท่าที่มี เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ถูกต้องหมดจด กันเสียที

(๓.๑) การที่หนังสือ “อภิธรรมเป็นพระพุทธพจน์” กล่าวค้านว่า .... “การยกข้อความในกินติสูตรมาอ้างแล้วปฏิเสธว่า พระอภิธรรม(อภิธมฺเม) มิใช่พระอภิธรรมปิฎก ย่อมไม่เป็นการถูกต้อง เพราะข้อความนั้นเป็นการแสดงความหมายอย่างเฉพาะเจาะจง ฯ .... มีข้อสังเกตดังนี้ว่า ผู้กล่าวคัดค้านพระอภิธรรมได้อ้างคำภีร์อรรถกถามายืนยันมติของตนว่า พระอภิธรรมมิใช่อภิธรรมปิฎก แต่กลับไม่ยอมรับข้อความในคำภีร์อรรถกถาที่กล่าวว่า พระอภิธรรมคือพระอภิธรรมปิฎก” (อ้างจาก อภิธรรมเป็นพระพุทธพจน์ หน้า ๓๑-๓๒)

ความผิดพลาดของผู้กล่าวข้อความข้างต้นมีอยู่ ๒ ประเด็นก็คือ ….
๑) การอ้างว่า ความหมายของ อภิธมฺเม ในกินติสูตรเป็นการแสดงความหมายอย่างเฉพาะเจาะจง และ
๒) การอ้างว่า ผู้กล่าวคัดค้านพระอภิธรรม ได้อ้างคำภีร์อรรถกถามายืนยันมติของตนว่า พระอภิธรรมมิใช่อภิธรรมปิฎก
ซึ่งผมเห็นว่า การกล่าวอ้างทั้ง ๒ ประเด็นนี้ ผิดไปจากข้อเท็จจริงโดยสิ้นเชิง ทั้งนี้ขอให้ท่านทั้งหลาย พิจารณา พุทธพจน์จาก กินติสูตร อีกครั้ง ซึ่งพระพุทธองค์ได้ตรัสเอาใว้ ดังนี้ว่า ….

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย เป็นอันว่าพวกเธอมีความดำริในเราอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคผู้อนุเคราะห์ แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล อาศัยความอนุเคราะห์แสดงธรรม เพราะฉะนั้นแล ธรรมเหล่าใด อันเราแสดงแล้วแก่เธอทั้งหลายด้วยความรู้ยิ่ง คือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ เธอทั้งปวงพึงเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ยินดีต่อกัน ไม่วิวาทกัน ศึกษาอยู่ในธรรมเหล่านั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อพวกเธอนั้นพร้อมเพรียงกัน ยินดีต่อกัน ไม่วิวาทกัน ศึกษาอยู่ จะพึงมีภิกษุผู้กล่าวต่างกันในธรรมอันยิ่ง เป็นสองรูป ฯ”

จากหลักฐานที่ปรากฏอยู่ตรงหน้าท่านทั้งหลาย ก็ย่อมชัดเจนอยู่แล้วว่า คำว่า อภิธมฺเม หมายถึง โพธิปักขิยธรรม ซึ่งนั่นเป็นพุทธพจน์ คือพระพุทธองค์ตรัสแจกแจงความหมายนี้ด้วยพระองค์เอง เป็นแต่อรรถกถาจารย์ ได้กล่าวยืนยันความหมายนี้อีกครั้งหนึ่ง จึงได้ปรากฏเป็นหลักฐานอยู่ในคำภีร์ชั้นอรรถกถา(ก็เท่านั้น)
ดังนั้น ในเบื้องต้น ทุกๆฝ่ายจะต้องยอมรับตามหลักฐานข้อเท็จจริงก่อนว่า จำเพาะความหมายของคำว่า อภิธมฺเม ในชั้นพุทธพจน์นั้น ปรากฏอยู่เพียงแห่งเดียวในกินติสูตร ว่าหมายถึง โพธิปักขิยธรรม แปลความได้ว่า การที่ คุณเสฐียรพงษ์ วรรณปก หรือ ชาวพุทธท่านใดก็ตาม กล่าวว่า อภิธมฺเม หมายถึงโพธิปักขิยธรรม นั้นจึงเป็นการกล่าวตามพุทธพจน์ มิใช่เป็น “มติ” ของท่านผู้พูด(เช่น คุณเสฐียรพงษ์) แต่อย่างใด
การที่หนังสือ “อภิธรรมเป็นพระพุทธพจน์” อ้างว่า ความหมายของ อภิธมฺเม ในกินติสูตรเป็นการแสดงความหมายอย่างเฉพาะเจาะจง จึงเป็นภาระของผู้พูดนั้นเองที่จะต้องแสดงให้เห็นว่า อภิธมฺเม มีความหมายอื่น ซึ่งเป็นความหมายโดยทั่วไป(มิใช่ความหมายอย่างเฉพาะเจาะจง)ในรูปของพุทธพจน์ ปรากฏเป็นหลักฐานอยู่ ณ. ส่วนใดของพระไตรปิฎก ? เพราะถ้าหาพุทธพจน์มาอ้างอิงมิได้ นั่นก็จะเท่ากับว่า ....

๑) มติดังกล่าวจากหนังสือ “อภิธรรมเป็นพระพุทธพจน์” นั้น มีลักษณะเป็นการกล่าวตู่พุทธพจน์ เนื่องจากพยายามพูดเลียบเคียงให้ผู้อื่นเข้าใจว่า ความหมายของ อภิธมฺเม ในกินติสูตรเป็นความหมายอย่างเฉพาะเจาะจง มิใช่เป็นความหมายทั่วไป ทั้งๆที่ พุทธพจน์ซึ่งแสดงความหมายของ อภิธมฺเม โดยตรง มีอยู่ในกินติสูตรแต่เพียงแห่งเดียว ไม่อาจหาพบได้ในที่อื่น !!!!
๒) การกล่าวว่า “การยกข้อความในกินติสูตรมาอ้างแล้วปฏิเสธว่า พระอภิธรรม(อภิธมฺเม) มิใช่พระอภิธรรมปิฎก ย่อมไม่เป็นการถูกต้อง” นั้นเป็นการสรุปเกินข้อมูล(ตามความเป็นจริง) ด้วยเหตุที่ความไม่ถูกต้องนั้น ควรอยู่ที่ท่าทีการปฏิเสธพุทธพจน์จากกินติสูตร ทั้งๆที่ไม่สามารถนำพุทธพจน์จากแหล่งอื่นมาอ้างอิงได้ นอกจากการอ้างข้อความในอรรถกถา นั้นต่างหาก !!!!
ทั้งนี้ ขอให้ท่านทั้งหลายจงรำลึกด้วยว่า ตามหลักของการอ้างอิงในพระพุทธศาสนาแล้ว ย่อมต้องถือว่า พุทธพจน์จากพระไตรปิฎก มีความสำคัญที่สุดเป็นอันดับ ๑ โดยมีข้อความจากอรรถกถา เป็นลำดับที่ ๒ ดังนั้น การปฏิเสธพุทธพจน์จากกินติสูตร ด้วยข้อความจากอรรถกถา แม้ว่าหลักฐานจากคำภีร์ชั้นอรรถกถา จะมีจำนวนมากมายเท่าใดก็ตาม นั่นย่อมมิใช่ท่าทีและหลักการที่ถูกต้องของชาวพุทธเถรวาทแต่อย่างใดเลย อีกทั้งท่านทั้งหลาย ไม่ควรลืมเลือนไปว่า แม้แต่อรรถกถาจารย์เอง ท่านก็ยังกล่าวเป็นมติปรากฏอยู่ดังนี้ว่า “เมื่อค้านสุตตะ ก็คือ ค้านพระพุทธเจ้า” เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ยังจะมีชาวพุทธท่านใด หาญกล้าที่จะนำมติของตนเอง หรือ จนแม้แต่มติอรรถกถาจารย์มาคัดค้าน พุทธพจน์จากกินติสูตรซึ่งระบุว่า “อภิธมฺเม หมายถึง โพธิปักขิยธรรม” ได้อีกเล่า ?

(๓.๒) ตามที่หนังสือ “อภิธรรมเป็นพระพุทธพจน์” มีการกล่าวอธิบายในประเด็นสำนวนภาษาดังต่อไปนี้ว่า ....
(๓.๒.๑) สำนวนภาษาพูด มีอยู่ใน อภิธรรมปิฎก เช่นใน สติปัฏฐานวิภังค์ และ ปุคคลบัญญัติ
(๓.๒.๒) ภาษาวิชาการแบบอภิธรรม ก็มีอยู่ใน ทั้งพระสูตรและพระวินัย
(๓.๒.๓) จากนั้นจึงสรุปเอาดื้อๆว่า การกล่าวว่า ภาษาในพระอภิธรรมปิฎก เป็นสำนวนภาษารุ่นหลัง เป็นแบบความเรียงลักษณะวิชาการ มิใช่ภาษาพูดสนทนาแบบภาษาในพระสูตรพระวินัย จึงไม่เป็นความจริง

ผมเห็นว่า ข้อสรุปจาก หนังสือ “อภิธรรมเป็นพระพุทธพจน์” ด้วยการใช้เหตุผลดังกล่าว ไม่สมเหตุผลแต่อย่างใดเลย เพราะถ้าพิจารณาในมุมที่ว่า อภิธรรมปิฎก ก็คือคำภีร์ที่สรุปความจากพระวินัยและพระสูตร พร้อมทั้งนำมาเรียบเรียงใหม่ ก็ย่อมไม่น่าแปลกใจแต่อย่างใดเลยที่จะพบว่า ….
๑) มีสำนวนวิชาการปรากฏอยู่ในพระวินัยและพระสูตร เพราะตามธรรมดานั้น พระพุทธองค์ย่อมตรัส สัมมติกถา(คือ กถาที่ว่าด้วย สัตว์ คน เทวดา พรหม เป็นต้น) บ้าง หรือ ตรัส ปรมัตถกถา(คือกถาที่ว่าด้วย อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ขันธ์ ธาตุ อายตนะ สติปัฏฐาน เป็นต้น) บ้าง ตามความเหมาะสม ว่าขณะนั้น พระพุทธองค์ กำลังตรัสกับบุคคลประเภทไหน ดังนั้น แทนที่จะกล่าวว่า ในพระสูตรและพระวินัย ก็มีสำนวนแบบอภิธรรมอยู่นั้น ควรกล่าวเสียใหม่ว่า อภิธรรมปิฎก เป็นคำภีร์ที่เรียบเรียงขึ้นใหม่ โดยใช้พระสูตรและพระวินัยนั้นเองเป็นข้อมูลดิบ โดยตัดส่วนที่เป็น เรื่องราว ผู้คน วันเวลา และสถาน ออกไป จะไม่เป็นการสมเหตุผลมากกว่าหรือ ?
๒) การที่มี สำนวนภาษาพูด อยู่ใน อภิธรรมปิฎก เช่น ปุคคลบัญญัติ ก็ไม่เห็นแปลก ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่า ปุคคลบัญญัติ คือเป็นสัมมติกถา แล้วจะให้หลีกเลี่ยงภาษาพูดไปได้อย่างไร ดังนั้นเหตุผลก็เป็นเช่นเดียวกับข้อ ๑ อยู่นั่นเอง

(๓.๓) การที่ หนังสือ “อภิธรรมเป็นพระพุทธพจน์” มักพยายามอ้างข้อความจากอรรถกถาเป็นหลัก ดังนั้น ขอให้พิจารณา นาถสูตร และอรรถกถานาถสูตร ความว่า ....

“อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ใคร่ในธรรม เป็นผู้ฟังและแสดงธรรมอันเป็นที่รัก มีความปราโมทย์อย่างยิ่งในธรรมอันยิ่ง ในวินัยอันยิ่ง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ใคร่ในธรรมเป็นผู้ฟังและแสดงธรรมอันเป็นที่รัก มีความปราโมทย์อย่างยิ่งในธรรมอันยิ่ง ในวินัยอันยิ่ง นี้เป็นธรรมกระทำที่พึ่ง ฯ”

ซึ่งอรรถกถาจารย์ ก็ได้อธิบายขยายความ ปรากฏตามที่ หนังสือ “อภิธรรมเป็นพระพุทธพจน์” ได้อ้างมาแล้ว ดังนี้คือ ....

๑) ในคำว่า อภิธมฺเม อภิวินเย นี้ พึงทราบ ๔ หมวด คือ ธรรม อภิธรรม วินัย อภิวินัย. ใน ๔ หมวดนั้น ชื่อว่า ธรรม ได้แก่พระสุตตันตปิฎก ชื่อว่า อภิธรรม ได้แก่ ปกรณ์ทั้ง ๗. ชื่อว่า วินัย ได้แก่วิภังค์ทั้งสอง[ภิกขุวิภังค์ ภิกขุนีวิภังค์] ชื่อว่า อภิวินัย ได้แก่ขันธกะและบริวาร.

ที่จริง อรรถกถาจารย์ได้อธิบายความหมายอีกนัยหนึ่ง เป็นข้อความเนื่องกันอยู่ ดังนี้คือ ....

๒) อีกนัยหนึ่ง ทั้งสุตตันตปิฎก ทั้งอภิธัมมปิฎก ชื่อว่าธรรมทั้งนั้น. มรรคผล ชื่อว่า อภิธรรม วินัยปิฎกทั้งสิ้น ชื่อว่า วินัย การทำการระงับกิเลส ชื่อว่า อภิวินัย อธิบายว่า เป็นผู้มีความปราโมทย์อย่างโอฬารในธรรม อภิธรรม วินัย และอภิวินัยทั้งหมด ด้วยประการฉะนี้.

ท่านผู้เป็นนักศึกษาพระพุทธศาสนาทั้งหลาย พอที่จะเห็นแนวทางในการพิจารณาไหมครับ ?

กล่าวโดยสรุป อรรถกถาจารย์ได้อธิบายคำว่า อภิธมฺเม ใน นาถสูตร ด้วยความหมาย ๒ นัยดังนี้คือ ….
นัยที่ ๑. อภิธมฺเม หมายถึง ปกรณ์ทั้ง ๗ (คืออภิธรรมปิฎก)
ธรรม หมายถึง พระสุตตันตปิฎก
วินัย หมายถึง วิภังค์ทั้งสอง[ภิกขุวิภังค์ ภิกขุนีวิภังค์]
อภิวินัย หมายถึง ขันธกะและบริวาร.
นัยที่ ๒. อภิธมฺเม หมายถึง มรรคผล
ธรรม หมายถึง พระสุตตันตปิฎก และ อภิธัมมปิฎก
วินัย หมายถึง วินัยปิฎกทั้งสิ้น
อภิวินัย หมายถึง การทำการระงับกิเลส

(๓.๔) ขอตั้งข้อสังเกต จากการอธิบายความหมายของคำว่า อภิธมฺเม โดยอรรถกถาจารย์ นัยที่ ๑ ดังนี้
อรรถกถาจารย์ได้อธิบายว่า อภิธมฺเม ตามที่ปรากฏอยู่ในนาถสูตร นั้นหมายถึง อภิธรรมปิฎก ซึ่งแน่นอนว่า ข้อความนี้ เป็นหลักฐานที่ดูเหมือนจะตรงตามความต้องการของผู้เขียนหนังสือเล่มดังกล่าว แต่สิ่งที่ผมจะชี้ชวนให้ท่านทั้งดูก็คือ ความหมายของคำว่า อภิวินัย ซึ่งอรรถกถาจารย์ กล่าวว่าหมายถึง ขันธกะและบริวาร ขออนุญาตอธิบายเพิ่มความเข้าใจดังนี้ว่า ที่กล่าวว่า วินัย หมายถึง วิภังค์ทั้งสอง(ภิกขุวิภังค์ ภิกขุนีวิภังค์) นั้นหมายถึงศีลในปาฏิโมกข์ ตรงนี้ไม่น่าสนใจอะไร แต่ที่น่าสนใจก็คือ การกล่าวว่า อภิวินัย หมายถึง ขันธกะและบริวาร เพราะการที่อรรถกถาจารย์ระบุว่า บางส่วนของอภิวินัย คือ คัมภีร์ปริวาร นั้นย่อมทำให้สามารถเข้าใจได้ว่า ส่วนหนึ่งของอภิวินัย มิใช่พุทธพจน์โดยตรง เนื่องจาก เป็นที่ทราบกันดีว่า คัมภีร์ปริวาร เป็นคัมภีร์ที่เกิดขึ้นภายหลัง โดยเป็นการย่อหัวข้อ สรุปเนื้อความ และวินิจฉัยปัญหาต่างๆจาก ภิกขุวิภังค์ ภิกขุนีวิภังค์ และขันธกะ ซึ่งเบาะแสที่พบนี้ ย่อมมีความเชื่อมโยงต่อการให้ความหมายคำว่า อภิธมฺเม อย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้น แทนที่ ข้อความจากอรรถกถาส่วนนี้ จะยืนยันว่า อภิธรรมปิฎก เป็นของเก่า เป็นพุทธพจน์มาแต่เดิม ผมกลับเห็นว่า ด้วยข้อเท็จจริงตามที่ทราบกันโดยทั่วไปอยู่แล้วเกี่ยวกับ คัมภีร์ปริวาร ว่าเป็นของใหม่ มิใช่ของเก่า จะทำให้สามารถเข้าใจได้ว่า อภิธมฺเม ที่ให้ความหมายว่า ปกรณ์ทั้ง ๗ (คืออภิธรรมปิฎก)นั้น ย่อมมีธรรมชาติอย่างเดียวกันกับ อภิวินัย คือ มีทั้งของเก่าและของใหม่ ปะปนกันอยู่ ขอให้ท่านทั้งหลาย หวนกลับไปพิจารณาข้อความใน โคลิสสานิสูตร ใหม่อีกสักครั้ง ดังนี้ ....

“ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ ควรทำความเพียรในอภิธรรม ในอภิวินัย เพราะคนผู้ถามปัญหา ในอภิธรรมและในอภิวินัย กะภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์มีอยู่ ถ้าภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ ถูกถามปัญหา ในอภิธรรม ในอภิวินัยแล้ว จะให้ความประสงค์ของเขาสำเร็จไม่ได้ จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ว่า ท่านผู้นี้ถูกถามปัญหา ในอภิธรรมในอภิวินัยแล้ว ยังความประสงค์ของเขาให้สำเร็จไม่ได้ จะมีประโยชน์อะไรด้วยการอยู่เสรีในป่าแก่ท่านผู้นี้ซึ่งสมาทานอรัญญิกธุดงค์แต่ผู้เดียวเล่า จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ดังนี้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ จึงควรทำความเพียร ในอภิธรรม ในอภิวินัย”

อรรถกถาของพระสูตรนี้ ก็ให้ความหมาย อภิธมฺเม ว่าหมายถึง อภิธรรมปิฎก เช่นกัน แต่จุดที่น่าสังเกตก็คือ อรรถกถาจารย์ ท่านพ่วง คำภีร์อรรถกถา เข้ามาในความหมายด้วย ปรากฏข้อความดังนี้ คือ ....

“บทว่า อภิธมฺเม อภิวินเย ควรทำความเพียรในอภิธรรมในอภิวินัยคือ ควรทำความเพียรในอภิธรรมปิฎกและในวินัยปิฎก ด้วยบาลีและด้วยอรรถกถา”

แปลความได้ว่า ในทุกครั้งที่ อรรถกถาจารย์ กล่าวว่า อภิธมฺเม หมายถึง อภิธรรมปิฎก ท่านก็จะต้องพ่วงเอา สาวกพจน์เข้าไปรวมในความหมายนั้นด้วยเสมอไม่โดยตรงก็โดยอ้อม คือ มิได้หมายถึง พระบาลี หรือ พุทธพจน์ แต่เพียงอย่างเดียวโดดๆ แต่ถ้าอธิบายว่า อภิธมฺเม หมายถึง โพธิปักขิยธรรม จะหมายถึงพระบาลีแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ไม่พ่วงเอาสาวกพจน์เข้ามาในความหมายเด็ดขาด ไม่ว่าจะโดยตรงหรือโดยอ้อมก็ตาม ความข้อนี้ ขอให้ท่านทั้งหลายจงสังเกตและพิจารณาดูเอาเองเถิด !!!!

(๓.๕) เมื่อพิจารณาความหมายของคำว่า อภิธมฺเม โดยอรรถกถาจารย์ นัยที่ ๒ ก็จะเห็นข้อเท็จจริงมากยิ่งขึ้น คือ อรรถกถาจารย์ อธิบายว่า อภิธมฺเม หมายถึง มรรคผล ถามว่า อรรถกถาจารย์เอาความหมายอันนี้มาจากไหน ? .... ขอตอบว่า ท่านก็เอามาจากที่พระพุทธองค์ตรัสความหมายของ อภิธมฺเม เอาใว้ในกินติสูตรนั่นเอง ความว่า “ธรรมเหล่าใด อันเราแสดงแล้วแก่เธอทั้งหลายด้วยความรู้ยิ่ง(อภิธมฺเม) คือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ ฯ” โดยโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการนี้ ก็คือ มรรค และ ผล(โดยปริยาย) นั่นเอง ทั้งนี้จะเห็นได้ว่า อรรถกถาจารย์ ได้ให้ความหมายคำว่า อภิวินัย (นัยที่ ๒) นี้ว่า คือ การทำการระงับกิเลส อันหมายถึง สมถะและวิปัสสนา ซึ่งสอดคล้องกันดีกับการให้ความหมายคำว่า อภิธมฺเม ตามที่กล่าวมาแล้ว แปลความได้ว่า อรรถกถาจารย์นั้น แม้ท่านจะอธิบายว่า อภิธมฺเม หมายถึง อภิธรรมปิฎก(นัยที่ ๑) แต่ท่านก็มิได้ละเลยที่จะกล่าวถึงความหมายซึ่งมีที่มาจากพุทธพจน์ด้วยว่า หมายถึง มรรคผล(นัยที่ ๒) หรือก็คือ โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ ตามที่คุณเสฐียรพงษ์ อ้างถึงนั่นเอง

ดังนั้น ผมขออนุญาติสรุปความ โดยอ้างอิงหลักฐาน ตามลำดับความสำคัญ ดังนี้คือ ....

๑) คำว่า อภิธมฺเม หรือ ธรรมอันยิ่ง ปรากฏอยู่จริง ทั้งในพระสูตรและพระวินัย ซึ่งความข้อนี้ ย่อมมิอาจมีผู้หนึ่งผู้ใดคัดค้านได้ ....จะเป็น ผม หรือ คุณเสฐียรพงษ์ หรือ ชาวพุทธท่านใด ก็ย่อมมิอาจคัดค้านได้ทั้งนั้น

๒) คำว่า อภิธมฺเม หรือ ธรรมอันยิ่ง ตามที่ปรากฏอยู่ทั้งในพระสูตรและพระวินัย นั้นมีความหมายว่า

๒.๑) ความหมายในชั้นพุทธพจน์ อภิธมฺเม หมายถึง โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ นี้เป็นความหมายหลัก หรือความหมายทั่วไป มิใช่ความหมายเฉพาะเจาะจง(คือใช้ได้เฉพาะในกินติสูตร) ตามที่หนังสือ “อภิธรรมเป็นพระพุทธพจน์” กล่าวอ้างแต่อย่างใด ทั้งนี้ ขอให้ท่านทั้งหลาย พิจารณา พระบาลีจาก สุตฺต ม. อุปริปณฺณาสก (หน้าที่ ๔๒ ข้อที่ ๔๔) ซึ่งเป็นพุทธพจน์แท้ๆ และตรัสถึงความหมายของ อภิธมฺเม เอาใว้อย่างชัดเจน ดังนี้คือ ....

“เอวฺจ กิร โว ภิกฺขเว มยิ โหติ อนุกมฺปโก ภควา
หิเตสี อนุกมฺป อุปาทาย ธมฺม เทเสตีติ ตสฺมาติห ภิกฺขเว เย โว
มยา ธมฺมา อภิฺา เทสิตา เสยฺยถีท จตฺตาโร สติปฏฺานา
จตฺตโร สมฺมปฺปธานา จตฺตาโร อิทฺธิปาทา ปฺจินฺทฺริยานิ ปฺจ
พลานิ สตฺต โพชฺฌงฺคา อริโย อฏฺงฺคิโก มคฺโค ตตฺถ สพฺเพเหว
สมคฺเคหิ สมฺโมทมาเนหิ อวิวทมาเนหิ สิกฺขิตพฺพ ฯ เตสฺจ โว
ภิกฺขเว สมคฺคาน สมฺโมทมานาน อวิวทมานาน สิกฺขต สิยุ ๑ เทฺว
ภิกฺขู อภิธมฺเม นานาวาทา ฯ”

โดยอรรถกถาจารย์ ได้อธิบายศัพท์ ดังนี้ว่า ....

“พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ มีว่าสติปัฏฐาน ๔ ดังนี้เป็นต้น ทั้งโลกิยะและโลกุตระทีเดียว. บทว่า ตตฺถ ได้แก่ ในธรรม ๓๗ ประการนั้น. บทว่า สิยุ แปลว่า พึงเป็น. บทว่า อภิธมฺเม ได้แก่ ในธรรมอันวิเศษยิ่ง. อธิบายว่า ในโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการเหล่านี้.”

สรุปความก็คือ ที่กล่าวว่า อภิธมฺเม หมายถึง โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ นี้เป็นพุทธพจน์ อย่าได้เผลอเข้าใจผิดไปว่า นี่เป็นมติอรรถกถาจารย์เป็นอันขาด เพราะในกรณีนี้ อรรถกถาจารย์เพียงแต่อธิบายคำศัพท์และรูปประโยค เพื่อให้สามารถทำความเข้าใจต่อพุทธพจน์ได้อย่างถูกต้องตรงธรรมเท่านั้นเอง

๒.๒) ความหมายในชั้นสาวกพจน์ คือในระดับอรรถกถา อภิธมฺเม หมายถึง (๑) อภิธรรมปิฎก (๒) มรรคผล(คือโพธิปักขิยธรรม) แปลความได้ว่า อภิธมฺเม ที่หมายถึง อภิธรรมปิฎก นั้นพบความหมายนี้ได้เฉพาะในระดับอรรถกถาเท่านั้น ไม่พบความหมายนี้ในระดับพุทธพจน์
ขอให้สังเกตว่า เมื่อใดก็ตามที่อรรถกถาจารย์ระบุว่า อภิธมฺเม หมายถึง อภิธรรมปิฎก ก็มักให้ความหมายโดยพ่วงเอาสาวกพจน์เข้าเป็นส่วนหนึ่งของความหมายนี้ทุกครั้งไป นี่ย่อมเป็นเบาะแสที่ชี้ให้เห็นว่า อภิธรรมปิฎก ไม่ได้อยู่ในฐานะพระบาลี คือมิได้อยู่ในรูปของพุทธพจน์ล้วนๆ แต่มีลักษณะปะปนกันระหว่างพุทธพจน์กับสาวกพจน์

๓) การกล่าวว่า อภิธมฺเม ที่หมายถึง โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ เป็นความหมายเฉพาะเจาะจง นั้นจะต้องหมายความว่า ผู้พูดสามารถแสดงพุทธพจน์ที่กล่าวอธิบายความหมายของ อภิธมฺเม ว่าหมายถึงอย่างอื่น หรือ โดยนัยอื่นได้ และความหมาย(อื่น)นั้น จะต้องเป็นความหมายที่พบว่าใช้อยู่ทั่วไปโดยมาก จนอาจกล่าวได้ว่าเป็น ความหมายทั่วไป แต่ถ้าไม่ปรากฏว่ามีหลักฐานในระดับพุทธพจน์ในลักษณะดังกล่าวนี้ นั่นย่อมหมายความว่า การแสดงให้เห็นถึงความพยายามในการกล่าวปฏิเสธ ความหมายหลักของคำ อภิธมฺเม ที่หมายถึง โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ ตามที่ปรากฏหลักฐานอยู่ในพระสูตร ก็จะมีค่าเท่ากับ การปฏิเสธพระพุทธองค์ ดังที่อรรถกถาจารย์ มีมติว่า “เมื่อค้านสุตตะ ก็คือ ค้านพระพุทธเจ้า”
ความพยายามในการอ้างความหมายในระดับสาวกพจน์(จากอรรถกถา) โดยให้น้ำหนักมากกว่า พุทธพจน์(จากพระสูตร) อีกทั้งยังพยายามสื่อให้ผู้อื่นเข้าใจว่า ความหมายจากพุทธพจน์เป็นเพียง(แค่)ความหมายเฉพาะ แต่ความหมายจากอรรถกถา มีลักษณะเป็นความหมายทั่วไป ทั้งนี้ ก็เพียงเพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายของตนก็คือ อภิธมฺเม ต้องหมายถึง อภิธรรมปิฎก และ อภิธรรมปิฎก เป็นพุทธพจน์ โดยที่มิได้ใส่ใจต่อหลักการขั้นพื้นฐานในการอ้างอิงคำภีร์ ซึ่งจะใช้คำภีร์ในระดับรอง ไป ขัด หรือ แย้ง คำภีร์ในระดับที่สูงกว่ามิได้ สำหรับในกรณีนี้ การถือเอาความหมายจากอรรถกถาเป็นหลักโดยถือเอาความหมายจากพุทธพจน์เป็นรองนั้น ย่อมเป็นท่าทีที่ไม่ถูกต้อง(ตามหลักการอ้างอิง) ทั้งๆที่ คำอธิบายของอรรถกถาจารย์ ก็มีทั้งส่วนที่เอามาจากพุทธพจน์(กินติสูตร) รวมไปถึงส่วนที่ขยายความออกมา คือเป็นมติของท่าน(อรรถกถาจารย์)เอง ดังนั้น จึงควรสรุปความตามหลักฐานข้อเท็จจริงว่า อภิธมฺเม ที่หมายถึง โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ นั้นเป็นพุทธพจน์ แต่ อภิธมฺเม ที่หมายถึง อภิธรรมปิฎก นั้นเป็นมติอรรถกถาจารย์ จึงจะนับว่า ถูกต้องและเหมาะสมที่สุด

(๔) การอ้างเรื่องสำนวนภาษาโดยหนังสือ “อภิธรรมเป็นพระพุทธพจน์” นั้นผมเห็นว่ายังไม่สมเหตุผล เนื่องจาก การอ้างว่า ....
๑) สำนวนภาษาพูด มีอยู่ใน อภิธรรมปิฎก เช่นใน สติปัฏฐานวิภังค์ และ ปุคคลบัญญัติ และ
๒) ภาษาวิชาการแบบอภิธรรม ก็มีอยู่ใน ทั้งพระสูตรและพระวินัย
นั้นสามารถใช้เป็นเหตุผลในการโต้แย้งคำกล่าวที่ว่า “ภาษาในพระอภิธรรมปิฎก เป็นสำนวนภาษารุ่นหลัง เป็นแบบความเรียงลักษณะวิชาการ มิใช่ภาษาพูดสนทนาแบบภาษาในพระสูตรพระวินัย”ได้ แต่ไม่อาจใช้เป็นเหตุผลในการสรุปว่าอภิธรรมปิฎกเป็นพุทธพจน์ได้ เพราะถ้ามองในมุมกลับ ก็จะกลายเป็นว่า เหตุผลทั้ง ๒ ข้อนั้นเอง เป็นการยอมรับว่า อภิธรรมปิฎก มีที่มาจากพระสูตรและพระวินัย คือ ….
๑) การอ้างว่า สำนวนภาษาพูด มีอยู่ใน อภิธรรมปิฎก นั้นสามารถตอบโต้ผู้กล่าวว่า “ภาษาในอภิธรรมปิฎก เป็นแบบความเรียงลักษณะวิชาการ มิใช่ภาษาพูดสนทนาแบบภาษาในพระสูตรพระวินัย” ได้ก็จริง แต่ความข้อนี้จะเป็นหลักฐานชี้ให้เห็นว่า แท้ที่จริงแล้ว อภิธรรมปิฎก มีพื้นฐานข้อมูลมาจาก พระสูตรและพระวินัย คือหมายความว่า อภิธรรมปิฎก มิได้เป็นคำภีร์ที่เกิดขึ้นมาอย่างเอกเทศนั่นเอง
๒) การอ้างว่า ภาษาวิชาการแบบอภิธรรม ก็มีอยู่ใน ทั้งพระสูตรและพระวินัย นั้นสามารถตอบโต้ผู้กล่าวว่า “ภาษาในพระอภิธรรมปิฎก เป็นสำนวนภาษารุ่นหลัง”ได้ แต่ที่จริงแล้ว สิ่งที่เห็นอยู่นี้ก็มิใช่ปรากฏการณ์ที่แปลกประหลาดอะไร เนื่องจากเป็นที่ทราบกันอยู่ว่า พุทธพจน์ที่ปรากฏอยู่ในพระสูตรและพระวินัยนั้น มีทั้งที่เป็น สัมมติกถา และ ปรมัตถกถา ดังนั้น การอ้างความข้อนี้ กลับจะกลายเป็นเหตุผลผูกมัดว่า ที่แท้แล้ว อภิธรรมปิฎก ก็คือการนำ ปรมัตถกถา จากพระสูตรและพระวินัย มาสรุปและเรียบเรียงขึ้นมาใหม่นั่นเอง
๓) จากเหตุผลดังที่กล่าวมาข้างต้น จึงควรสรุปว่า อภิธรรมปิฎก มิใช่พุทธพจน์โดยตรง(นิปปริยาย) แต่อาจนับได้ว่าเป็นพุทธพจน์โดยปริยาย เนื่องจาก อภิธรรมปิฎก ก็คือการนำ ปรมัตถกถา จากพระสูตรและพระวินัย มาสรุปและเรียบเรียงขึ้นใหม่นั่นเอง ดังที่ คำภีร์ปริวารในพระวินัยปิฎก ก็มีลักษณะเป็นการย่อหัวข้อ สรุปเนื้อความ และวินิจฉัยปัญหาต่างๆจาก ภิกขุวิภังค์ ภิกขุนีวิภังค์ และขันธกะ นั่นเอง แต่ทั้งนี้ นักศึกษาพระพุทธศาสนาทั้งหลาย ย่อมควรสอบสวนข้อความจาก อภิธรรมปิฎก ด้วยพระสูตรและพระวินัย เพื่อความไม่ประมาท ตามที่พระพุทธองค์ได้ตรัสหลักการเอาใว้แล้ว คือ มหาปเทส ๔ นั่นเอง !!!!

ข้อความส่งท้าย

บทความนี้ มิได้มีเป้าประสงค์ที่จะปกป้องท่านผู้หนึ่งผู้ใดเป็นการเฉพาะ แต่ในฐานะที่เป็นพุทธศาสนิกชนคนหนึ่งนั้น หากจะคิดถึงการปกป้องให้ได้แล้วล่ะก็ สิ่งที่ควรปกป้องมากที่สุดก็คือ พระธรรมวินัย ซึ่งพระพุทธองค์ได้ตรัสกับท่านพระอานนท์ว่า คือพระศาสดาของเราท่านทั้งหลายหลังจากพุทธปรินิพพาน(ไปแล้ว)
ในส่วนตัวของผมนั้น ย่อมไม่มีเหตุผลอันใดที่จะต้องไปโจมตี ผู้แต่งหนังสือ “อภิธรรมเป็นพระพุทธพจน์” เนื่องจากมิได้มีอคติใดๆ ทั้งต่อท่านผู้นั้น รวมไปถึงกับ “อภิธรรม” ในทุกๆความหมายนั้นด้วย หมายความว่า ผมมิได้แย้งในตัวของท่านพระคันธสาราภิวงศ์ (วัดท่ามะโอ จังหวัดลำปาง) อีกทั้งมิได้ปฏิเสธหลักฐานที่ท่านนำมาแสดง ไม่ว่าจะเป็นหลักฐานในรูปของพุทธพจน์หรืออรรถกถาก็ตาม แต่สิ่งที่ผมเห็นแย้งกับท่านก็คือ หลักการพิจารณา หรือ วิธีคิดวิเคราะห์ หลักฐานต่างๆที่มีอยู่นั้นต่างหาก(โดยที่บทความนี้ก็มิได้มีจุดประสงค์เพื่อกล่าวแก้ หนังสือ “อภิธรรมเป็นพระพุทธพจน์” ในทุกๆประเด็นแต่อย่างใดทั้งสิ้น)
แต่สิ่งที่ต้องการสื่อ(สาร)ไปถึงท่านทั้งหลายในฐานะที่เป็นชาวพุทธก็คือ ท่าทีที่แสดงให้เห็นถึงความพยายามในการลดความสำคัญของพุทธพจน์ โดยให้ความสำคัญกับอรรถกถามากกว่า ย่อมเป็นท่าทีที่ไม่ถูกต้อง อีกทั้ง การแสดงความคิดเห็นต่อพุทธพจน์ในลักษณะที่เป็นมติส่วนตน(อัตโนมติ) โดยที่มิอาจอ้างอิงถึงพุทธพจน์ได้ ย่อมเป็นมติที่ไม่ชอบธรรมและไม่อาจยอมรับได้เช่นกัน ซึ่งผมเห็นว่า นี่เป็นประเด็นที่สำคัญที่สุด เพราะเป็นเรื่องของหลักการในกระบวนวิธีพิจารณาว่าสิ่งใดใช่หรือมิใช่สัตถุศาสน์(คำสอนของพระศาสดา)
ก็ด้วยเหตุที่พุทธศาสนิกชนโดยทั่วไป ไม่ซื่อตรงต่อหลักการเหล่านี้นั่นเอง จึงได้ปรากฏให้เห็นจนเจนตาว่า ชาวพุทธหลายหมู่เหล่า มัวเมาเหนียวแน่นอยู่กับการอ้างอิง “สาวกพจน์” โดยละเลย “พุทธพจน์” ไปเสียสิ้น ซ้ำร้าย ในหลายๆกรณี กลับยึดถืออัตโนมติของอาจารย์ตน จนเลยเถิดไปถึงขั้นปฏิเสธพุทธพจน์ ก็มีให้เห็นอยู่ดาษดื่น ดังเช่นกรณีธรรมโกยนั้น เป็นที่ชัดเจนว่า เขาให้ความสำคัญแก่คำสอนของอาจารย์ โดยไม่ใยดีว่า คำสอนเหล่านั้น จะวิปริตผิดเพี้ยนไปจากพุทธพจน์มากเพียงใดก็ตาม หรือ ดังกรณีท่านปราโมชโชนั้น ก็มีการตั้งป้อมตอบโต้โจมตีกันอย่างขาดสติ จนเลยเถิดไปถึงขั้นปฏิเสธพุทธพจน์ ก็มีให้เห็นอยู่ .... หรือมิใช่ ?
ถ้าหากท่านทั้งหลายพิจารณากรณีท่านปราโมชโช ให้ถี่ถ้วนอีกสักหน่อย ก็จะพบว่า กระบวนการตรวจสอบคำสอนเหล่านั้น ก็มิได้ดำเนินไปตามหลักการที่พระพุทธองค์ตรัสเอาใว้เลย ดังที่มักอ้างสาวกพจน์คืออัตโนมติของหลวงปู่หลวงตาทั้งหลายเป็นหลักในการตรวจสอบ โดยมิได้ใส่ใจเลยว่า วิธีการเหล่านั้นมันไม่ถูกต้อง และแม้หากจะมีการยกพุทธพจน์ขึ้นมาอ้างอยู่บ้าง ก็มักเป็นไปอย่างกึ่งดิบกึ่งดี คือเป็นการนำพุทธพจน์มาตีความตามใจชอบโดยถือเอาทิฐิของตนเป็นที่ตั้ง อย่างขาดโยนิโสมนสิการในพุทธพจน์นั้นๆ และปราศจากความรับผิดชอบต่อพระธรรมคำสอนเป็นอย่างยิ่ง(ทั้งนี้ มิได้เกี่ยวกับว่า ท่านปราโมชโช เป็นฝ่ายถูกหรือว่าผิด)
สุดท้ายนี้ ผมขอกล่าวย้ำอีกครั้งว่า ความคิดเห็นตามที่ปรากฏในบทความนี้ หาใช่ข้อยุติแต่อย่างใดไม่ หากแต่เป็นเพียง “มติ” ส่วนตัวของผมเท่านั้น หมายความว่า ท่านทั้งหลายไม่จำเป็นต้องเชื่อตามโดยปราศจากการสอบทานกับพระสูตรและพระวินัย เฉกเช่นเดียวกับ มติของ อรรถกถาจารย์ หรือ ท่านพระคันธสาราภิวงศ์ หรือ คุณเสฐียรพงษ์ รวมไปถึง หลวงปู่หลวงตาทั้งหลาย นั้นก็ยังไม่จำเป็นต้องเชื่อตามในทันที แต่ขอให้ปฏิบัติตามที่พระพุทธองค์ได้ตรัสเอาใว้ดังนี้ว่า “พวกเธอไม่พึงชื่นชม ไม่พึงคัดค้าน คำกล่าวของภิกษุนั้น ครั้นแล้วพึงเรียนบทและพยัญชนะเหล่านั้นให้ดี แล้วสอบสวน ในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย”
๑) ถ้า ลงในพระสูตรไม่ได้ เทียบเคียงในพระวินัยไม่ได้ .... พึงทิ้งคำกล่าวนั้นเสีย !!!!
๒) แต่ถ้า ลงในพระสูตรได้ เทียบเคียงในพระวินัยได้ .... ย่อมแสดงว่านี้เป็นคำสอนของพระพุทธองค์

ขอให้ท่านทั้งหลายมีความสุขตามสมควร(แก่การปฏิบัติธรรม)


ฤทธี



http://www.oknation.net/blog/SiamBhikhunis

http://rittijanson.blogspot.com/

คนถ่อย

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระคาถาประพันธ์นี้ว่า ....

๑. คนมักโกรธ ผูกโกรธ ลบหลู่อย่างเลว มีทิฐิวิบัติ และมีมายาพึงรู้ว่าเป็นคนถ่อย
๒. คนผู้เบียดเบียนสัตว์ที่เกิดหนเดียว แม้หรือเกิดสองหนไม่มีความเอ็นดูในสัตว์ พึงรู้ว่าเป็นคนถ่อย ฯ
๓. คนเบียดเบียน เที่ยวปล้น มีชื่อเสียงว่า ฆ่าชาวบ้านและชาวนิคม พึงรู้ว่าเป็นคนถ่อย ฯ
๔. คนลักทรัพย์ที่ผู้อื่นหวงแหน ไม่ได้อนุญาตให้ ในบ้านหรือในป่า พึงรู้ว่าเป็นคนถ่อย ฯ
๕. คนที่กู้หนี้มาใช้แล้วกล่าวว่า หาได้เป็นหนี้ท่านไม่ หนีไปเสีย พึงรู้ว่าเป็นคนถ่อย ฯ
๖. คนฆ่าคนเดินทาง ชิงเอาสิ่งของ เพราะอยากได้สิ่งของพึงรู้ว่าเป็นคนถ่อย ฯ
๗. คนถูกเขาถามเป็นพยาน แล้วกล่าวคำเท็จ เพราะเหตุแห่งตนก็ดี เพราะเหตุแห่งผู้อื่นก็ดี เพราะเหตุแห่งทรัพย์ก็ดี พึงรู้ว่าเป็นคนถ่อย ฯ
๘. คนผู้ประพฤติล่วงเกิน ในภริยาของญาติก็ตาม ของเพื่อนก็ตาม ด้วยข่มขืนหรือด้วยการร่วมรักกัน พึงรู้ว่าเป็นคนถ่อย ฯ
๙. คนผู้สามารถ แต่ไม่เลี้ยงมารดาหรือบิดาผู้แก่เฒ่าผ่านวัยหนุ่มสาวไปแล้ว พึงรู้ว่าเป็นคนถ่อย ฯ
๑๐. คนผู้ทุบตีด่าว่ามารดาบิดา พี่ชายพี่สาว พ่อตาแม่ยายแม่ผัวหรือพ่อผัว พึงรู้ว่าเป็นคนถ่อย ฯ
๑๑. คนผู้ถูกถามถึงประโยชน์ บอกสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์พูดกลบเกลื่อนเสีย พึงรู้ว่าเป็นคนถ่อย ฯ
๑๒. คนทำกรรมชั่วแล้ว ปรารถนาว่าใครอย่าพึงรู้เรา ปกปิดไว้ พึงรู้ว่าเป็นคนถ่อย ฯ
๑๓. คนผู้ไปสู่สกุลอื่นแล้ว และบริโภคโภชนะที่สะอาดย่อมไม่ตอบแทนเขาผู้มาสู่สกุลของตน พึงรู้ว่าเป็นคนถ่อย ฯ
๑๔. คนผู้ลวงสมณะ พราหมณ์ หรือแม้วณิพกอื่น ด้วยมุสาวาท พึงรู้ว่าเป็นคนถ่อย ฯ
๑๕. เมื่อเวลาบริโภคอาหาร คนผู้ด่าสมณะหรือพราหมณ์และไม่ให้โภชนะ พึงรู้ว่าเป็นคนถ่อย ฯ
๑๖. คนในโลกนี้ ผู้อันโมหะครอบงำแล้ว ปรารถนาของเล็กน้อย พูดอวดสิ่งที่ไม่มี พึงรู้ว่าเป็นคนถ่อย ฯ
๑๗. คนเลวทราม ยกตนและดูหมิ่นผู้อื่น ด้วยมานะของตน พึงรู้ว่าเป็นคนถ่อย ฯ
๑๘. คนฉุนเฉียว กระด้าง มีความปรารถนาลามก มีความตระหนี่ โอ้อวด ไม่ละอาย ไม่สะดุ้งกลัวพึงรู้ว่าเป็นคนถ่อย ฯ





๑๙. คนติเตียนพระพุทธเจ้า หรือติเตียนบรรพชิต หรือคฤหัสถ์สาวกของพระพุทธเจ้า พึงรู้ว่าเป็นคนถ่อย ฯ

๒๐. ผู้ใดแลไม่เป็นพระอรหันต์ แต่ปฏิญาณว่าเป็นพระอรหันต์ ผู้นั้นแลเป็นคนถ่อยต่ำช้า เป็นโจรในโลกพร้อมทั้งพรหมโลก คนเหล่าใด เราประกาศแก่ท่านแล้วคนเหล่านั้นนั่นแล เรากล่าวว่าเป็นคนถ่อย ฯ

อ้างจาก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต ข้อ ๓๐๖



Ritti Janson

http://www.oknation.net/blog/SiamBhikhunis

http://rittijanson.blogspot.com/

อัญญเดียรถีย์ ๒ ตน กับ มหามาลุงกโยวาทสูตร

เนื่องจาก มีอัญญเดียรถีย์สองตน(นาย ระนาดเอก และ นายเฉลิมศักดิ์1) อ่านข้อความจาก มหามาลุงกโยวาทสูตร แล้วไม่เข้าใจ จนนำไปสู่การกล่าวตู่พุทธพจน์ และกล่าววาจาจาบจ้วงพระเถระอย่างน่าสมเพชไร้ยางอาย จึงมีความจำเป็นที่จะต้องอธิบายขยายความกันตามสมควร ดังนี้ ....

ที่จริงแล้ว ถ้าเป็นผู้มีสัมมาทิฐิ หรือฉลาดในพุทธพจน์สักหน่อย ก็ย่อมที่จะสามารถเข้าใจในพุทธพจน์ส่วนนี้ได้ไม่ยาก เนื่องจากในเบื้องต้น พระพุทธองค์ก็ตรัสออกมาอย่างชัดเจนว่า ….

“ดูกรมาลุงกยบุตร นักบวช พวกอัญญเดียรถีย์จักโต้เถียง ด้วยคำโต้เถียง อันเปรียบด้วยเด็กนี้ได้ มิใช่หรือ(ว่า) ....”

ความหมายก็คือ พวกอัญญเดียรถีย์ มักนำเอากรณีของเด็กเล็ก(ทารก)นี้เองมาโต้แย้งว่า จะมี(โอรัมภาคิย)สังโยชน์ได้อย่างไร ก็ในเมื่อเด็กเหล่านั้นไม่มีแม้แต่ความคิดว่า ....

(๑) กายของตน
(๒) ธรรมทั้งหลาย
(๓) ศีลทั้งหลาย
(๔) กามทั้งหลาย
(๕) สัตว์ทั้งหลาย

ซึ่งเมื่อเป็นดังนี้แล้ว ….

(๑) สักกายทิฏฐิ
(๒) ความสงสัยในธรรมทั้งหลาย
(๓) สีลัพพตปรามาสในศีลทั้งหลาย
(๔) กามฉันทะในกามทั้งหลาย
(๕) ความพยาบาท ในสัตว์ทั้งหลาย

จักเกิดขึ้นแก่เด็กนั้นแต่ที่ไหน (?)

โดยประเด็นสำคัญ ก็อยู่ตรงถ้อยคำที่กล่าวต่อมา ดังนี้ว่า ....

(๑) ส่วน สักกายทิฏฐิ อันเป็นอนุสัยเท่านั้น ย่อมนอนตามแก่เด็กนั้น
(๒) ส่วน วิจิกิจฉาอัน เป็นอนุสัยเท่านั้น ย่อมนอนตามแก่เด็กนั้น
(๓) ส่วน สีลัพพตปรามาส อันเป็นอนุสัยเท่านั้น ย่อมนอนตามแก่เด็กนั้น
(๔) ส่วน กามราคะ อันเป็นอนุสัยเท่านั้น ย่อมนอนตามแก่เด็กนั้น
(๕) ส่วน พยาบาท อันเป็นอนุสัยเท่านั้น ย่อมนอนตามแก่เด็กนั้น

ข้อความตรงส่วนนี้เอง ที่อัญญเดียรถีย์ทั้งสองตน อ่านแล้วไม่เข้าใจ กล่าวคือ อัญญเดียรถีย์ทั้งสองตน อ้างว่า ถ้อยคำในส่วนนี้เป็นคำของอัญญเดียรถีย์ มิใช่พุทธพจน์ !!!!

แต่ในความเป็นจริงก็คือ ข้อความในส่วนนี้จะนับว่าเป็นพุทธพจน์ก็ได้ หรืออาจกลายเป็นคำของอัญญเดียรถีย์ก็ได้ ซึ่งนั่นก็ขึ้นอยู่กับว่า แต่ละคนเมื่ออ่านข้อความตรงนี้แล้ว มีความเข้าใจต่อพุทธพจน์นี้อย่างไร (?)
หมายความว่า ถ้าเข้าใจถูกต้องและตรง ข้อความนี้ก็จัดเป็นพุทธพจน์ แต่หาก เข้าใจไม่ตรงและไม่ถูกต้อง ข้อความนี้ ก็จะกลายเป็นทิฐิของอัญญเดียรถีย์ ไปในทันที !!!!

ที่จริงแล้ว ถ้าหากพิจารณาคำอธิบายจากอรรถกถา เราก็สามารถรู้ได้โดยไม่ยากเลยว่า เราเข้าใจถูกต้องตรงตามพุทธพจน์ หรือไม่ (?)
ขอให้พิจารณาอรรถกถา เป็นลำดับ ดังนี้ ….

(๑) แม้พระเถระก็พยากรณ์สังโยชน์เท่านั้น. แม้เมื่อเป็นเช่นนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกโทษในวาทะของใคร. เพราะเหตุไร จึงทรงยกโทษพระเถระนั้นเล่า. เพราะพระเถระถือลัทธิอย่างนั้น.เพราะนี้เป็นลัทธิของพระเถระนั้น. พระเถระเป็นผู้ชื่อว่าประกอบด้วยกิเลสในขณะประพฤตินั่นเอง. ไม่ประกอบในขณะนอกนี้. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงยกโทษแก่พระเถระนั้น.

จากอรรถกถาตรงนี้ ก็ชัดเจนว่าท่านพระมาลุงยกบุตรนั้น มีความเห็นผิดดังนี้ว่า คนจะประกอบไปด้วยกิเลส ก็เฉพาะในขณะที่มีความประพฤติ(อันเนื่องจากกิเลส)เท่านั้น หมายความว่า ท่านมาลุงกยบุตรมีความเห็นผิด ซึ่งตรงกันกับพวกอัญญเดียรถีย์ที่มักยกข้ออ้างขึ้นมาว่า เด็กทารก จะมีสังโยชน์ได้อย่างไร ก็ในเมื่อเด็กเหล่านั้นยังไม่รู้ความ แล้วจะไปเอากิเลสมาจากไหน (แต่ในความเป็นจริง แม้ไม่ปรากฏ สังโยชน์ ในเด็กนั้น แต่ก็มี อนุสัย นอนเนื่องอยู่ ซึ่งท่านมาลุงกยบุตรไม่ทราบความข้อนี้)

(๒) อนึ่ง ในสูตรนี้เพราะบาลีว่า สานุสยา ปหียติ สักกายทิฏฐิพร้อมด้วยอนุสัย อันพระอริยบุคคลละได้แล้ว อาจารย์บางพวกกล่าวว่า สังโยชน์เป็นอย่างหนึ่ง อนุสัยเป็นอย่างหนึ่ง. เหมือนเมื่อกล่าวว่า ภัตพร้อมด้วยกับ.กับข้าวเป็นอย่างอื่นจากภัตฉันใด. ลัทธิของอาจารย์เหล่านั้นว่า อนุสัยพึงเป็นอย่างอื่นจากสักกายทิฏฐิอันกลุ้มรุม เพราะบาลีว่า สานุสยา พร้อมด้วยอนุสัยก็ฉันนั้น. อาจารย์เหล่านั้นปฏิเสธด้วยบทมีอาทิว่า สสีสํ ปารุเปตฺวา คลุมตลอดศีรษะ. เพราะคน อื่นไปจากศีรษะย่อมไม่มี.
ถ้าเช่นนั้นพึงมีคำถามว่า ผิว่า สังโยชน์เป็นอย่างนั้น อนุสัยไม่เป็นอย่างนั้น เมื่อเป็นเช่นนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกพระเถระ อุปมาด้วยคนหนุ่มก็เป็นการปรารมภ์ที่ไม่ดีน่ะซิ. มิใช่ยกขึ้นไม่ดี. เพราะบทนี้ว่า เอวํ ลทฺธิกตฺตา เพราะมีลัทธิอย่างนี้ กล่าวพิสดารแล้ว. ฉะนั้น กิเลสนั้นชื่อว่า สังโยชน์ เพราะเป็นเครื่องผูก ชื่อว่า อนุสัย เพราะละไม่ได้. เพราะเหตุนั้น พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้ สานุสยา ปหียติ สักกายทิฏฐิ พร้อมด้วยอนุสัยอันพระอริยบุคคลละได้. หมายเอาความนี้.

แต่อรรถกถาข้อนี้ก็ได้อธิบายอย่างแจ่มชัดทีเดียวว่า นั่นเป็นความเข้าใจผิดของท่านพระมาลุงกยบุตร และ เหล่าอัญญเดียรถีย์ (หรืออาจรวมไปถึง นาย ระนาดเอก และ นายเฉลิมศักดิ์1) ที่หลงผิด ไปเข้าใจว่า สังโยชน์ กับ อนุสัย เป็นของคนละอย่างกัน ทั้งๆที่จริงแล้ว มันเป็นของอย่างเดียวกัน(คือกิเลส) โดยต่างกันก็เพียงแต่ชื่อเรียกเท่านั้น กล่าวคือ ....

(๑) เรียกว่า สังโยชน์ เพราะอรรถว่า เป็นเครื่องผูก
(๒) เรียกว่า อนุสัย เพราะอรรถว่า ละไม่ได้

แปลความให้ชัดๆอีกทีก็คือ ไอ้กิเลสทั้งหลายเหล่านี้ เราเรียกว่า อนุสัย(ด้วยอรรถว่า ละไม่ได้) จำเพาะในขณะที่มันยังไม่ฟุ้งขึ้น คือมันยังมิได้แสดงตัวออกมา ดังเช่นที่ตรัสว่า “เป็นอนุสัยเท่านั้น ย่อมนอนตามแก่เด็กนั้น(มหามาลุงกโยวาทสูตร)”
และเรียกว่า สังโยชน์(ด้วยอรรถว่า เพราะเป็นเครื่องผูก) ในกรณีที่ “กุมารนั่นนั้นอาศัยความเจริญและความเติบโตแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย พรั่งพร้อมบำเรออยู่ด้วยกามคุณ ๕(มหาตัณหาสังขยสูตร)”

ทีนี้ ลองกลับมาพิจารณาพุทธพจน์จากมหามาลุงกโยวาทสูตร อีกครั้ง ว่าทำไม อัญญเดียรถีย์สองตนนั้นจึงอ่านแล้วไม่เข้าใจ .... ความผิดพลาดของเขาอยู่ที่ตรงไหน (?)
ขอให้พิจารณา พุทธพจน์ที่ตรัสกับท่านมาลุงกยบุตร ดังต่อไปนี้ ....

“ดูกรมาลุงกยบุตร เธอจำโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เหล่านี้ ที่เราแสดงแล้วอย่างนี้ แก่ใครหนอ? ดูกรมาลุงกยบุตร นักบวช พวกอัญญเดียรถีย์จักโต้เถียง ด้วยคำโต้เถียง อันเปรียบด้วยเด็กนี้ได้ มิใช่หรือว่า

(๑) แม้แต่ความคิดว่า กายของตน ดังนี้ ย่อมมีแก่เด็ก กุมารอ่อนผู้ยังนอนหงายอยู่ ก็สักกายทิฏฐิจักเกิดขึ้นแก่เด็กนั้นแต่ที่ไหน ส่วนสักกายทิฏฐิอันเป็นอนุสัยเท่านั้น ย่อมนอนตามแก่เด็กนั้น

(๒) แม้แต่ความคิดว่า ธรรมทั้งหลายดังนี้ ย่อมไม่มีแก่เด็กกุมารอ่อนผู้ยังนอนหงายอยู่ ก็ความสงสัยในธรรมทั้งหลาย จักเกิดขึ้นแก่เด็กนั้นแต่ที่ไหนส่วนวิจิกิจฉาอันเป็นอนุสัยเท่านั้น ย่อมนอนตามแก่เด็กนั้น

(๓) แม้แต่ความคิดว่า ศีลทั้งหลายดังนี้ ย่อมไม่มีแก่เด็กกุมารอ่อนผู้ยังนอนหงายอยู่ สีลัพพตปรามาสในศีลทั้งหลาย จักเกิดขึ้นแก่เด็กนั้นแต่ที่ไหน ส่วนสีลัพพตปรามาสอันเป็นอนุสัยเท่านั้น ย่อมนอนตามแก่เด็กนั้น

(๔) แม้แต่ความคิดว่า กามทั้งหลาย ดังนี้ ย่อมไม่มีแก่เด็กกุมารอ่อนยังนอนหงายอยู่ ก็กามฉันทะในกามทั้งหลายจักเกิดขึ้นแก่เด็กนั้นแต่ที่ไหน ส่วนกามราคะอันเป็นอนุสัยเท่านั้น ย่อมนอนตามแก่เด็กนั้น

(๕) แม้แต่ความคิดว่า สัตว์ทั้งหลาย ดังนี้ ย่อมไม่มีแก่เด็กกุมารอ่อนผู้ยังนอนหงายอยู่ ก็ความพยาบาท ในสัตว์ทั้งหลายจักเกิดขึ้นแก่เด็กนั้นแต่ที่ไหน ส่วนพยาบาทอันเป็นอนุสัยเท่านั้น ย่อมนอนตามแก่เด็กนั้น

ดูกรมาลุงกยบุตร นักบวช พวกอัญญเดียรถีย์จักโต้เถียงด้วยคำโต้เถียงอันเปรียบด้วยเด็กอ่อนนี้ได้มิใช่หรือ? เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เวลานี้เป็นกาลสมควร ข้าแต่พระสุคต เวลานี้เป็นกาลสมควรที่พระผู้มีพระภาคพึงทรงแสดงโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ภิกษุทั้งหลายได้ฟังต่อพระผู้มีพระภาคแล้ว จักทรงจำไว้ ฯลฯ”

ในที่นี้ เมื่อพิจารณาเอาเฉพาะกรณีปัญหา กล่าวคือ พุทธพจน์จาก มหามาลุงกโยวาทสูตร ที่ตรัสว่า ....

“แม้แต่ความคิดว่า กามทั้งหลาย ดังนี้ ย่อมไม่มีแก่เด็กกุมารอ่อนยังนอนหงายอยู่ ก็กามฉันทะในกามทั้งหลายจักเกิดขึ้นแก่เด็กนั้นแต่ที่ไหน ส่วนกามราคะอันเป็นอนุสัยเท่านั้น ย่อมนอนตามแก่เด็กนั้น”

ซึ่งข้อชี้ขาดว่า ผู้อ่านพุทธพจน์ส่วนนี้ เป็นสัมมาทิฐิ หรือเป็นพวกอัญญเดียรถีย์มิจฉาทิฐิ มันก็อยู่ตรงที่ว่า เขาเหล่านั้น มีความเข้าใจว่า สังโยชน์ กับ อนุสัย เป็นของอย่างเดียวกันหรือไม่ .... ก็เท่านั้นเอง

หมายความว่า ถ้าใครก็ตาม อ่านพุทธพจน์นี้แล้วเข้าใจว่า กามราคะ(อันเป็นอนุสัย) เป็นคนละอย่างกับ กามฉันทะ คนผู้นั้นก็เป็นพวกมิจฉาทิฐิ(อัญญเดียรถีย์)
แต่หากเมื่ออ่านพุทธพจน์ส่วนนี้ แล้วเข้าใจว่า กามราคะ(อันเป็นอนุสัย) เป็นสิ่งเดียวกันกับ กามฉันทะ คนผู้นั้นก็เป็นพวกสัมมาทิฐิ ใจความจากพุทธพจน์พร้อมทั้งอรรถกถา ก็มีอยู่เพียงเท่านี้ ซึ่งจะเห็นได้ว่า ล้วนแล้วแต่เป็นของ “ตื้น” ทั้งสิ้น !!!! (ทั้งนี้ เว้นที่จะกล่าวถึง ไอ้พวก “โง่เขลาเบาปัญญา” ที่ไม่รู้แม้กระทั่งว่า มี อนุสัย นอนเนื่องอยู่ในเด็กนั้น)

ประเด็นที่อาจจะต้องอธิบายเพิ่มเติมก็คือ พวกอัญญเดียรถีย์ เขาอ้างว่า เด็กทารกยังไม่มี กามฉันทะ ซึ่งก็เป็นความจริงตามนั้น แต่ประเด็นที่เขาโต้แย้งฝ่ายพุทธก็คือ เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว กามฉันทะ มันจะมีมาแต่ไหน (?) ซึ่งนี่ก็คือประเด็นสำคัญของเรื่องนี้ ด้วยเหตุที่ ....

(๑) ถ้าหากอัญญเดียรถีย์สองตนนั้น เข้าใจว่า สังโยชน์ กับ อนุสัย เป็นของคนละอย่างกัน โดยที่เด็กทารกมี กามฉันทะ มาตั้งแต่แรกเกิด เขาก็จะกลายเป็นมิจฉาทิฐิพวกหนึ่ง(สัสสตทิฐิ)

(๒) ถ้าหากอัญญเดียรถีย์สองตนนั้น เข้าใจว่า สังโยชน์ กับ อนุสัย เป็นของคนละอย่างกัน และเด็กทารกมี กามฉันทะ ในภายหลังเมื่อโตแล้ว เขาก็จะกลายเป็นมิจฉาทิฐิอีกพวกหนึ่ง(อุทเฉททิฐิ)

(๓) ถ้าหากอัญญเดียรถีย์สองตนนั้น เข้าใจว่า สังโยชน์ กับ อนุสัย เป็นของอย่างเดียวกัน แต่กลับเข้าใจไปว่า เด็กทารกมี กามฉันทะ มาตั้งแต่แรกเกิด เขาก็จะกลายเป็นมิจฉาทิฐิอยู่ดี(สัสสตทิฐิ) และที่สำคัญไปกว่านั้นก็คือ ความเข้าใจของพวกเขา จะไปค้านกับพุทธพจน์จาก มหาตัณหาสังขยสูตร อีกโสตหนึ่งด้วย .... ซึ่งนี่คือ ข้อเท็จจริง ที่ใครๆก็ค้านไม่ได้(นอกไปเสียจากพวก ทุมมังกุ เก้อยาก)

(๔) จะมีแต่ก็เพียง ผู้ที่เข้าใจว่า สังโยชน์ กับ อนุสัย เป็นของอย่างเดียวกัน และเด็กทารกมี กามฉันทะ ในภายหลังเมื่อโตแล้วเท่านั้น โดยที่ กามราคะ (จะทำหน้าที่)เป็น(เพียง)อนุสัยเท่านั้น (และ)ย่อมนอนตามแก่เด็กนั้น(ไปตามเหตุปัจจัย) …. จึงจะได้ชื่อว่าเป็นสัมมาทิฐิ

ทั้งนี้ ขอทำความเข้าใจให้ตรงกันดังนี้ว่า ข้อความทั้งหมด ดังที่กล่าวมาข้างต้น ล้วนแล้วแต่เป็นการอธิบายพุทธพจน์ตามนัยอรรถกถาแห่งมหามาลุงกโยวาทสูตร ซึ่งมีความสอดคล้องต้องกันเป็นอย่างดี อีกทั้งยังไม่มีส่วนใดเลยที่จะขัดแย้งกับพุทธพจน์จาก มหาตัณหาสังขยสูตร !!!!

ส่วนในประเด็นที่ว่า ใคร โง่ ใคร เขลา ใคร เบาปัญญา ท่านทั้งหลาย ย่อมสามารถ แลเห็นได้ด้วยตนเองแล้ว และนั่นจึงหมายความว่า ใครคือ อัญญเดียรถีย์(ตัวจริง) ผู้ทำร้ายทำลายพุทธพจน์ด้วยความขยันขันแข็ง(อย่างน่าทุเรศ) ก็น่าที่จะทราบได้ไม่ยาก .... เช่นกัน



Ritti Janson



ปล. เห็นพวกนักอภิธรรมชั้นปลายแถว(นี้)แล้ว น่าสมเพชจริงๆ
ยัง(โชว์)โง่ได้อีกนะเนี่ยยยยยยย เฮอะ เฮอะ ๆๆๆๆๆๆๆๆ





http://www.oknation.net/blog/SiamBhikhunis

http://rittijanson.blogspot.com/

ธรรมะ แมวกินหนู

..ไม่บิดเบือนพุทธพจน์ โดย .... Ritti Janson ..

“แมวเห็นหนูก็จะตะครุบกิน นี่พวกที่เถรตรงก็ว่าแมวบาป แม้แต่สัตว์เดรัจฉานก็บาป อย่างนี้ เราก็มีความเห็นด้วยไม่ได้ แมวไม่มีเจตนาฆ่าหนู มันจะกินเท่านั้น แต่พวกอาจารย์บางพวก บางกลุ่มเขาจัดให้แมวนี้เป็นบาป เป็นเวรตกนรก ผูกพันกันกับหนูกลับไปกลับมา เรียกว่า มันขาดศีล แต่อาตมาเห็นว่า แมวไม่มีเจตนาฆ่า มันมีความรู้สึกแต่จะกินเท่านั้นแหละ เห็นหนูก็คือเห็นอาหาร เป็นอาหารก็กินเท่านั้นแหละ” (อ้างจาก หนังสือดอกโมกข์ ฉบับพิเศษ พุทธทาสวจนา)

ที่จริงแล้ว หากได้อ่านข้อความจาก “เพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกัน” ตามที่กล่าวมาข้างต้น อย่างละเอียดรอบคอบแล้วล่ะก็ ผมก็แทบไม่มีความจำเป็นที่จะต้องอธิบายขยายความกรณี “แมวกินหนู” เสียด้วยซ้ำไป เนื่องจากว่า คำอธิบายข้างต้น ย่อมสามารถทำให้ท่านทั้งหลายสามารถเข้าใจได้อย่างแจ่มแจ้งแล้วว่า อุปมา แมวกินหนู ตามคำอธิบายของท่านพุทธทาสนั้นย่อมเป็นการกล่าวที่ตรงกับพระธรรมคำสอนของพระศาสดาอย่างมิต้องสงสัย แต่กระนั้น ผมก็ขอเพิ่มเติมคำอธิบายอีกสักเล็กน้อย เพื่อให้ได้ใจความที่ถูกต้องและครบถ้วนตามสมควร ดังต่อไปนี้ ....
สิ่งที่ท่านทั้งหลายควรรับทราบเอาไว้เป็นพื้นฐานเสียก่อนก็คือ สรรพสิ่งทั้งหลาย(สังขตธรรม)ล้วนเป็นไปตามธรรมดาแห่งเหตุปัจจัย เรียกว่า กฏธรรมชาติ หรือ นิยาม หมายถึง กำหนดอันแน่นอน แนวทางที่แน่นอน หรือ ความเป็นไปอันมีระเบียบแน่นอน เพราะปรากฏให้เห็นว่า เมื่อมีเหตุปัจจัยอย่างนั้นๆแล้ว ย่อมมีความเป็นไปอย่างใดอย่างหนึ่งแน่นอน โดยอรรถกถาจารย์ได้แสดงกฏธรรมชาติสรุปเป็น นิยาม ๕ คือ ....

(๑) พีชนิยาม (ความแน่นอนของพืช) หมายถึง กฏธรรมชาติที่เกี่ยวกับการสืบพันธุ์ พันธุกรรม หรือ ลักษณะทางธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตนั้นๆ
(๒) อุตุนิยาม (ความแน่นอนของฤดูกาล) หมายถึง กฏธรรมชาติของปรากฏการณ์ฝ่ายวัตถุ เช่นเรื่อง ลมฟ้าอากาศ ฤดูกาล เทหวัตถุบนท้องฟ้า ฯลฯ
(๓) กรรมนิยาม (ความแน่นอนของกรรม) หมายถึง กฏธรรมชาติ เกี่ยวกับพฤติกรรม(ของมนุษย์) อันประกอบไปด้วย การกระทำ(กรรม) ผลของการกระทำ(วิบาก) และการกระทำเพื่อความสิ้นไปแห่งกรรม(กัมมักขัย) ซึ่งเป็นกระบวนแห่งเจตจำนง คือ เกิดขึ้นมาจากความคิดปรุงแต่ง(สังขาร)อย่างเกี่ยวพันสอดคล้องกับเหตุและผลตามหลักอิทัปปัจจยตานั่นเอง
(๔) ธรรมนิยาม (ความแน่นอนของธรรม) หมายถึง กฏธรรมชาติ ที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผลของสรรพสิ่งทั้งหลาย เรียกว่าความเป็นไปตามธรรมดา(ตถตา) เช่น สรรพสิ่งทั้งหลาย มีความเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไป(ตามธรรมดา) เป็นต้น
(๕) จิตนิยาม (ความแน่นอนของจิต) หมายถึง กฏธรรมชาติ ที่เกี่ยวกับการทำงานของจิต ฯลฯ

เมื่อทราบหลักการพื้นฐานดังนี้แล้ว เราลองพิจารณาดูว่า การที่คนผู้หนึ่งเกิดมาและยังสามารถมีชีวิตอยู่ได้นั้น ย่อมประกอบด้วยเหตุปัจจัยอันเนื่องกับนิยามต่างๆทั้งในแง่ของเหตุและผลอย่างมิอาจแยกจากกันไปได้ แต่คนหรือสิ่งชีวิตใดๆก็ตาม จะสามารถเกิดขึ้นและดำรงค์อยู่ได้หรือไม่อย่างไร ก็ย่อมต้องอาศัยเหตุปัจจัยตามนิยามต่างๆมากน้อยแตกต่างกันไป เช่น ในขณะปฏิสนธินั้น สภาวะความเป็นกรดด่างในช่องคลอดย่อมเป็นตัวกำหนด “เพศ” ของตัวอ่อน เนื่องจากความเป็นกรดด่างนั้นจะมีผลต่อพยาธิสภาพของสเปิร์มโครโมโซม x และ y กรณีอย่างนี้ ถือว่าความเป็นไปของมนุษย์(สเปิร์ม) ถูกควบคุมด้วย อุตุนิยาม
ลำดับต่อมาที่ควรทำความเข้าใจก็คือ การที่ธรรมชาติกำหนดว่า ไข่มีแต่โครโมโซม x เท่านั้น ในขณะที่หาก สเปิร์มโครโมโซม y เข้ามาผสมกับไข่ จะได้ตัวอ่อนเพศชาย และถ้า สเปิร์มโครโมโซม x เข้ามาผสมกับไข่ได้สำเร็จ จะได้ตัวอ่อนเพศหญิงนั้น ตรงนี้ถือว่าเป็นไปตาม พีชนิยาม กล่าวคือเป็นกฏทางธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตชนิดนี้ ซึ่งจะไม่เป็นอย่างอื่นไปได้เลย
ดังนั้น หากใครผู้ใดก็ตาม อ้างแต่ว่า สภาวะที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ล้วนแต่เกิดจากเหตุคือกรรมเก่าแต่เพียงอย่างเดียว คืออ้างแต่ กรรมนิยาม จึงจัดว่าเป็นพวกมิจฉาทิฐิ(ลัทธิกรรมเก่า) เนื่องจากในความเป็นจริงแล้ว ความเป็นไปของสรรพสิ่งล้วนแล้วแต่เกิดจากเหตุปัจจัยได้หลากหลายประการ ตัวอย่างเช่น การที่เราปวดหัว อาจเกิดมาจาก พีชนิยาม คือเป็นอาการของโรคทางพันธุกรรมก็ได้ หรืออาจเกิดจาก อุตุนิยาม คืออากาศร้อนก็เป็นได้ หรืออาจเกิดจาก จิตนิยาม กล่าวคือ ขณะนั้นจิตใจขุ่นมัวด้วย ความโกรธ ความโลภ หรือ ความหลง อย่างใดอย่างหนึ่งก็เป็นได้อีกเช่นกัน ซึ่งปรากฏการณ์อย่างหนึ่งอย่างใด อาจเกิดขึ้นโดยเหตุปัจจัยจากนิยามใดนิยามหนึ่ง หรือจากหลายๆนิยามรวมกันก็เป็นไปได้ทั้งสิ้น
ในกรณีของ กรรมนิยาม นั้น ไม่ว่าจะหมายถึง (๑) การกระทำ(กรรม) (๒) ผลของการกระทำ(วิบาก) และ (๓) การกระทำเพื่อความสิ้นไปแห่งกรรม(กัมมักขัย) ย่อมเป็นกระบวนที่ต้องประกอบไปด้วย เจตนา เสมอไป ถ้าปราศจากเจตนาแล้ว ไม่ถือว่าอยู่ในขอบเขตของ กรรมนิยาม กล่าวคือ การกระทำกรรมนั้นจะต้องเกิดขึ้นในขณะที่มี “จิตสำนึก” หากปราศจากจิตสำนึกเสียแล้วย่อมไม่ถือว่ามีเจตนาในการกระทำกรรม เช่น การกระทำด้วยจิตใต้สำนึก หรือ จิตไร้สำนึก ดังนี้เป็นต้น ถ้าท่านทั้งหลายยังมองไม่เห็นภาพ ก็ขอให้พิจารณตัวอย่างจาก มนุสสวิคคหปาราชิก(ปาราชิกสิกขาบท) ซึ่งกล่าวถึงกรณี ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก ด้วยเหตุคือฆ่ามนุษย์ ซึ่งแน่นอนว่าองค์ประกอบของปาณาติบาตนั้นก็ย่อมไม่ต่างไปจากที่ระบุไว้ใน วรรณนาจุลศีล กล่าวคือ ....

ปาณาติบาตนั้น มีองค์ ๕ คือ
๑. ปาโณ สัตว์มีชีวิต
๒. ปาณสญญิตา ตนรู้ว่าสัตว์มีชีวิต
๓. วธกจิตตํ จิตคิดจะฆ่า
๔. อุปกกโม มีความพยายาม ( ลงมือทำ )
๕. เตน มรณํ สัตว์ตายด้วยความพยายามนั้น

แม้กระนั้นก็ตาม สิ่งที่ท่านทั้งหลายพึงสังเกตก็คือ ในสิกขาบทปาราชิกนี้เองได้ปรากฏความใน อนาปัตติวาร กล่าวถึงกรณีที่ไม่ถือว่าต้องอาบัติ(อนาบัติ) ว่าประกอบไปด้วย ….

(๑) ภิกษุไม่จงใจ
(๒) ภิกษุไม่รู้
(๓) ภิกษุไม่ประสงค์จะให้ตาย
(๔) ภิกษุวิกลจริต
(๕) ภิกษุมีจิตฟุ้งซ่าน
(๖) ภิกษุกระสับกระส่ายเพราะเวทนา
(๗) ภิกษุอาทิกัมมิกะ เหล่านี้ ไม่ต้องอาบัติ ดังนี้แล (อ้างจาก พระวินัยปิฎก เล่ม ๑ มหาวิภังค์ ข้อ ๒๐๓)

ในกรณี ภิกษุอาทิกัมมิกะ นั้นย่อมชัดเจนว่า เมื่อยังไม่มีการบัญญัติว่าการกระทำนั้นเป็นความผิด ผู้กระทำก็ย่อมไม่มีความผิด ต่อเมื่อมีการบัญญัติ(สิกขาบท , ศีล ฯลฯ)ว่าผิด เมื่อนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า การกระทำดังกล่าวเป็นความผิด ซึ่งนี่ก็ย่อมตรงกับหลักการทางกฏหมายที่ระบุว่า ไม่สามารถเอาผิดย้อนหลังได้นั่นเอง
ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาหลักฐานทั้งในพระสูตรและพระวินัย ก็ปรากฏชัดอยู่ว่า ศีลกรรมบทนั้น เป็นสิ่งที่บัญญัติไว้สำหรับมนุษย์เท่านั้น หรือถ้าหากท่านผู้ใดพบหลักฐานว่า พระพุทธองค์บัญญัติ ศีลกรรมบท ไว้กับสัตว์เดรัจฉาน ปรากฏอยู่ ณ ที่ใด ก็กรุณานำมาแสดงให้เห็นจริงด้วย จักเป็นพระคุณต่อผู้ศึกษาพระศาสนา เป็นอย่างสูง
ในกรณี ภิกษุไม่จงใจ ภิกษุไม่รู้ และ ภิกษุไม่ประสงค์จะให้ตาย นั้นก็ชัดอยู่ว่าปราศจาก “เจตนา” ซึ่งเมื่อปราศจากเจตนา หรือเจตจำนงเสียแล้ว จึงเป็นอันพ้นไปจากขอบเขตของ กรรมนิยาม ดังนั้น เราจึงจะเอากฏแห่งกรรมมาพิจารณามิได้ ดังปรากฏความในพระวินัยปิฎก ข้อ มนุสสวิคคหปาราชิก(ปาราชิกสิกขาบท) อย่างชัดเจนว่า พระพุทธองค์ได้ทรงยกเว้นโทษปาราชิกให้
ส่วน ภิกษุวิกลจริต ภิกษุมีจิตฟุ้งซ่าน และ ภิกษุกระสับกระส่ายเพราะเวทนา เป็นกรณีของการกระทำโดยปราศจาก สัมปชัญญะ(ความรู้ตัวทั่วพร้อม, ความรู้ตระหนัก, ความรู้ชัดเข้าใจชัด ซึ่งสิ่งที่นึกได้) หรือพูดให้เข้าใจง่ายขึ้นด้วยคำจำกัดความทางจิตวิทยาก็คือ เป็นกรณีของการกระทำการต่างๆภายใต้สภาวะ “จิตใต้สำนึก” หรือ “จิตไร้สำนึก” ซึ่งในกรณีเช่นนี้ ไม่อาจนับว่ามีเจตนาในการทำกรรมตามหลัก กรรมนิยาม ได้เช่นกัน ซึ่งพระพุทธองค์ ก็มิทรงปรับอาบัติ(ปาราชิก)กับบุคคลที่ตกอยู่ในสภาวะดังกล่าว แม้ว่าการกระทำนั้นๆ จะส่งผลให้มีคนตายไปก็ตาม !!!!

คราวนี้ เมื่อเรามาพิจารณาถึงกรณี แมวกินหนู ก็จะพบว่า สัตว์เดรัจฉานทั้งหลายนั้น ไม่มีสิ่งที่เรียกว่า สัมปชัญญะ หรือ จิตสำนึก หากแต่ สัตว์เดรัจฉานเหล่านั้น สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วย “สัญชาตญาณ” เท่านั้น โดยคำว่าสัญชาตญาณนั้นก็คือ “จิตใต้สำนึก” หรือ “จิตไร้สำนึก” นั่นเอง หมายความว่า โดยธรรมชาติแล้ว สัตว์เดรัจฉานทั้งหลายจะแสดงพฤติกรรมต่างๆ ภายใต้กฏ อุตุนิยาม และ พีชนิยาม เป็นสำคัญ ไม่ว่าจะเป็น ….
(๑) สัญชาตญาณแห่งการดำรงชีวิต คือ ความต้องการอาหาร และ การสืบพันธุ์
(๒) สัญชาตญาณแห่งความตาย คือ การแสดงพฤติกรรมก้าวร้าว และ การทำลายล้าง

ขอให้ท่านทั้งหลายจงพิจารณาให้ดีเถิดว่า ขนาดว่าเป็นมนุษย์แท้ๆ แต่หากกระทำผิดในขณะที่อยู่ภายใต้สภาวะ วิกลจริต ฯลฯ หรือก็คือ เป็นการกระทำไปโดยแรงผลักดันของสัญชาตญาณจิตใต้สำนึก ก็ยังไม่มีการเอาผิดทั้งในทางโลกและทางธรรม
ดังนั้น จึงเป็นไปไม่ได้เช่นกัน ที่เราจะไปปรับเอาโทษกับสัตว์เดรัจฉาน ซึ่งแสดงพฤติกรรมต่างๆไปด้วยแรงผลักดันจากสัญชาตญาณของจิตใต้สำนึก ซึ่งอยู่ภายใต้กฏ อุตุนิยาม และ พีชนิยาม โดยไม่เกี่ยวกับหลัก กรรมนิยาม เลยแม้แต่น้อย !!!!

เมื่อพิจารณาข้อความจาก วาเสฏฐสูตร ซึ่งกล่าวถึงการโต้เถียงกันระหว่าง ภารทวาชมาณพ และ วาเสฏฐมาณพ โดย ภารทวาชมาณพกล่าวว่า บุคคลชื่อว่าเป็นพราหมณ์เพราะชาติ(หมายถึง ชาติกำเนิด) ส่วน วาเสฏฐมาณพกล่าวว่า บุคคลชื่อว่าเป็นพราหมณ์เพราะกรรม(หมายถึงกรรมบท) ซึ่งเมื่อเขาทั้ง ๒ เข้าไปกราบทูลถามถึงความข้อนี้กับพระพุทธองค์ ก็ได้รับคำตอบ ความว่า พืชและสัตว์เดรัจฉานทั้งหลายนั้น แม้จะปฏิญาณตนไม่ได้ เพศ(ลักษณะและอาการที่ปรากฏ)ของพืชและสัตว์เดรัจฉานทั้งหลายนั้น ก็สำเร็จด้วยชาติ เพราะมันมีชาติเป็นคนละอย่างๆ และตรัสสรุปในท้ายที่สุดว่า .... “เพศอันสำเร็จด้วยชาติมีมากมาย ในชาติ (สัตว์) เหล่านี้ฉันใด เพศในมนุษย์ทั้งหลายอันสำเร็จด้วยชาติมากมาย ฉันนั้น หามิได้”
จากนั้นพระพุทธองค์ก็ตรัสอธิบายถึงการจำแนกมนุษย์ว่า .... “เพศอันสำเร็จด้วยชาติ (ของมนุษย์) ย่อมไม่เหมือนในชาติ (ของสัตว์) เหล่าอื่น สิ่งเฉพาะตัวในสรีระ (ในชาติของสัตว์อื่น) นั้น ของมนุษย์ไม่มี ก็ในหมู่มนุษย์ เขาเรียกต่างกันตามชื่อ” กล่าวโดยสรุปก็คือ พระพุทธองค์ตรัสว่า เราสามารถจำแนกสัตว์ออกเป็นประเภทต่างๆได้ด้วยชาติกำเนิด แต่วิธีการแบบนี้ไม่ใช้กับมนุษย์ เนื่องจากแต่เดิมมานั้น มีการจำแนกมนุษย์ออกเป็นพวกๆด้วย “กรรม” แปลความได้ว่า สัตว์เดรัจฉานสามารถแยกแยะกันได้ด้วยชาติกำเนิด มีแต่มนุษย์เท่านั้นที่สามารถแยกแยะออกจากกันด้วย กรรมบท หรือ ศีล !!!!
หากท่านทั้งหลายยังไม่จุใจ หรือยังไม่อาจปลงใจเชื่อในข้อสรุปดังกล่าวนี้ได้ ก็ขอให้พิจารณาความจาก พระวินัยปิฎก เล่ม ๔ มหาวรรค ภาค ๑ ในกรณี นาคแปลงกายเป็นมนุษย์มาขอบวช ในประเด็นที่ว่า นาค นั้นคือสิ่งมีชีวิตประเภทไหน ขอยกไว้(เนื่องจากนอกประเด็น) แต่จะชี้ให้พิจารณาพุทธพจน์ตามที่ตรัสกับนาค(ผู้แปลงกายเป็นมนุษย์มาบวช) ดังนี้ว่า ....

“ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วได้ทรงประทานพระพุทธโธวาทนี้แก่นาคนั้นว่า พวกเจ้าเป็นนาคมีความไม่งอกงามในธรรมวินัยนี้เป็นธรรมดา ไปเถิดเจ้านาค จงไปรักษาอุโบสถในวันที่ ๑๔ ที่ ๑๕ และที่ ๘ แห่งปักษ์นั้นแหละ ด้วยวิธีนี้เจ้าจักพ้นจากกำเนิดนาค และจักกลับได้อัตภาพเป็นมนุษย์เร็วพลัน
ครั้นนาคนั้นได้ทราบว่า ตนมีความไม่งอกงามในพระธรรมวินัยนี้เป็นธรรมดา ก็เสียใจหลั่งน้ำตา ส่งเสียงดังแล้วหลีกไป ฯลฯ” (พระวินัยปิฎก เล่ม ๔ มหาวรรค ภาค ๑ ข้อ ๑๒๗)

ใจความจากพุทธพจน์ย่อมปรากฏชัดว่า ไม่ว่าแท้ที่จริงแล้วนาคนั้นจะเป็นสิ่งมีชีวิตประเภทใดก็ตาม แต่หากเขาต้องการจะเป็น “มนุษย์” แล้วไซร้ หนทางเดียวที่เป็นไปได้ก็คือ เขาก็จะต้องสมาทานศีล เท่านั้น
ซึ่งเมื่อพิจารณามาถึงขั้นนี้แล้ว ท่านทั้งหลายย่อมสามารถเข้าใจได้ไม่ยากว่า ยักษ์ก็ดี นาคก็ดี ตามที่ปรากฏความอยู่ในพระไตรปิฎกนั้น ที่แท้แล้วก็เป็นมนุษย์จำพวกหนึ่งนั่นเอง หากแต่พวกนี้เป็นมนุษย์ที่ป่าเถื่อนไร้ศีลธรรม จนผู้คนในสังคมสมัยนั้นถึงกับไม่ยอมรับว่าเป็น มนุษย์ เอาเลยทีเดียว กล่าวคือ พวกนาค หรือชนเผ่านาคานั้น เป็นพวกชนเผ่านักล่าหัวคน ซึ่งในสมัยนั้นถือว่าเป็นพฤติกรรมป่าเถื่อนจนไม่อาจยอมรับได้ว่าเป็นมนุษย์ ฉนั้น จึงไม่น่าแปลกใจแต่อย่างใด ที่เมื่อภิกษุทั้งหลายเห็นรอยสักพญานาคบนตัวของนาค(ผู้แปลงกายเป็นมนุษย์มาบวช) แล้วจึงได้เกิดความโกลาหลเป็นการใหญ่(ก็พบว่ามีมนุษย์กินคนนอนอยู่ในกุฏิ จะไม่ให้ตกใจได้อย่างไร) !!!!
ปัญหาที่เราจะต้องพิจารณาเพิ่มเติมอีกสักนิดก็คือ ท่านทั้งหลายเห็นว่า บรรดาหมู่แมวทั้งหลายในสากลโลกนี้ มันมีศักยภาพมากพอที่จะสามารถ สมาทานศีลอุโบสถ ได้อย่างพวกยักษ์หรือพวกนาค ตามที่ปรากฏความอยู่ในพระไตรปิฎก นั้นหรือไม่ (?)
กล่าวคือ ถ้าท่านทั้งหลายเห็นว่า หรือมีหลักฐานว่า แมว สามารถสมาทานศีลอุโบสถได้ นั่นก็จะมีค่าเท่ากับว่า ข้อสรุปของท่านพุทธทาสผิด แต่หากไม่พบว่ามีหลักการหรือหลักฐานเช่นว่านั้นเลย ก็ย่อมหมายความว่า คำของท่านพุทธทาสถูกต้องดีอยู่แล้ว หลักการและเหตุผลมันก็มีอยู่ง่ายๆ เพียงเท่านี้เอง หวังว่าจะสามารถเข้าใจได้ไม่ยาก !!!!


ความคิดเห็นที่ 45

ท่าน a235

เมื่อพระโพธิสัตว์ บำเพ็ญบารมี เสวยชาติเป็นพญาช้างบ้าง พญาวานรบ้าง เป็นนกคุ่มบ้าง ฯลฯ

รวมว่า กำเนิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน

ก็มีการรักษา "สัจจะ" ด้วย

ถ้า ศีล ก็ดี ธรรม ก็ดี ไม่มีความหมายต่อสัตว์เดรัจฉาน

แล้วพระโพธิสัตว์บำเพ็ญอะไร มีความหมายอะไร

หรือเอาง่ายๆ ถ้าไม่มีความหมาย ..

ตัดเรื่องการบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์ เมื่อกำเนิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน ออกไปจากคัมภีร์หรือการอ้างอิงของพุทธศาสนาเสียเลย ดีไหม?

จากคุณ : ระนาดเอก
เขียนเมื่อ : 13 พ.ย. 53 00:34:34


คนที่จะสามารถพูดและสรุปความ ดังที่เห็นอยู่ใน ความคิดเห็นที่ ๔๕ ได้นั้น ย่อมแสดงให้เห็นว่า เขาต้องเป็นบุคคลที่อ่อนด้อยในความรู้ความเข้าใจในส่วนที่เป็นพื้นฐานของพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง อีกทั้งยังต้องเป็นคนที่มีนิสัยกลิ้งกะล่อน อย่างนักตีฝีปากเป็นแน่ !!!!
ขอให้ท่านทั้งหลายจงพิจารณาให้ดีว่า ปาณาติบาตนั้นเป็นเรื่องของศีล แต่เผลอแผลบเดียว นายคนนี้ก็ได้โยงไปถึงสิ่งที่เรียกว่า “ธรรม” เสียแล้ว พร้อมทั้งไปลากเอาเรื่อง บารมี ๑๐ (คือ ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐาน เมตตา อุเบกขา)เข้ามาเกี่ยวพันด้วยอีก ซึ่งย่อมมีความจำเป็นที่จะต้องบอกกล่าวให้ทราบว่า ข้อความที่นายคนนี้กล่าวมาทั้งหมดมิได้เป็นความจริงเลย หากแต่เป็นเพียงแค่ การนึกคิดผูกโยงเอาเองมั่วๆ ตามประสาของคนกะล่อนแต่ก็โง่(เอามากๆ)
ดังที่ได้กล่าวอธิบายมามากพอสมควรแล้วว่า “ศีลกรรมบท” นั้น เป็นสิ่งที่บัญญัติไว้สำหรับมนุษย์หรือผู้ที่ต้องการเป็นมนุษย์ให้ได้ปฏิบัติตาม ซึ่งย่อมต่างกับสิ่งที่เรียกว่า “ธรรม” ซึ่งเป็นสากลแก่สรรพสิ่งและสรรพสัตว์ทั้งหลาย ดังนั้นการยกเอาเรื่อง สัจจะ ขึ้นมาอ้าง จึงเป็นการอ้างแบบผิดฝาผิดตัวเสียแล้ว ขอให้ท่านทั้งหลายพิจาณาดังนี้ว่า ในแง่ของศีลขั้นพื้นฐานนั้น เราย่อมรู้จักศีล ๕ กันเป็นอย่างดี ในสมัยต่อมาจึงได้มีการนำเอาธรรมบางข้อที่เข้าคู่กันกับศีลมาจัดวางเป็นหมวดขึ้น เช่น เบญจศีล คู่กับ เบญจธรรม เป็นต้น

เบญจศีล เบญจธรรม

เว้นฆ่าสัตว์ เมตตากรุณา
เว้นลักทรัพย์ สัมมาอาชีวะ
เว้นประพฤติผิดในกาม กามสังวร (สำรวมในกาม)
เว้นพูดปด สัจจะ
เว้นของเมา อัปปมาทะ (ไม่ประมาท)

เมื่อพิจารณาในแง่ของ(เบญจ)ธรรม จะพบว่ามีสิ่งเหล่านี้อยู่แล้วตามสมควรแก่สภาวะของความเป็นสัตว์เดรัจฉาน เช่น ความเมตตากรุณา ที่แม่สัตว์มีต่อลูกสัตว์ ซึ่งเป็นพฤติกรรมในระดับสัญชาตญาณจิตใต้สำนึก ในประเด็นสัมมาอาชีวะและกามสังวรนั้น ขอให้พิจารณาพุทธพจน์จาก โสณสูตร ที่ตรัสเปรียบเทียบ พราหมณ์ในสมัยนั้นกับสุนัข เอาไว้ดังนี้ว่า ....

“ได้ทราบว่าเมื่อก่อนพวกพราหมณ์ย่อมสมสู่เฉพาะพราหมณี ไม่สมสู่กะหญิงที่ไม่ใช่พราหมณี บัดนี้ พวกพราหมณ์ย่อมสมสู่กะพราหมณีบ้าง ย่อมสมสู่กะหญิงที่ไม่ใช่พราหมณีบ้าง บัดนี้ พวกสุนัข ย่อมสมสู่กะสุนัขตัวเมียเท่านั้นไม่สมสู่กะสัตว์ตัวเมียที่ไม่ใช่พวกสุนัข นี้เป็นธรรมของพราหมณ์ที่เก่าแก่ข้อที่ ๑บัดนี้ปรากฏในพวกสุนัข ไม่ปรากฏในพวกพราหมณ์”

“ได้ทราบว่า เมื่อก่อนพวกพราหมณ์ย่อมสมสู่กะพราหมณีที่มีระดูเท่านั้น ไม่สมสู่กะพราหมณีที่ไม่มีระดู บัดนี้พวกพราหมณ์ย่อมสมสู่กะพราหมณีที่มีระดูบ้าง ย่อมสมสู่กะพราหมณีที่ไม่มีระดูบ้าง บัดนี้พวกสุนัขย่อมสมสู่กะสุนัขตัวเมียที่มีระดูเท่านั้น ไม่สมสู่กะสุนัขตัวเมียที่ไม่มีระดู นี้เป็นธรรมของพราหมณ์ที่เก่าแก่ข้อที่ ๒ บัดนี้ปรากฏในพวกสุนัข ไม่ปรากฏในพวกพราหมณ์”

จากข้อความข้างต้นย่อมแสดงให้เห็นธรรมในข้อที่เรียกว่า กามสังวร (สำรวมในกาม) ในสัตว์ทั้งหลาย กล่าวคือ พฤติกรรมใดก็ตามที่ถือได้ว่าเป็นธรรมชาติตามปกติของสัตว์เดรัจฉาน มันก็ยังคงปฏิบัติตามธรรมข้อนั้นอยู่ไม่เคยเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งต่างจากคนอย่างชัดเจน ฉนั้นแล้ว เมื่อใครก็ตาม เห็นหมาแมวติดสัตว์กันอยู่ ก็ย่อมมิอาจกล่าวตำหนิสัตว์เหล่านั้นว่า “มักมากในกาม” ได้เลย เพราะนั่นเป็น “ธรรม” ของพวกเขา เป็น “ธรรม” ของสัตว์เดรัจฉาน ซึ่งย่อมเป็นไปตามแรงผลักดันของสัญชาตญาณจิตใต้สำนึก ภายใต้กฏ อุตุนิยาม และ พีชนิยาม ดังที่สัตว์เดรัจฉาน ย่อมทำการผสมพันธุ์กัน ก็แต่เฉพาะในฤดูผสมพันธุ์เท่านั้น ซึ่งนั่นก็เป็นไปตามกฏธรรมชาติ ต่างจากมนุษย์ที่สามารถเสพเมถุนกันได้อย่างไม่จำกัดกาลเวลาและเงื่อนไขใดๆ(ตามแต่ตัณหาราคะจะจูงไป) แปลความได้ว่า คุณจะเอาศีลกรรมบทในระดับจิตสำนึกมาจับผิด หรือเอาผิดกับสัตว์เหล่านั้นมิได้เป็นอันขาด ถ้าหากคุณยังไม่อยากได้ชื่อว่าเป็นคนบ้า !!!!

“ทราบว่าเมื่อก่อนพวกพราหมณ์ย่อมไม่ซื้อไม่ขายพราหมณี ยังการอยู่ร่วมกันให้เป็นไปด้วยความรักผูกพันบัดนี้พวกพราหมณ์ย่อมซื้อบ้าง ย่อมขายบ้างซึ่งพราหมณี ยังการอยู่ร่วมกันให้เป็นไปด้วยความรักความผูกพัน บัดนี้ พวกสุนัขย่อมไม่ซื้อไม่ขายสุนัขตัวเมีย ยังการอยู่ร่วมกันให้เป็นไปด้วยความรักความผูกพัน นี้เป็นธรรมของพราหมณ์ที่เก่าแก่ข้อที่ ๓ บัดนี้ย่อมปรากฏในพวกสุนัข ไม่ปรากฏในพวกพราหมณ์”

หรือในกรณีของ สัมมาอาชีวะ นั้นจะเห็นได้ว่า สัตว์เดรัจฉานทั้งหลายย่อมทำมาหากินไปตามปกติของตนภายใต้กฏธรรมชาติ คือ อุตุนิยาม และ พีชนิยาม เท่านั้น นอกไปจากการเล็มหญ้าแล้ว คุณย่อมมิอาจเห็นควายกลายมาเป็นสัตว์นักล่าไปได้ การที่เสือสิงห์เป็นสัตว์นักล่า โดยมีแร้งเป็นสัตว์กินซาก ฯลฯ เหล่านี้เป็นกฏธรรมชาติ ที่มิใช่ กรรมนิยาม ดังนั้น ถ้าใครมุ่งแต่ยก กรรมนิยาม เข้ามาจับผิดในทุกๆกรณี จึงเท่ากับเป็นคนไร้สติและขาดปัญญาโดยสิ้นเชิง เนื่องจาก กรรมนิยาม มิใช่ทั้งหมดของกฏธรรมชาติ หากแต่เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ดังการที่มีการประกอบอาชีพค้าขายสิ่งมีชีวิตพวกเดียวกันเอง ซึ่งเป็นมิจฉาชีพนั้น ย่อมมิอาจพบได้ในสัตว์เดรัจฉานเลย แต่ก็น่าแปลกเช่นกันว่า พฤติกรรมเลวๆเช่นนี้กลับพบอยู่ในหมู่มนุษย์ที่อ้างตนว่าเป็นสัตว์ประเสริฐ .... หึหึหึหึ !!!!
ฉนั้น หากวันใดที่ท่านพบว่า มีแมวจรจัด เข้ามาคาบปลาทูของท่านไป ก็ขอทำความเข้าใจเอาไว้เสียตรงนี้ว่า อย่าได้จินตนาการเลยเถิดไปว่า แมวนั้นกำลังทำการลักทรัพย์ ซึ่งเป็นการกระทำผิดศีลข้อ ๒ เป็นอันขาด เพราะศีลนั้นมีไว้สำหรับมนุษย์และผู้ที่ต้องการเป็นมนุษย์เท่านั้น การคาบปลาทูไปจากบ้านคนอื่นของแมว ย่อมนับว่าเป็นอาชีพตามธรรมชาติของพวกเขา เนื่องจากสัตว์เหล่านั้น ย่อมไม่อาจทราบ และไม่อาจเข้าใจใน “สิทธิ” เหนือทรัพย์สินของเอกชน ตามหลักการในลัทธิทุนนิยมเสรีประชาธิปไตย ตามที่ได้สมมุติบัญญัติ ยอมรับและเข้าใจกันเองในหมู่มนุษย์นั้นได้เลย !!!!

อัปปมาทะ (ไม่ประมาท) นั้นเป็น สัญชาตญาณแห่งการดำรงชีวิต ของสัตว์ทั้งหลายอยู่แล้วโดยธรรมชาติ แต่นั่นก็ย่อมมีความแตกต่างกับ อัปปมาทะ ของมนุษย์อยู่บ้างในแง่ที่ว่า สัตว์ไม่มีธรรมข้อนี้ในระดับจิตสำนึก หรือกล่าวอีกแบบก็คือ สัตว์เดรัจฉานไม่มีจิตสำนึก ฉนั้น อัปปมาทะ จึงมิอาจพัฒนาขึ้นมาให้เจริญงอกงามเทียบเท่ามนุษย์ได้ หากแต่ อัปปมาทะ ของสัตว์เดรัจฉานจะปรากฏอยู่คู่กับ สัญชาตญาณแห่งความตาย คือ การแสดงพฤติกรรมที่ก้าวร้าว ในลักษณะแห่งการทำลายล้าง(เพื่อเอาชีวิตรอด)เท่านั้นเอง

ในกรณีของ สัจจะ ตามที่อ้างถึงนั้น ประการแรกที่ควรทราบก็คือ สัจจะ เป็น ธรรม มิใช่ ศีล ซึ่งตามหลักการก็ชัดเจนอยู่แล้วว่า ศีลกรรมบท เป็นของมนุษย์เท่านั้น แต่ ธรรม เป็นของสรรพสัตว์ทั้งหลาย ดังนั้น การที่ปรากฏว่ามี (โพธิ)สัตว์ บำเพ็ญบารมีธรรม จึงย่อมมิได้เป็นการกระทำที่ผิดหลักการแต่อย่างใด พูดง่ายๆก็คือ สัตว์เดรัจฉาน ประพฤติธรรมได้ครับ หากแต่ไม่สามารถ สมาทานศีลอุโบสถ ได้เท่านั้นเอง ในความเป็นจริงก็คือ เราไม่อาจกล่าวได้เลยว่า สัตว์เดรัจฉานไม่มีสัจจะ และคงไม่มีมนุษย์คนใด บ้าบอจนถึงขนาดกล่าวว่า มีสัตว์ตัวหนึ่งตัวใดในโลกนี้ “พูดปด” กระมัง นกแก้วนกขุนทองมันก็พูดไปตามประสานกแก้วนกขุนทอง คุณจะไปจับผิดจับเท็จเอากับมันไม่ได้หรอก เพราะถ้าคุณทำเช่นนั้น ก็เท่ากับการประจานตนเองต่อสาธารณชนว่า คุณเป็นคนโง่เขลาเบาปัญญา หรือไม่ก็เป็นคนบ้าใบ้ ไร้สติ เท่านั้นเอง
ในเมื่อสัตว์เดรัจฉาน ไม่มีศักยภาพมากพอที่จะสมาทานศีลได้ เราก็ไม่สามารถเอาบุญบาป เวรกรรมเข้าไปจับพฤติกรรมของสัตว์เดรัจฉานได้ เพราะภพภูมิของสัตว์เดรัจฉาน เป็นภพภูมิแห่งวิบาก(การแสดงผลของกรรม) โดยที่ไม่เอื้อต่อการกระทำกรรม(โดยเจตนา) หรือ และการกระทำเพื่อความสิ้นไปแห่งกรรม(กัมมักขัย) ได้เหมือนกับภพภูมิของมนุษย์ ทั้งนี้ ท่านทั้งหลายย่อมทราบดีอยู่แล้วว่า สภาพที่ไม่เอื้อต่อการกระทำกรรม(โดยเจตนา) ฯลฯ มิใช่มีแค่เพียง ภพภูมิของสัตว์เดรัจฉานเท่านั้น หากแต่สภาวะเช่นนี้ เป็นเหมือนกันหมดในสังสารวัฏ ยกเว้นอยู่เพียงแห่งเดียวคือ มนุษยโลก ดังที่เหล่าเทวดาทั้งหลายย่อมถือกันว่า ภพภูมิมนุษย์เป็น สุคติภูมิ ของพวกเขา เนื่องจากสามารถทำกรรม(บท) คือทำบุญทำทานได้ สามารถปฏิบัติธรรมเพื่อความพ้นทุกข์ได้

กล่าวโดยสรุปก็คือ การบำเพ็ญสัจจะบารมีของ(พระโพธิ)สัตว์ มิได้เกี่ยวข้องกับเรื่องของ บุญบาป อันเนื่องกับ ศีลกรรมบท แต่อย่างใดเลย การที่นายคนนั้นยกขึ้นมาอ้าง จึงย่อมเท่ากับเป็นการประจานตนเองว่า เป็นคนโง่อวดฉลาด ซึ่งดีแต่ตีฝีปากไปวันๆ อย่างที่หาสาระอะไรมิได้ ซ้ำร้ายยังมีพฤติกรรมกล่าวตู่พระธรรมวินัย และกล่าววาจาจาบจ้วงพระมหาเถระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ อย่างปราศจากหลักฐานและเหตุผลที่ถูกต้องชอบธรรม กล่าวคือ โจมตีกล่าวร้ายต่อท่านพุทธทาส ด้วยความคิดความอ่านของตน(อัตตโนมัติ)แต่เพียงอย่างเดียว โดยที่มิได้มีการสอบสวนกับพระสูตรพระวินัยตามหลักมหาปเทส ๔ เลยแม้แต่น้อย ซึ่งถือได้ว่า เป็นการกระทำที่ไร้หิริโอตตัปปะ และขาดความยุติธรรมต่อผู้ที่ถูกกล่าวหาเป็นอย่างยิ่ง

อธิบายขยายความมามากพอสมควรแล้ว ก็ได้แต่หวังว่า ท่านทั้งหลายจะสามารถเข้าใจได้ตามสมควร ส่วนใครผู้ใดก็ตามที่ยังไม่ยอมรับคำอธิบายนี้ ก็ขอให้บุคคลผู้นั้น จงกล่าวคัดค้านคำของผม โดยยกพุทธพจน์ขึ้นอ้าง อย่างปราศจากการพูดเองเออเองในลักษณะการตีฝีปากตามที่เคยเป็นมาแต่กาลก่อน .... ก็แล้วกัน !!!!



Ritti Janson



http://www.oknation.net/blog/SiamBhikhunis

http://rittijanson.blogspot.com/

ธรรมะ แมวกินหนู (กรุณาทำความเข้าใจ ให้ตรงกันเสียก่อน)

อ้างจาก กระทู้ PANTIP_COM Y9900813 มาดูเทวดากินมังคุด ของคุณระนาดเอกกัน มาดู เร็ว เร๊วๆๆ

ความคิดเห็นที่ 38

มันคงเป็นเวรกรรมของท่านพุทธทาส ที่จะต้องมีไอ้พวก "กระบือริมคอก"
ผลัดเปลี่ยนเวียนหน้ากันเข้ามาทำให้ท่านต้องถูก "ขุด" ขึ้นมา อยู่เรื่อย

พระคุณท่านสหธรรมคนนี้เห็นเคยบอกว่า ถ้าพบเจอระนาดที่ไหน จะหนีไปให้ไกล
ถ้าระนาดยังเสือกเข้ามาใกล้อีก จะหนีไปผูกคอตาย ไม่มาที่พันทิปอีกเลย

ก็อย่างว่า .. พวกเทวดามังคุด ละมุดลำไย
ทนกลิ่นมนุษมนาเดินดินอย่างเราไม่ได้
เป็นเทวดาไม่อาบน้ำ กลิ่นก็ยังหอม
ทั้งไม่ต้องอ่านหนังสือ คนไทยอ่านปีละหกบรรทัด มากไป เป็นเทวดา สบายยย
ไม่ต้องคิดอะไร ไม่เคยได้ใช้อะไรคิด สบ๊ายสบาย หัวก็โล้งโล่ง ก๊องๆ

เอ้า เข้าประเด็น

สหธรรมเย้ยหยันคุณศิษย์พระป่าที่ระบุว่า "ท่านพุทธทาสเป็นมิจฉาทิฏฐิ"

ฟังว่าคุณสหธรรมก็นับถือท่านปราโมทย์อยู่ ใช่มั้ย
เห็นทำสะดิ้งเกลียดคนใช้วาจาหยาบ
แต่สมเด็จพระก๋งสหธรรม ช่างพูดจาไพเราะจังเลย
ด่าผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับพระปราโมทย์ว่าเป็นไอ้พวก "อมนุษย์" !
เจ๊ตเป็ด! ถ้ากูเป็นหมาได้นี่ มีกระหยิ่มเลยนะเนี่ย อมนุษย์อยู่ต่ำกว่าเราอีก โฮ่งๆ ฮ่า ดีใจจัง

ลองเอาคำของท่านพุทธทาสต่อไปนี้ ไปถามพระปราโมทย์ท่านดูว่า
อย่างนี้เป็นสัมมาทิฏฐิหรือมิจฉาทิฏฐิ
ที่ต้องแนะให้กลับไปถามพระอาจารย์
ก็เพราะคุณสหธรรมสารภาพว่าตัวเองโง้โง่
เฮ้ย ไม่ใช่ คือคุณบอกว่า..
คุณน่ะโตเป็นควายแล้ว แต่สติปัญญายังแค่เด็กประถม

ห๊าา ควายมีสติปัญญาเท่ากับเด็กประถม!!

โอ้โห ลิงชิมแปนซีจ๋อยไปเลย
คุณฉลาดกว่าลิงซะอีก เป็นควายอัจฉริยะจริงๆ
คงจะดวดเป๊ปตีนทุกวัน

ทว่า แม้จะฉลาดเป็นควายฉกรรจ์ยังไงก็ตามที
แต่ในเมื่อคนมันมีภูมิแค่เด็กประถม ผมก็เลยต้องแนะให้ไปถามพระอาจารย์โน่นไง
กระนั้น ถ้าคุณสหธรรมจะลองพิจารณาดูเอง ก็ได้ ลองดู

"แมวเห็นหนูก็จะตะครุบกิน นี่พวกที่เถรตรงก็ว่าแมวบาป แม้แต่สัตว์เดรัจฉานก็บาป อย่างนี้ เราก็มีความเห็นด้วยไม่ได้ แมวไม่มีเจตนาฆ่าหนู มันจะกินเท่านั้น แต่พวกอาจารย์บางพวก บางกลุ่มเขาจัดให้แมวนี้เป็นบาป เป็นเวรตกนรก ผูกพันกันกับหนูกลับไปกลับมา เรียกว่า มันขาดศีล แต่อาตมาเห็นว่า แมวไม่มีเจตนาฆ่า มันมีความรู้สึกแต่จะกินเท่านั้นแหละ เห็นหนูก็คือเห็นอาหาร เป็นอาหารก็กินเท่านั้นแหละ " 1
. . . . . . . . . .
เอ๊ะ! เสือกินคนก็ไม่บาปน่ะซี

พระพุทธเจ้าแสดงหลักการในการล่วงกรรมบถไว้ว่า ศีลปาณาฯ มีองค์ศีล ๕ ประการ
ไม่มีประการใดเลยที่ยกเว้นว่า สัตว์เดรัจฉานเบียดเบียนชีวิตสัตว์เดรัจฉานด้วยกัน ไม่บาป
สัตว์เดรัจฉานทำบาปแล้วไม่บาป เพราะว่าสัตว์เดรัจฉานไม่ใช่มนุษย์ ?
หรือก็คือ ศีล กรรมบถ มีไว้สำหรับมนุษย์
ถ้าไม่ใช่มนุษย์ ทำบาปแล้วไม่บาป??

ถ้าเช่นนั้น ยักษ์ตนหนึ่งมาพบพระสารีบุตรเข้านิโรธสมาบัติ
ยักษ์เอากระบองตีศีรษะพระสารีบุตร ทำไมจึงบาปจนธรณีสูบลงนรกอเวจีทันที !

น่าคิดว่า หรือท่านพุทธทาส ไม่เคยมองในแง่ของ "สัตว์" อื่น ที่นอกจากมนุษย์และเดรัจฉาน
ตรรกะของท่านจึงมีช่องโหว่ ?

แค่นี้ก็พอแล้วมั้ง พ่อกระบองปอสือ
มากกว่านี้ เดี๋ยวเป๊ปตีนเอาไม่อยู่
ฉะนั้นแล้ว คุณคิดว่าการที่คุณศิษย์พระป่าลงความเห็นว่าท่านพุทธทาสเป็นมิจฉาทิฏฐิ
ยังจะเป็นการกล่าวเกินจริงไปอีกมั้ย

คุณศิษย์พระป่าไปกล่าวหาท่านพุทธทาส นั่นก็เพียงแค่ท่านพุทธทาส
ซึ่งยังมีความด่างพร้อยปรากฏอยู่ในผลงานของท่านพุทธทาส
ถ้าท่านไม่มีความด่างพร้อยผิดพลาดเลย
แล้วพวกศิษย์ในยุคนี้ เขาต้องไปตามแก้ไขเซ็นเซอร์ผลงานของท่านพุทธทาสออกไปตั้งมากมาย ทำไมกัน

หรือว่าคุณสหธรรมไม่รู้เรื่องเลยว่า ผลงานของท่านพุทธทาสถูกชำระล้างโดยพวกศิษย์รุ่นหลังไปมากแล้ว

ขนาดที่แก้ไขแล้ว ก็ยังมีหลุดออกมาอีกมาก
ยกมาให้ดูก็ได้ ที่ท่านพุทธทาสไปกล่าวตู่พระพุทธเจ้า

“ทีนี้ อาตมา อยากจะชี้แจงต่อ ถึงข้อที่ว่า ทำไม คำว่า เทวดา หรือ คำว่า สวรรค์นี้ มามีอยู่ในพระพุทธภาษิต และอยู่ในพระไตรปิฎก โดยตรง. ทั้งนี้ ก็เพราะว่า ในประเทศอินเดีย สมัยนั้น มีความเชื่อเรื่องเทวดา เรื่อง นรก เรื่องสวรรค์ นี้อยู่โดยสมบูรณ์แล้ว มีรายละเอียดชัดเจน เหมือนที่กล่าวนี้ ทุกอย่างมาแล้ว ตั้งแต่ก่อนพระพุทธเจ้า บังเกิดขึ้น พอพระพุทธเจ้า มีขึ้นในโลก เรื่องเหล่านี้ มันมีอยู่แล้ว จะไปเสียเวลาหักล้าง ก็ไม่ไหว พิสูจน์ให้คนโง่ เห็นไม่ได้ เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้า ท่านจึงพลอยตรัส เอออวย ไปตามคำที่พูดๆ กันอยู่ แต่แล้ว ก็ทรงแสดง สิ่งที่ดีกว่า ให้เขาเลิกละ ความสนใจ หรือ ติดแน่น ในสิ่งนั้นเสีย ให้เลิกละ ความติดแน่น ในนรก ในสวรรค์ ในเทวโลก พรหมโลก เหล่านั้นเสีย" 2

ขอถามว่า คุณสหธรรมยอมรับการกล่าวตู่พระพุทธเจ้า ได้ลงคอหรือ

คุณสหธรรมไปหัวเราะเยาะคุณศิษย์พระป่า
แล้วโมฆบุคคลอย่างคุณ ไปจาบจ้วงพระอานนท์ว่าไป "แอบฟัง" พระพุทธเจ้า บนดาวดึงส์?!
คุณทราบมั้ยว่าตลอดพระชนม์ของพระพุทธเจ้า
พระองค์ไปสู่ดาวดึงส์เพื่อแสดงธรรมกี่ครั้ง?

มีครั้งเดียวเท่านั้น คือครั้งที่เสด็จไปแสดงพระอภิธรรมโปรดพระพุทธมารดานั่นแหละ

แม้แต่ "อุทุมพลิกาสูตร" ก็ทรงแสดงในครั้งที่ไปโปรดพระพุทธมารดานั่นเอง ทรงสงเคราะห์เทวดากำลังจะหมดบุญ

และไม่ใช่แต่เฉพาะพระพุทธเจ้า โคตมะ ของพวกเราเท่านั้น
แม้พระพุทธเจ้าในอดีต ก็มีพุทธประเพณี เสด็จไปแสดงพระอภิธรรมปิฎกโปรดอดีตพระพุทธมารดาเหมือนกัน
ดังที่คุณศิรัสพลยกพระไตรปิฎกมาให้ดูแล้ว
ที่ต้องย้ำคือ พระสูตรที่คุณศิรัสพลนำมาแสดงนั้น เป็น "พระพุทธพจน์ตรัสเองจากพระโอษฐ์" ด้วย

พระอานนท์ไม่จำเป็นต้องไปแอบฟังพระพุทธเจ้าทรงแสดงพระอภิธรรมบนดาวดึงส์เลย
และก็ไม่มีพระสูตรใดกล่าวว่าพระอานนท์ไปสู่ดาวดึงส์ อย่างที่คุณสหธรรม ยัดข้อหาให้พระอานนท์ด้วย!

กล่าวให้ชัดก็คือ ไม่มีพระสาวกใด ได้ตามเสด็จไปสู่ดาวดึงส์

การไปสู่ดาวดึงส์นั้น เป็น "พุทธกิจส่วนพระองค์" ของพระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์

(ที่จริงมีเหตุผลเบื้องลึกกว่านั้น เกี่ยวแก่การแยกกายไปทำกิจพร้อมกัน ซึ่งเป็นวิสัยของพระพุทธเจ้า - พระสาวกไม่มีความสามารถทำได้(ทำนองยมกปาฏิหาริย์))

ไม่ต้องห่วงว่า พระอานนท์จะต้องไปแอบฟังพระพุทธเจ้าแสดงธรรมที่ไหน
ในทางตรงกันข้าม พระพุทธเจ้านั่นแหละ เมื่อเสด็จไปแสดงธรรมที่ใดให้แก่บุคคลใดก็ตาม
ต้องทรงกลับมาแสดงธรรมนั้น "ซ้ำ" ให้เป็นการเฉพาะแก่พระอานนท์ ตามที่พระอานนท์ต้องการเสมอ
เพราะพระอานนท์ทูลขอเงื่อนไขนี้ให้พระพุทธองค์ทรงรับปาก เมื่อครั้งพระอานนท์จะบวช

ดังนั้น พระอานนท์จึงเป็นบุคคลที่มีโอกาสได้เรียนพระธรรมจากพระพุทธเจ้าไว้มากที่สุดยิ่งกว่าพระสาวกรูปใด
อีกทั้งการที่ทรงเสด็จไปแสดงพระอภิธรรมปิฎกแก่อดีตพระพุทธมารดาบนดาวดึงส์
พระสารีบุตร เป็นผู้ไปรับเสด็จพระพุทธเจ้าทุกวัน ตลอดเวลาสามเดือน
และพระองค์ทรงเลือกแสดงพระอภิธรรมแก่พระสารีบุตร ก่อนแสดงให้แก่พระอานนท์
หลังจากนั้น พระอานนท์จึงได้ศึกษาพระอภิธรรมจากพระสารีบุตร

ผมจึงแปลกใจและสังเวชใจว่า คุณสหธรรมเอา "อะไร" ไปกล่าวตู่จาบจ้วงพระอานนท์!
หาว่าพระอานนท์ต้องไป "แอบฟัง" พระพุทธเจ้าแสดงธรรม ?!

ระหว่างคุณศิษย์พระป่าที่ลงความเห็นว่า ท่านพุทธทาส เป็นมิจฉาทิฏฐิ - เป็นความจริงโดยจำนนต่อหลักฐานให้เห็นคาตาอยู่
เทียบกับคุณสหธรรมที่กล่าวตู่จาบจ้วงพระอานนท์ หาว่าพระอานนท์ไป "แอบฟัง" พระพุทธเจ้าแสดงธรรม
มีพระไตรปิฎกให้เป็นหลักฐานอยู่ว่า พระอานนท์ไม่มีความจำเป็นต้องไป "ครูพักลักจำ" แอบฟังพระพุทธเจ้าในที่ใดเลย

(ตรงนี้เชื่อว่าถ้าท่านฐานาฐานะผ่านมาพบเข้า ท่านก็จะเมตตาไปค้นพระสูตรที่พระอานนท์ได้สิทธิพิเศษจากพระพุทธเจ้า มาให้ชาวเราดูเอง)

ผมรู้สึกขำในการพรีเซ้นท์ท่านพุทธทาสของคุณสหธรรม
คงคิดว่าโก้มากที่ "อ้างฝรั่ง"

การจะยกย่องท่านพุทธทาส หรือยกย่องใคร หรือจะวิพากษ์ใครก็ตาม
เราก็สามารถค้นคว้าด้วยตัวเราเอง พึ่งปัญญาตนเอง
โดยการไปสืบค้นถึงหลักแหล่งที่มาของข้อมูล เช่นจากผลงานของท่านพุทธทาส ที่ท่านทำไว้เอง

ไม่ต้องไปอ้างฝรั่งอั้งม้อจากไหนมาการันตี

การได้รับรางวัลจาก UNESCO นั้น ก็เรื่องหนึ่ง
มันจะสำคัญมากไปกว่า "ความจริง" ที่ปรากฏอยู่ในผลงานของท่านเอง หรือไง
รางวัลของ UNESCO นั้น จะทำให้สิ่งที่ท่านพุทธทาสแสดงไว้ผิดไปจากหลักการที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง
กลายเป็นสิ่งที่ถูกต้องขึ้นมาได้อย่างนั้นหรือไง

ท่านพุทธทาสบอกว่า พระอภิธรรมปิฎก เป็นมังคุด กินไม่ได้ ให้โกยทิ้งทะเลให้หมด
คุณสหธรรมก็ทำยิ้มย่องบอกทำนองว่า
ต้องไปหาปราชญ์สักคนนึง เอาที่ยิ่งใหญ่เลอเลิศขนาด UNESCO ต้องให้รางวัลยิ่งใหญ่กว่า
ให้ปราชญนั้นมีชื่อเสียงเหนือกว่าท่านพุทธทาส
มาพูดว่า "พระอภิธรรมปิฎกเป็นพุทธพจน์" หักล้างท่านพุทธทาส..

จึงจะเชื่อถือได้ ??!?

โธ่ .. ไอ้ทิ้งมังคุด นี่คุณโยนมหาปเทสสี่ของพระพุทธเจ้าทิ้งไปด้วย ใช่มั้ย ?!
_______________________________________
1 หนังสือดอกโมกข์ ฉบับพิเศษ พุทธทาสวจนา
2 เทวดามีจริงหรือ โดย พุทธทาสภิกขุ

จากคุณ : ระนาดเอก
เขียนเมื่อ : 12 พ.ย. 53 05:06:55



กรุณาทำความเข้าใจ
....ให้ตรงกันเสียก่อน !!!!...


ประเด็นที่ ๑

ท่านพุทธทาสบอกว่า พระอภิธรรมปิฎก เป็นมังคุด กินไม่ได้ ให้โกยทิ้งทะเลให้หมด
คุณสหธรรมก็ทำยิ้มย่องบอกทำนองว่า
ต้องไปหาปราชญ์สักคนนึง เอาที่ยิ่งใหญ่เลอเลิศขนาด UNESCO ต้องให้รางวัลยิ่งใหญ่กว่า
ให้ปราชญนั้นมีชื่อเสียงเหนือกว่าท่านพุทธทาส
มาพูดว่า "พระอภิธรรมปิฎกเป็นพุทธพจน์" หักล้างท่านพุทธทาส..

จึงจะเชื่อถือได้ ??!?

โธ่ .. ไอ้ทิ้งมังคุด นี่คุณโยนมหาปเทสสี่ของพระพุทธเจ้าทิ้งไปด้วย ใช่มั้ย ?!


ตอบ ....

กถาว่าด้วยมหาปเทส ๔

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ….

(๑) อาวุโส ข้อนี้ข้าพเจ้าได้ฟังมา ได้รับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสั่งสอนของพระศาสดา
(๒) สงฆ์พร้อมทั้งพระเถระ พร้อมทั้งปาโมกข์ อยู่ในอาวาสโน้น ข้าพเจ้าได้ฟังมา ได้รับมาเฉพาะหน้าสงฆ์นั้นว่านี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสั่งสอนของพระศาสดา
(๓) ภิกษุ ผู้เป็นเถระมากรูปอยู่ในอาวาสโน้น เป็นพหูสูต มีอาคมอันมาถึงแล้ว เป็นผู้ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกาข้าพเจ้าได้ฟังมา ได้รับมาเฉพาะหน้าพระเถระเหล่านั้นว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสั่งสอนของพระศาสดา
(๔) ภิกษุ ผู้เป็นเถระอยู่ในอาวาสโน้น เป็นพหูสูต มีอาคมอันมาถึงแล้ว เป็นผู้ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา ข้าพเจ้าได้ฟังมา ได้รับมาเฉพาะหน้าพระเถระนั้นว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสั่งสอนของพระศาสดา

ดังนี้ พวกเธอไม่พึงชื่นชมไม่พึงคัดค้าน คำกล่าวของภิกษุนั้น ครั้นแล้วพึงเรียนบทและพยัญชนะเหล่านั้นให้ดี แล้วสอบสวน ในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย

(๑)ถ้าสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย ลงในพระสูตรไม่ได้ เทียบเคียงในพระวินัยไม่ได้ พึงถึงความตกลงในข้อนี้ว่า นี้มิใช่คำของพระผู้มีพระภาคแน่นอน และภิกษุนี้จำมาผิดแล้ว ดังนั้น พวกเธอพึง ทิ้งคำกล่าวนั้นเสีย
(๒) ถ้าเมื่อสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย ลงใน พระสูตรได้เทียบเคียงในพระวินัยได้ พึงถึงความตกลงในข้อนี้ว่า นี้เป็นคำ สั่งสอนของพระผู้มีพระภาคแน่นอน และภิกษุนี้จำมาถูกต้องแล้ว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงทรงจำมหาประเทศข้อที่หนึ่งนี้ไว้ ฯ(อ้างจาก มหาปรินิพพานสูตร )

ในกรณีนี้ ถ้านายระนาดเอกยึดถือในหลักมหาปเทส ๔ อย่างเคร่งครัดจริงดังปากว่า นั่นย่อมหมายความว่า นายคนนี้สามารถยกพุทธพจน์จากพระสูตรพระวินัยขึ้นมาอ้างได้จริงว่า ....
(๑) พระพุทธองค์ตรัสว่า พระองค์ได้ตรัสอภิธรรมปิฎก ณ ดาวดึงส์ จริง (เอาไว้ที่ไหน)
(๒) พระพุทธองค์ตรัสว่า อภิธัมเม นั้นหมายถึง อภิธรรมปิฎก (เอาไว้ที่ไหน)
เพราะจากข้อเท็จจริงกลับปรากฏว่า นายระนาดเอกและคณะ ไม่อาจหาหลักฐานมาแสดงให้เห็นได้จริงเลยนี่ครับ โดยส่วนใหญ่มักอ้างข้อความจากอรรถกถาหรือไม่ก็อ้างคัมภีร์อปทาน(ซึ่งก็มิใช่พุทธพจน์) ซึ่งมิอาจนำมาอ้างเพื่อโต้แย้งพุทธพจน์ได้ !!!!



ประเด็นที่ ๒

คุณสหธรรมไปหัวเราะเยาะคุณศิษย์พระป่า
แล้วโมฆบุคคลอย่างคุณ ไปจาบจ้วงพระอานนท์ว่าไป "แอบฟัง" พระพุทธเจ้า บนดาวดึงส์?!
คุณทราบมั้ยว่าตลอดพระชนม์ของพระพุทธเจ้า
พระองค์ไปสู่ดาวดึงส์เพื่อแสดงธรรมกี่ครั้ง?

มีครั้งเดียวเท่านั้น คือครั้งที่เสด็จไปแสดงพระอภิธรรมโปรดพระพุทธมารดานั่นแหละ

แม้แต่ "อุทุมพลิกาสูตร" ก็ทรงแสดงในครั้งที่ไปโปรดพระพุทธมารดานั่นเอง ทรงสงเคราะห์เทวดากำลังจะหมดบุญ

และไม่ใช่แต่เฉพาะพระพุทธเจ้า โคตมะ ของพวกเราเท่านั้น
แม้พระพุทธเจ้าในอดีต ก็มีพุทธประเพณี เสด็จไปแสดงพระอภิธรรมปิฎกโปรดอดีตพระพุทธมารดาเหมือนกัน
ดังที่คุณศิรัสพลยกพระไตรปิฎกมาให้ดูแล้ว
ที่ต้องย้ำคือ พระสูตรที่คุณศิรัสพลนำมาแสดงนั้น เป็น "พระพุทธพจน์ตรัสเองจากพระโอษฐ์" ด้วย


ตอบ ....

การที่นายระนาดเอกอ้างว่า “มีครั้งเดียวเท่านั้น คือครั้งที่เสด็จไปแสดงพระอภิธรรมโปรดพระพุทธมารดานั่นแหละ” ย่อมเป็นภาระของนายระนาดเอกนั้นเองที่จะต้องยกหลักฐานมาพิสูจน์คำพูดของตนว่ามิได้เป็นการกล่าวตู่พุทธพจน์ ด้วยเหตุที่ได้ปรากฏหลักฐานในพระสูตรอยู่เพียงแห่งเดียวว่าพระพุทธองค์เสด็จไปแสดงธรรม ณ ดาวดึงส์ คือกรณี จันทนเทวบุตร กล่าวกับ ท่านพระโลมสังกังคิยะ ความว่า ....
“ดูกรภิกษุ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ที่ควงไม้ปาริจฉัตตกะ ในหมู่เทวดาชั้นดาวดึงส์ ณ ที่ นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสอุเทศและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญแก่เทวดาชั้นดาวดึงส์ว่า บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว ฯ”(อ้างจาก โลมสกังคิยภัทเทกรัตตสูตร)
แต่กระนั้น ก็ไม่ปรากฏข้อความว่า พระพุทธองค์ เสด็จไปแสดงพระอภิธรรมโปรดพระพุทธมารดา อยู่ดี เนื่องจาก จันทนเทวบุตร กล่าวชัดเจนว่า พระพุทธองค์ตรัส “อุเทศและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ” ซึ่งความข้อนี้ ไม่มีทางที่จะแปลเป็นว่า อภิธรรมปิฎก ไปได้เลย !!!!



ครั้นจะอ้างข้อความจากคัมภีร์อปทาน ก็ยังไม่สมเหตุสมผลอยู่ดี เนื่องจาก ....

(๑) ข้อความที่อ้างถึงนั้นเป็น คัมภีร์อปทานภาค ๒ พุทธวังสะ โกนาคมนพุทธวงศ์ที่ ๒๓ ว่าด้วยพระประวัติพระโกนาคมนพุทธเจ้า ไม่ใช่ โคตมพุทธวงศ์ที่ ๒๕ ซึ่งว่าด้วยพระประวัติพระโคตมพุทธเจ้า
อีกทั้งยังพบว่า นอกจาก โกนาคมนพุทธวงศ์แล้ว ไม่พบข้อความจากพุทธวงศ์ใดๆเลย(จากทั้งหมด ๒๕ พุทธวงศ์)ที่กล่าวถึงการเสด็จไปยังดาวดึงส์เทวโลก และทรงแสดงพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ที่นั่น รวมไปถึง โคตมพุทธวงศ์ ก็ไม่ปรากฏความข้อนี้ด้วยเช่นกัน !!!!

(๒) คัมภีร์อปทาน เป็นคัมภีร์ที่แต่งด้วย “คำฉันท์” จึงมิใช่ “พุทธพจน์ตรัสเองจากพระโอษฐ์” แน่นอน โดยพระพุทธองค์ได้เคยตรัสกับ ภิกษุทั้งหลาย ปรากฏความใน พระวินัยปิฎกเล่ม ๗ ข้อที่ ๑๘๐ ความว่า ….
“ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงยกพุทธวจนะขึ้นโดยฉันท์(ภาษาสันสกฤต) รูปใดยกขึ้น ต้องอาบัติทุกกฏ”
ซึ่งย่อมเป็นที่แน่นอนเช่นกันว่า พระอรหันตสาวก ๕๐๐ รูปเมื่อครั้งปฐมสังคายนา ย่อมมิอาจล่วงละเมิดพระพุทธบัญญัตินี้(รวมทั้งพระบัญญัติอื่นด้วย)อย่างแน่นอน เนื่องจากท่านมีมติอย่างชัดแจ้งว่า .... “สงฆ์ไม่พึงบัญญัติสิ่งที่ไม่ทรงบัญญัติ ไม่พึงถอนพระบัญญัติที่ทรงบัญญัติไว้แล้ว” สรุปก็คือ อปทาน เป็นคัมภีร์ที่เพิ่งถูกยกเข้าสู่พระไตรปิฎกในภายหลัง มิใช่ของเก่าเมื่อครั้งปฐมสังคายนาอย่างแน่นอน .... ชัดเจนนะครับ

ดังนั้น การที่นายระนาดเอกกล่าวว่า (ข้อความจากคัมภีร์อปทาน โกนาคมนพุทธวงศ์) เป็น “พระพุทธพจน์ตรัสเองจากพระโอษฐ์” จึงเป็นการกล่าวคำเท็จ เป็นการกล่าวตู่พุทธพจน์อย่างชัดแจ้ง !!!!

ส่วนการกล่าวอ้างว่า “การเสด็จไปแสดงพระอภิธรรมปิฎกโปรดอดีตพระพุทธมารดาเป็นพุทธประเพณี” นั้นก็เป็นการกล่าวเอาเอง(ของนายระนาดเอก) โดยที่เกินไปจากข้อเท็จจริง ดังที่ได้ปรากฏความในพระวินัยปิฎกว่า พุทธประเพณี นั้นหมายถึง “การที่พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงปราศรัยกับพระอาคันตุกะทั้งหลาย” โดยอธิบายความว่า ....

“พระตถาคตทั้งหลายทรงทราบอยู่ ย่อมตรัสถามก็มี ทรงทราบอยู่ย่อมไม่ตรัสถามก็มี ทรงทราบกาลแล้วตรัสถาม ทรงทราบกาลแล้วไม่ตรัสถาม พระตถาคตทั้งหลายย่อมตรัสถามสิ่งที่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ตรัสถามสิ่งที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ สิ่งที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ พระองค์ทรงกำจัดด้วยข้อปฏิบัติ พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายด้วยอาการสองอย่าง คือ จักทรงแสดงธรรมอย่างหนึ่ง จักทรงบัญญัติสิกขาบทแก่พระสาวกทั้งหลายอย่างหนึ่ง”

กล่าวโดยสรุปก็คือ ปรากฏข้อความโดยทั่วไปใน พระวินัยปิฎก ระบุว่า พุทธประเพณี นั้นหมายถึง การที่ทรงปราศรัยกับพระอาคันตุกะทั้งหลาย ด้วยอาการหรือพุทธประสงค์สองอย่างคือ จักทรงบัญญัติสิกขาบท หรือ จักทรงแสดงธรรม โดยตรัสชัดเจนว่า ทรงบัญญัติสิกขาบทแก่พระสาวก แต่มิได้ระบุเอาไว้ตรงไหนเลยว่า ทรงแสดงธรรมแก่พระพุทธมารดา หรือการแสดงธรรมนั้นหมายถึง การแสดงอภิธรรมปิฎก(ที่ดาวดึงส์)
แปลความได้ว่า ถ้าหากนายระนาดเอก ต้องการยืนยันว่า ตนมิได้กล่าวตู่(พุทธพจน์) เขาก็ย่อมต้องแสดงหลักฐานให้เห็นว่า มีพุทธพจน์ตรัสเอาไว้ที่ใดหรือไม่ว่า “การเสด็จไปแสดงพระอภิธรรมปิฎกโปรดอดีตพระพุทธมารดาเป็นพุทธประเพณี” ซึ่งผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่า นายคนนี้จะเข้าใจความหมายของคำว่า “พุทธพจน์” จากพระสูตรและพระวินัย ตามหลักมหาปเทส ๔ นะครับ (?)




ประเด็นที่ ๓

ขนาดที่แก้ไขแล้ว ก็ยังมีหลุดออกมาอีกมาก
ยกมาให้ดูก็ได้ ที่ท่านพุทธทาสไปกล่าวตู่พระพุทธเจ้า

“ทีนี้ อาตมา อยากจะชี้แจงต่อ ถึงข้อที่ว่า ทำไม คำว่า เทวดา หรือ คำว่า สวรรค์นี้ มามีอยู่ในพระพุทธภาษิต และอยู่ในพระไตรปิฎก โดยตรง. ทั้งนี้ ก็เพราะว่า ในประเทศอินเดีย สมัยนั้น มีความเชื่อเรื่องเทวดา เรื่อง นรก เรื่องสวรรค์ นี้อยู่โดยสมบูรณ์แล้ว มีรายละเอียดชัดเจน เหมือนที่กล่าวนี้ ทุกอย่างมาแล้ว ตั้งแต่ก่อนพระพุทธเจ้า บังเกิดขึ้น พอพระพุทธเจ้า มีขึ้นในโลก เรื่องเหล่านี้ มันมีอยู่แล้ว จะไปเสียเวลาหักล้าง ก็ไม่ไหว พิสูจน์ให้คนโง่ เห็นไม่ได้ เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้า ท่านจึงพลอยตรัส เอออวย ไปตามคำที่พูดๆ กันอยู่ แต่แล้ว ก็ทรงแสดง สิ่งที่ดีกว่า ให้เขาเลิกละ ความสนใจ หรือ ติดแน่น ในสิ่งนั้นเสีย ให้เลิกละ ความติดแน่น ในนรก ในสวรรค์ ในเทวโลก พรหมโลก เหล่านั้นเสีย" 2

ขอถามว่า คุณสหธรรมยอมรับการกล่าวตู่พระพุทธเจ้า ได้ลงคอหรือ

ตอบ ....

ผมหรือไม่ว่าใครก็ตามที่อ้างตนว่าเป็นพุทธบริษัท ย่อมมิอาจยอมรับการกล่าวตู่พุทธพจน์ได้อย่างแน่นอน ไม่ว่าผู้ที่พูดนั้นจะเป็นใครก็ตาม เพียงแต่ในกรณีนี้ ผมกลับไม่เห็นว่าท่านพุทธทาสจะกล่าวตู่พุทธพจน์ ตามที่นายระนาดเอกกล่าวหาใส่ร้าย เลยนี่ครับ !!!!

พิจารณาคำของท่านพุทธทาสที่ถูกเน้น ดังนี้ ....

“จะไปเสียเวลาหักล้าง ก็ไม่ไหว พิสูจน์ให้คนโง่ เห็นไม่ได้ เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้า ท่านจึงพลอยตรัส เอออวย ไปตามคำที่พูดๆ กันอยู่ ฯ”

เอออวย = เห็นตามไปด้วย , เห็นดีด้วย (พจนานุกรมฉบับราชบัญฑิตฯ)

ประเด็นที่มักนำมาพูดถึงกันมากก็คือ การใช้คำว่า “เอออวย” นั้นถูกต้องหรือไม่ (?) ดังนั้นจึงขอให้ท่านทั้งหลายพิจารณาพุทธพจน์จาก ทีฆนขสูตร ที่ตรัสกับ ทีฆนขปริพาชก ความว่า ....

“อัคคิเวสสนะ ภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วอย่างนี้แล ย่อมไม่วิวาทแก่งแย่งกับใครๆ โวหารใดที่ชาวโลกพูดกัน ก็พูดไปตามโวหารนั้น แต่ไม่ยึดมั่นด้วยทิฎฐิ ฯ” กรณีอย่างนี้ = เอออวย ใช่ .... หรือมิใช่ (?)

หรือดังข้อความจาก อรหันตสูตร

“กิเลสเป็นเครื่องผูกทั้งหลาย มิได้มีแก่ภิกษุที่ละมานะเสียแล้ว มานะและคันถะทั้งปวง อันภิกษุนั้นกำจัดเสียแล้วภิกษุเป็นผู้มีปัญญาดี ล่วงเสียแล้วซึ่งความสำคัญ ภิกษุนั้นพึงกล่าวว่า เราพูดดังนี้บ้าง บุคคล
ทั้งหลายอื่นพูดกะเราดังนี้บ้าง ภิกษุนั้นฉลาด ทราบคำพูดในโลก พึงกล่าวตามสมมติที่พูดกัน ฯ” กรณีอย่างนี้ = เอออวย ใช่ .... หรือมิใช่ (?)

สิ่งที่จะต้องพิจารณาต่อไปก็คือ นรกใต้ดิน และ สวรรค์บนฟ้า ตามที่ชาวชมพูทวีปในสมัยพุทธกาล เชื่อถือกันนั้น ตรงกับ นรกสวรรค์ตามที่พระพุทธองค์ตรัสรู้ชอบนั้นแล้ว หรือไม่ (?)
กรุณาสังเกตจาก ....
(๑) กรณี ท้าวตรีศังกุสุริยวงศ์ ผู้ครองอโยธยา มีความปรารถนาจะขึ้นสวรรค์ทั้งเป็น โดยมีพระวิศวามิตรเป็นผู้ทำพิธีให้ ซึ่งในกาลครั้งนั้น ก็เกิดความโกลาหลขึ้นในหมู่เทวดาทั้งหลายบนสวรรค์(รายละเอียดเชิญศึกษาเอาเองจาก รามยณะ) ความข้อนี้ย่อมชัดเจนอยู่ว่า คนในยุคสมัยนั้น เขาเชื่อและเข้าใจว่า สวรรค์เป็นสถานที่แห่งหนึ่งอยู่บนฟ้า ซึ่งแม้แต่คนเป็นๆก็อาจสามารถขึ้นไปอยู่ได้หากต้องการ

คำถามก็คือ สวรรค์ตามพุทธปัญญาซึ่งตรัสรู้โดยชอบนั้น มีลักษณะตามที่คนสมัยนั้นเขาเชื่อถือกันอยู่ หรือไม่ (?)

(๒) กรณี พี่น้องปาณฑพทั้ง ๕ และนางเทราปตี นำโดย ยุธิษฐิระ เสด็จสู่สรวงสวรรค์ ซึ่งเขาเชื่อกันอย่างนี้ว่า เมรุบรรพต หรือ สุเมรุบรรพต หรือ เทวบรรพต ซึ่งเป็นขุนเขาลูกหนึ่งในบริเวณเทือกเขาหิมาลัย คือสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ อันเป็นนิวาสถานของพระอินทร์ (รายละเอียดเชิญศึกษาเอาเองจาก มหาภารตยุทธ)

คำถามก็คือ สวรรค์ตามพุทธปัญญาซึ่งตรัสรู้โดยชอบนั้น มีลักษณะตามที่คนสมัยนั้นเขาเชื่อถือกันอยู่ หรือไม่ (?)

และย่อมเป็นภาระของนายระนาดเอกนั่นเอง ที่อย่างน้อย ก็จะต้องพิสูจน์ให้เห็นจริงเห็นจังว่า นรกใต้ดิน และ สวรรค์บนฟ้า ตามที่ชาวชมพูทวีปในสมัยพุทธกาล เชื่อถือกัน เป็นสิ่งที่มีอยู่จริง โดยมิได้เป็นปฏิปักษ์ต่อพุทธปัญญาอันประกอบด้วยสัมมาทิฐิ จนพระพุทธองค์จะต้องตรัสเอออวยเสียก่อนในขั้นต้น ตามคำของท่านพุทธทาส
เพราะมิเช่นนั้นจะกลายเป็นว่า นายระนาดเอกนี่เอง ที่กล่าวตู่พุทธพจน์ อีกทั้งยังกล่าวร้ายต่อท่านพุทธทาสผู้เป็นพระเถระชั้นผู้ใหญ่ อย่างปราศจาก หิริโอตตัปปะ !!!!

แต่จากการพินิจพิเคราะห์แล้ว ผมกลับเห็นว่า ความเชื่อเกี่ยวกับนรกสวรรค์ของชาวชมพูทวีปในสมัยนั้น มิได้ถูกต้องตรงตามพุทธปัญญาอันประกอบด้วยสัมมาทิฐิ เป็นเพียงบัญญัติชื่ออย่างเดียวกัน แต่ความหมายที่แท้จริง แตกต่างกัน .... ดังนั้น

พระพุทธองค์จึงจำเป็นต้อง “ตรัสเอออวย” กล่าวคือ …. “ย่อมไม่วิวาทแก่งแย่งกับใครๆ โวหารใดที่ชาวโลกพูดกัน ก็พูดไปตามโวหารนั้น (แต่ไม่ยึดมั่นด้วยทิฎฐิ)”

สมดังที่ตรัสเอาไว้ใน ปุปผสูตร ความว่า “ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่ขัดแย้งกับโลก แต่โลกย่อมขัดแย้งกับเรา”
อีกทั้งยังตรัสอีกว่า “บุคคลใด เมื่อพระตถาคตบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก กระทำให้ตื้นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่รู้ ไม่เห็น เราจะกระทำอะไรได้กะบุคคลนั้น ผู้เป็นปุถุชนคนพาล บอด ไม่มีจักษุ ไม่รู้ ไม่เห็น” ซึ่งก็ย่อมตรงกันกับถ้อยคำที่ท่านพุทธทาสกล่าวว่า “จะไปเสียเวลาหักล้าง ก็ไม่ไหว พิสูจน์ให้คนโง่ เห็นไม่ได้”
และจากนั้นพระพุทธองค์จึง “ทรงแสดง สิ่งที่ดีกว่า ให้เขาเลิกละ ความสนใจ หรือ ติดแน่น ในสิ่งนั้นเสีย ให้เลิกละ ความติดแน่น ในนรก ในสวรรค์ ในเทวโลก พรหมโลก เหล่านั้นเสีย” ตามคำของท่านพุทธทาส นั่นเอง ก็ในเมื่อปรากฏหลักฐานเป็นพุทธพจน์สอดคล้องต้องกัน สามารถเทียบกันได้ ลงกันได้ ทั้งอรรถและพยัญชนะอย่างนี้แล้ว ยังจะมากล่าวหาว่า ท่านพุทธทาสกล่าวตู่พุทธพจน์ ได้อย่างไร (?)



ประเด็นที่ ๔

เอ๊ะ! เสือกินคนก็ไม่บาปน่ะซี

พระพุทธเจ้าแสดงหลักการในการล่วงกรรมบถไว้ว่า ศีลปาณาฯ มีองค์ศีล ๕ ประการ
ไม่มีประการใดเลยที่ยกเว้นว่า สัตว์เดรัจฉานเบียดเบียนชีวิตสัตว์เดรัจฉานด้วยกัน ไม่บาป
สัตว์เดรัจฉานทำบาปแล้วไม่บาป เพราะว่าสัตว์เดรัจฉานไม่ใช่มนุษย์ ?
หรือก็คือ ศีล กรรมบถ มีไว้สำหรับมนุษย์
ถ้าไม่ใช่มนุษย์ ทำบาปแล้วไม่บาป??

ถ้าเช่นนั้น ยักษ์ตนหนึ่งมาพบพระสารีบุตรเข้านิโรธสมาบัติ
ยักษ์เอากระบองตีศีรษะพระสารีบุตร ทำไมจึงบาปจนธรณีสูบลงนรกอเวจีทันที !


ตอบ ....

ถ้านายระนาดเอกอยากจะอ้างว่า ปาณาติบาต มีองค์ ๕ เป็นพุทธพจน์ ก็ไม่เป็นไรหรอกนะครับ หากแต่ควรจะกล่าวให้ชัดเจนด้วยว่า นั่นเป็นข้อความจาก “คัมภีร์อรรถกถา” แต่กระนั้นผมก็ยังไม่พบว่า มีถ้อยคำใดๆใน วรรณนาจุลศีล(อรรถกถา) จะสามารถทำให้เข้าใจไปได้ว่า ศีลเป็นสิ่งที่บัญญัติไว้สำหรับสัตว์เดรัจฉาน เช่น ….
การอธิบายว่า ปาณาติบาตนั้นมีประโยค ๖ คือ ๑. สาหัตถิกประโยค ประโยคที่ฆ่าด้วยมือตนเอง ๒. อาณัตติกประโยค ประโยคที่สั่งให้คนอื่นฆ่า ๓. นิสสัคคิยประโยค ประโยคที่ฆ่าด้วยอาวุธที่ซัดไป ฯลฯ ซึ่งจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า ศีลเหล่านี้ใช้กับคนมิใช่สัตว์เดรัจฉาน .... หรือมิใช่ (?)

ที่นี้เมื่อพิจารณาข้อความจากพระสูตร ก็ปรากฏหลักฐานแสดงถึงความหมายของ อกุศลกรรมบท และ กุศลกรรมบท จากคำโต้ตอบกันระหว่าง เจ้าปายาสิ กับ ท่านพระกุมารกัสสปะ (อ้างจาก ปายาสิราชัญญสูตร) ความว่า ....

กถาว่าด้วยโทษของอกุศลกรรมบท
“ดูกรท่านกัสสป มิตรอำมาตย์ ญาติสาโลหิต ของข้าพเจ้าในโลกนี้ ที่เป็นคนฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ มากไปด้วยความเพ่งเล็ง คิดปองร้ายผู้อื่น มีความเห็นผิด ฯ”

กถาว่าด้วยอานิสงส์ของกุศลกรรมบท
“ดูกรท่านกัสสป มิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิต ของข้าพเจ้าในโลกนี้ ที่เป็นคนงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม งดเว้นจากพูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ ไม่มากไปด้วยความเพ่งเล็ง ไม่คิดปองร้ายผู้อื่น มีความเห็นชอบ ฯ”

โดยเมื่อเปรียบเทียบกับข้อความจาก ปุญญกิริยาวัตถุสูตร ความว่า ....

“จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุญญกิริยาวัตถุ ๓ ประการนี้ ๓ ประการเป็นไฉน คือ ทานมัยปุญญกิริยาวัตถุ ๑ ศีลมัยปุญญกิริยาวัตถุ ๑ ภาวนามัยปุญญกิริยาวัตถุ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุญญกิริยาวัตถุ ๓ ประการนี้แล ฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
กุลบุตรผู้ใคร่ประโยชน์ พึงศึกษาบุญนั่นแล อันให้ผลเลิศต่อไป ซึ่งมีสุขเป็นกำไร คือ พึงเจริญทาน ๑ ความประพฤติเสมอ ๑ เมตตาจิต ๑ บัณฑิตครั้นเจริญธรรม ๓ประการอันเป็นเหตุให้เกิดความสุขเหล่านี้แล้ว ย่อมเข้าถึงโลกอันไม่มีความเบียดเบียน ฯ เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วฉะนี้แล ฯ”

ซึ่งอรรถกถาจารย์ได้อธิบายความหมายของคำว่า ศีลมัย ดังนี้ว่า ....
บทว่า สีลมยํ ได้แก่ เจตนาที่เป็นไปแล้วแก่บุคคลผู้สมาทานศีล ๕ ศีล ๘ หรือศีล ๑๐ ด้วยสามารถแห่งการกำหนดให้เป็นนิจศีล และอุโบสถศีลเป็นต้น ฯ

กล่าวโดยสรุปก็คือ ข้อความทั้งในพระสูตรและอรรถกถาล้วนกล่าวสอดคล้องกันว่า กรรมบท บุญกิริยาวัตถุ และ ศีล เป็นสิ่งที่ใช้กับ “คน” เท่านั้น ไม่ปรากฏเลยว่าเป็นหลักการที่บังคับใช้กับสัตว์เดรัจฉานด้วย
ดังนั้น จึงเป็นภาระของนายระนาดเอกนั้นเอง ที่จะต้องแสดงหลักฐานจากพระไตรปิฎกหรืออรรถกถา ที่ระบุเอาไว้อย่างชัดเจนว่า .... “สัตว์เดรัจฉานเบียดเบียนชีวิตสัตว์เดรัจฉานด้วยกัน เป็นบาปผิดศีล”
ซึ่งถ้าหามาแสดงไม่ได้ ก็ย่อมเท่ากับว่า ถ้อยคำที่นายระนาดเอก แสดงออกมาทั้งหมด เป็นการกล่าวตู่พุทธพจน์ .... เข้าใจประเด็นอย่างชัดเจนแล้วนะครับ (?)

ประเด็น ที่นายระนาดเอกอ้างถึง กรณี “ยักษ์ตนหนึ่งมาพบพระสารีบุตรเข้านิโรธสมาบัติ (จึงได้) เอากระบองตีศีรษะพระสารีบุตร ทำไมจึงบาปจนธรณีสูบลงนรกอเวจีทันที” นั้น อรรถกถาก็ได้อธิบายไว้ชัดแล้วนี่ครับว่า “ได้ยินว่า ยักษ์นั้นผูกอาฆาตพระเถระมาแต่ชาติก่อน เพราะเหตุนั้น พอเห็นพระเถระ เขาจึงมีจิตคิดประทุษร้ายอย่างนั้น” (อรรถกถาชุณหสูตร)

ทีนี้เมื่อถามว่า แล้วยักษ์มีความแตกต่างจากสัตว์เดรัจฉาน ตรงไหน (?)

ในประเด็นที่ว่า ยักษ์หมายถึงสิ่งมีชีวิตชนิดไหนนั้นขอยกไว้(เพราะนอกประเด็น) หากแต่จำเพาะเรื่องที่เกี่ยวกับศีลนั้น ปรากฏหลักฐานในพระไตรปิฎกหลายแห่งว่า ยักษ์ รู้และเข้าใจในศีล หรือ กรรมบท เป็นอย่างดี เช่น ….

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญโดยมากยักษ์มิได้เลื่อมใสต่อพระผู้มีพระภาคเลย ข้อนั้นเหตุไร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมเพื่องดเว้นจากปาณาติบาต ทรงแสดงธรรมเพื่องดเว้นจากอทินนาทาน ทรงแสดงธรรมเพื่องดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร ทรงแสดงธรรมเพื่องดเว้นจากมุสาวาท ทรงแสดงธรรมเพื่องดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท แต่โดยมากพวกยักษ์มิได้งดเว้นจากปาณาติบาต มิได้งดเว้นจากอทินนาทาน มิได้งดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร มิได้งดเว้นจากมุสาวาทมิได้งดเว้นจากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ข้อที่พระองค์ให้งดเว้นนั้น จึงไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของยักษ์เหล่านั้น ฯ” (อ้างจาก อาฏานาฏิยสูตร)

หรือดังคำโต้ตอบระหว่าง เหมวตยักษ์ กับสาตาคิรยักษ์ จาก เหมวตสูตร ความว่า ….

“เหมวตยักษ์ถามว่า
พระโคดมไม่ทรงถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้แลหรือทรงสำรวม
แล้วในสัตว์ทั้งหลายแลหรือ ทรงห่างไกลจากความประมาทแลหรือ
ย่อมไม่ทรงละทิ้งฌานแลหรือ ฯ
สาตาคิรยักษ์ตอบว่า
พระองค์ไม่ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ ทรงสำรวมแล้วในสัตว์
ทั้งหลาย และทรงห่างไกลจากความประมาทพระองค์เป็นผู้ตรัสรู้แล้ว
ย่อมไม่ทรงละทิ้งฌาน ฯ
เหมวตยักษ์ถามว่า
พระโคดมไม่ตรัสคำเท็จแลหรือ มีพระวาจาไม่หยาบคายแลหรือ ไม่ตรัส
คำส่อเสียดแลหรือ ไม่ตรัสคำเพ้อเจ้อแลหรือ ฯ
สาตาคิรยักษ์ตอบว่า
พระองค์ไม่ตรัสคำเท็จ มีพระวาจาไม่หยาบคาย และไม่ตรัสคำส่อเสียด
ตรัสคำที่เป็นประโยชน์อย่างเดียว เพราะทรงกำหนดด้วยพระปัญญา ฯ”

เมื่อปรากฏความดังนี้ จึงไม่แปลกแต่อย่างใดเลย ถ้าหากยักษ์ซึ่งรู้และเข้าใจในศีลและกรรมบทเป็นอย่างดี เมื่อมีเจตนาประทุษร้ายท่านพระสารีบุตร จึงย่อมต้องได้รับวิบากจากการกระทำของตนอย่างมิอาจหลีกเลี่ยง ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับกรณี พระพาหิยทารุจิริยเถระ ถูกแม่โคขวิด(จน)ตาย ย่อมมิได้เกิดจากเจตนาของแม่โคตัวนั้น หากแต่เป็นวิบากของท่านพระพาหิยทารุจิริยเถระเอง และเนื่องจากแม่โคไม่อาจรู้และไม่เข้าใจในศีลและกรรมบทได้เลย แม่โคตัวนั้นจึงย่อมมิต้องรับวิบากผลใดๆจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และนี่ก็คือความแตกต่างระหว่างยักษ์กับสัตว์เดรัจฉาน นั่นเอง !!!!
ดังนั้น ถ้านายระนาดเอกไม่ยอมรับความข้อนี้ ก็ย่อมต้องแสดงให้เห็นจริงว่า ในพระไตรปิฎกได้ปรากฏหลักฐานว่ามีสัตว์ตัวใดทำบาป(!)แล้วตกนรกบ้างหรือไม่ (?) ซึ่งถ้าหาหลักฐานมาแสดงให้เห็นจริงไม่ได้ นั่นก็เท่ากับว่า นายระนาดเอกกำลังกล่าวตู่พระพุทธองค์อยู่นั่นเอง .... ชัดเจนนะครับ (?)


ฤทธี


http://www.oknation.net/blog/SiamBhikhunis

http://rittijanson.blogspot.com/

แจ้งความ กรณี คำแปล .... วิญญาณํ โหติ ตทุปาทานํ โดยท่านพุทธทาส

ทุกๆ ครั้ง ที่ผมได้มีโอกาสเห็น “การแสดง ความคิดเห็น” ของนายระนาดเอกและพรรคพวก ก็ได้แต่ทอดถอนใจว่า ถ้าเรียน อภิธรรม(เฟ้อ) แล้วมันมีผลทำให้ “โง่เขลาเบาปัญญา” ถึงเพียงนี้ .... ก็เลิกเรียนมันไปเถิดครับ ทิ้งมันไปเสียให้หมด เพราะข้อเท็จจริง มันก็ได้แสดงตัวให้เป็นที่ประจักษ์อยู่แล้วว่า ยิ่งเรียนยิ่งโง่ ยิ่งโตยิ่งเซ่อ หรือมิใช่ (?)

งวดนี้ นายระนาดเอก ก็ออกมาแสดงความโง่เขลา ด้วยการกล่าวในทำนองว่า ท่านพุทธทาสแปลพระบาลีผิด(อีกตามเคย) โดยพยายามจะอ้างข้อความจากหนังสือของท่านปยุตโต มากล่าวหาและเสียดสีท่านพุทธทาสว่า .... “การแปลนั้น ต้องทำอย่างซื่อตรง พยายามให้ผู้อ่านเข้าถึงข้อมูลจริงของเดิมอย่างแม่นยำชัดเจน ไม่เอาความคิดเห็นหรือข้อสรุป” (อ้างจาก PANTIP_COM Y10558961 ว่าด้วย ท่านพุทธทาส พระไตรปิฏก พระอภิธรรม)

กล่าวโดยสรุปก็คือ นายระนาดเอก แสดงความเห็น(มติ)ส่วนตัวออกมาว่า ....
(เมื่อ) “พิจารณาพระบาลีเดิม ก็ไม่มีลู่ทางให้แปลได้ว่า วิญญาณคืออุปาทาน”

อีกประเด็นหนึ่งที่จำเป็นต้องอธิบายให้ชัดเจน ก็คือ
การที่ท่านพุทธทาสอธิบายเอาไว้ใน “เชิงอรรถ” ความว่า ....

“วิญญาณในที่นี้ หมายถึง มโนวิญญาณ ที่รู้สึกต่อความเพลิดเพลินและความมัวเมาในรูปนั้น ไม่ใช่จักขุวิญญาณ ที่เห็นรูปตามธรรมดา”

โดยที่ นักอภิธรรมขี้เท่อรายนี้ เขาอ้างว่า .... “ซึ่งความตรงนี้ ท่านพุทธทาสกล่าวขัดแย้งกับคำอธิบายของอรรถกถา และที่สำคัญคือ ขัดต่อสภาวธรรม !” เราลองมาพิจารณาดูกันนะครับว่า มันจริง หรือว่าเท็จ (?) …. ขอให้ท่านทั้งหลาย พิจารณาเนื้อความทั้งหมดของ สักกสูตร และ อรรถกถา สักกสูตร ดังนี้

๕. สักกสูตร
ว่าด้วยทรงแก้ปัญหาของท้าวสักกะ
[ ๑๗๗ ] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ กรุงราชคฤห์ ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะผู้เป็นจอมแห่งเทวดาทั้งหลาย เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ประทับอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เหตุปัจจัยอะไรหนอ ที่เป็นเครื่องทำให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ไม่ปรินิพพานในปัจจุบัน อนึ่ง เหตุปัจจัยอะไร ที่เป็นเครื่องทำให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ปรินิพพานในปัจจุบัน.
[๑๗๘] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนท่านจอมเทพ รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก อาศัยความใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ หากภิกษุเพลิดเพลินสรรเสริญ หมกมุ่น พัวพันรูปนั้นอยู่ เมื่อเธอเพลิดเพลินสรรเสริญ หมกมุ่น พัวพันรูปนั้นอยู่ วิญญาณอันอาศัยตัณหานั้นย่อมมี อุปาทานอันอาศัยตัณหานั้นก็ย่อมมี ภิกษุยังมีอุปาทาน ยังไม่ปรินิพพาน ฯลฯ ธรรมารมณ์ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่าปรารถนา . น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก อาศัยความใคร่ ชวนให้กำหนัดมีอยู่ หากภิกษุเพลิดเพลินสรรเสริญ หมกมุ่น พัวพันธรรมารมณ์นั้น เมื่อเธอเพลิดเพลินสรรเสริญ หมกมุ่น พัวพันธรรมารมณ์นั้นอยู่ วิญญาณอันอาศัยตัณหานั้นย่อมมี อุปาทานอันอาศัยตัณหานั้น. ย่อมมี ภิกษุผู้ยังมีอุปาทาน ยังไม่ปรินิพพาน ดูก่อนท่านจอมเทพเหตุปัจจัยนี้แล ที่เป็นเครื่องทำให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ไม่ปรินิพพานในปัจจุบัน.
[๑๗๙] ดูก่อนท่านจอมเทพ รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก อาศัยความใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ หากภิกษุไม่เพลิดเพลินไม่สรรเสริญ ไม่หมกมุ่น ไม่พัวพันรูปนั้น เมื่อเธอไม่เพลิดเพลินไม่สรรเสริญ ไม่หมกมุ่น ไม่พัวพันรูปนั้น วิญญาณอันอาศัยตัณหานั้นย่อมไม่มี อุปาทานอันอาศัยตัณหานั้นย่อมไม่มี ภิกษุผู้ไม่มีอุปาทาน ย่อมปรินิพพาน ฯลฯ ธรรมารมณ์ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก อาศัยความใคร่ ชวนให้กำหนัด
มีอยู่ หากภิกษุไม่เพลิดเพลินไม่สรรเสริญ ไม่หมกมุ่น ไม่พัวพ้นธรรมารมณ์นั้น เมื่อเธอไม่เพลิดเพลินไม่สรรเสริญ ไม่หมกมุ่น ไม่พัวพันธรรมารมณ์นั้น วิญญาณอันอาศัยตัณหานั้นย่อมไม่มี อุปาทานอันอาศัย ตัณหานั้นย่อมไม่มี ภิกษุผู้ไม่มีอุปาทาน ย่อมปรินิพพาน ดูก่อนท่านจอมเทพ เหตุปัจจัยนี้แล ที่เป็นเครื่องทำให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ ปรินิพพานในปัจจุบัน.
จบ สักกสูตรที่ ๕

อรรถกถาสักกสูตรที่ ๕
ในสักกสูตรที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ทิฏฺเว ธมฺเม ได้แก่ ในอัตภาพนี้เอง.
บทว่า ปรินิพฺพายนฺติ ได้แก่ ย่อมปรินิพพาน ด้วยการดับสนิทซึ่งกิเลส.
บทว่า ต นิสฺสิต วิญฺาณ โหติ ได้แก่ กรรมวิญญาณที่อาศัยตัณหา.
จบ อรรถกถาสักกสูตรที่ ๕


จากพระบาลี .... ตํ นิสฺสิตํ วิญฺาณํ โหติ ตทุปาทานํ

ท่านพุทธทาสแปลว่า
วิญญาณ อันตัณหาในอารมณ์(คือรูปฯ) อาศัยแล้วย่อมมีแก่เธอ วิญญาณนั้นคือ อุปาทาน

พระไตรปิฎกภาษาไทย แปลว่า
วิญญาณอันอาศัยตัณหานั้นย่อมมี อุปาทานอันอาศัยตัณหานั้นก็ย่อมมี

อรรถกถา อธิบายว่า
บทว่า ตํ นิสฺสิตํ วิญฺญาณํ โหติ ได้แก่ กรรมวิญญาณที่อาศัยตัณหา

ถ้าเราใช้คำแปลของอรรถกถาเป็นหลัก จำต้องแปลไทยเป็นไทยอีกที ก็จะได้ความว่า “วิญญาณที่เกิดจากการกระทำ(กรรมวิญญาณ) ซึ่งอาศัยความทะยานอยาก(ตัณหา)” ถามว่า เมื่อเทียบกับอีก ๒ สำนวนแล้วเป็นอย่างไรบ้างครับ .... อ่านแล้ว เกิดความเข้าใจ ขึ้นมาบ้างไหม (?)
ผมบอกได้เลยว่า อ่านอย่างไรก็ไม่มีทางรู้เรื่อง และที่นักอภิธรรมขี้เท่อมันทำเป็นสู่รู้วิพากษ์วิจารณ์ไปนั่นน่ะ จริงๆแล้ว มันก็ไม่รู้เรื่องหรอก .... มันก็ทำเป็นวางมาด เห่าหอนส่งเดชไปอย่างนั้นแหละ .... เชื่อสิ (หึหึหึหึ)
ถ้าอ่านพระบาลีตรงนี้ แล้วยังไม่เข้าใจ ก็ขอให้ท่านทั้งหลายลองไปพิจารณา พุทธพจน์จาก อุปายสูตร (พระสูตรที่ว่าด้วย ว่าด้วยสิ่งที่เป็นความหลุดพ้นและไม่หลุดพ้น) ความว่า ....

“ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเข้าถึง ด้วยอำนาจตัณหา มานะ ทิฏฐิ เป็นความไม่หลุดพ้น ความไม่เข้าถึง เป็นความหลุดพ้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วิญญาณที่เข้าถึงรูปก็ดี เมื่อตั้งอยู่ พึงตั้งอยู่ วิญญาณที่มีรูปเป็นอารมณ์ มีรูปเป็นที่ตั้ง มีความยินดีเป็นที่เข้าไปซ่องเสพ พึงถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ ฯลฯ วิญญาณที่มีสังขารเป็นอารมณ์ มีสังขารเป็นที่ตั้ง มีความยินดีเป็นที่เข้าไปซ่องเสพ พึงถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราจักบัญญัติการมา การไป จุติ อุปบัติ หรือความเจริญงอกงามไพบูลย์แห่งวิญญาณ เว้นจากรูป เวทนา สัญญา สังขาร ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าความกำหนัดในรูปธาตุ ในเวทนาธาตุ ในสัญญาธาตุ ในสังขารธาตุ ในวิญญาณธาตุ เป็นอันภิกษุละได้แล้วไซร้ เพราะละความกำหนัดเสียได้ อารมณ์ย่อมขาดสูญ ที่ตั้งแห่งวิญญาณย่อมไม่มี วิญญาณอันไม่มีที่ตั้ง ไม่งอกงาม ไม่แต่งปฏิสนธิ หลุดพ้นไป เพราะหลุดพ้นไป จึงดำรงอยู่ เพราะดำรงอยู่ จึงยินดีพร้อม เพราะยินดีพร้อม จึงไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้ง ย่อมดับรอบเฉพาะตนเท่านั้น ภิกษุนั้นย่อมทราบชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่น เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี”

ท่านทั้งหลายจะเห็นว่า ใจความจากพุทธพจน์นี้ ย่อมทำให้เราสามารถทราบถึงกระบวนการแห่งปฏิจจสมุปบาทได้อย่างแจ่มชัดขึ้น กล่าวคือ หากละ “ตัณหา” เสียได้ “อารมณ์” ย่อมขาดสูญ เพราะที่ตั้งแห่งวิญญาณ ที่เกิดจากการกระทำซึ่งอาศัยตัณหา ย่อมไม่มี !!!!
แปลความได้ว่า ในขั้นแรก จาก รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ .... ตรงนี้เป็น จักขุวิญญาณ จริงครับ หากแต่ถ้า ละ “ตัณหา” ไปเสียได้ “อารมณ์” (ในกรณีนี้หมายถึงรูป) ก็ย่อมขาดสูญ จักขุวิญญาณดับไป ไม่มีการสืบต่อ แต่ถ้าเป็นไปในทางตรงข้าม ความประชุมของ รูป+จักษุ+จักขุวิญญาณ ย่อมเกิดเป็น ผัสสะ .... >>> เวทนา .... >>> ตัณหา ซึ่งเป็นความเกิดแห่งทุกข์ ดังนี้ ....

“พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ความเกิดขึ้นแห่งทุกข์เป็นไฉน. เพราะอาศัยจักษุและรูป จึงเกิดจักขุวิญญาณ ความประชุมแห่งธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา ภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เพราะอาศัยหูและเสียง . . . เพราะอาศัยจมูก และกลิ่น . . . เพราะอาศัยลิ้นและรส . . . เพราะอาศัยกายและโผฏฐัพพะ เพราะอาศัยใจและธรรม จึงเกิดมโนวิญญาณ ความประชุมแห่งธรรม ๓
ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา ภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์”(อ้างจาก ทุกขนิโรธสูตร)

แต่สิ่งที่ท่านทั้งหลายจำต้องทำความเข้าใจให้ดีก็คือ ในขณะ ผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา และ เวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา นั้น ที่แท้มันมีรายละเอียดซับซ้อนกว่าที่เห็นจากตำราตามที่ท่องจำกันมาว่า ปฏิจจสมุปบาท มี ๑๒ อาการ นะจ๊ะ ....

“เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ฯ”

ทั้งนี้เพราะถ้าเราเอาแต่ท่องตามตำราเท่าที่เห็นกันอยู่โดยทั่วไป ก็อาจทำให้เข้าใจผิดไปได้ว่า “กรรมวิญญาณที่อาศัยตัณหา” ในกรณีของ “รูป ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ” จาก สักกสูตร นั้นหมายถึง จักขุวิญญาณ มิใช่ มโนวิญญาณ (ตามคำของท่านพุทธทาส)
แต่ถ้าหากท่านทั้งหลาย ได้มีโอกาสพิจารณาพุทธพจน์จาก สฬายตนวิภังคสูตร ก็จะได้ความว่า ในขั้นตอน “เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา” นั้นมิได้เกิดขึ้นลอยๆ และก็มิได้มีเพียงขั้นตอนเดียว ดังที่เห็นอยู่และท่องจำกันอย่างผิวเผินเหมือนพวกนักอภิธรรม(เฟ้อ)ทั้งหลาย หากแต่ ปฏิจจสมุปบาท กลับมีความซับซ้อนลุ่มลึกยิ่งกว่านั้น ดังที่ พุทธพจน์ ตรัสว่า เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา ก็มิได้หมายความว่า ในขั้นตอนนี้ มีแต่เพียง ผัสสะ และ เวทนา เท่านั้น เพราะในความเป็นจริงกลับปรากฏว่า การที่จะเกิดเวทนาขึ้นมาได้นั้น ย่อมต้องอาศัย “มโนปวิจาร” เป็นเหตุปัจจัยร่วม (โดย)เป็นที่ตั้งแห่ง เวทนา ดังนี้

“ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบความนึกหน่วงของใจ ๑๘ นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว คือ เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ ใจย่อมนึกหน่วงรูปเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส นึกหน่วงรูปเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส นึกหน่วงรูปเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา.
เพราะฟังเสียงด้วยโสต...
เพราะดมกลิ่นด้วยฆานะ...
เพราะลิ้มรสด้วยชิวหา...
เพราะถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย...
เพราะรู้ธรรมารมณ์ด้วยมโน ใจย่อมนึกหน่วงธรรมารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส นึกหน่วงธรรมารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส นึกหน่วงธรรมารมณ์ เป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา. ฉะนั้น เป็นความนึกหน่วงฝ่ายโสมนัส ๖ ฝ่ายโทมนัส ๖ ฝ่ายอุเบกขา ๖. ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบความนึกหน่วงของใจ ๑๘ นั้น เราอาศัยความนึกหน่วงนี้ กล่าวแล้ว” (สฬายตนวิภังคสูตร)

หากท่านทั้งหลายยังระลึกได้ ย่อมไม่ลืมว่า เมื่อแรกเริ่มนั้น “จักขุวิญญาณ” พร้อมทั้ง รูป และ จักษุ เป็นเหตุปัจจัยให้เกิด ผัสสะ จากนั้นมีคำอธิบายว่า เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา ขอให้ท่านทั้งหลายจงสังเกตให้ดีๆที่เดียวว่า เวทนาในขั้นตอนนี้ เป็นเพียงแค่เวทนาทางกาย อันเนื่องมาจาก “จักขุวิญญาณ” ที่ประกอบกับ รูปและจักษุ(เกิดเป็นผัสสะ) แต่หากบุคคลผู้เห็นรูปนั้นเป็นพระอรหันต์ กระบวนการของปฏิจจสมุปบาท จะจบวงจรแต่เพียงเท่านั้น ไม่มีการสืบต่อ สมดังพุทธพจน์จาก อุปายสูตร ความว่า “ถ้าความกำหนัดในรูปธาตุ เป็นอันภิกษุละได้แล้วไซร้ เพราะละความกำหนัดเสียได้ อารมณ์ย่อมขาดสูญ ที่ตั้งแห่งวิญญาณย่อมไม่มี ฯ” กรณีอย่างนี้ จึงอาจกล่าวได้ว่า พระอรหันต์นั้น มีแต่เพียงเวทนาทางกาย แต่ไม่มีเวทนาทางใจ
แต่ในกรณีของปุถุชนทั่วไป วงจรปฏิจจสมุปบาท มิได้ขาดตอนลงเพียงเท่านี้ เพราะด้วยความนึกหน่วงในอารมณ์(คือรูปในกรณีนี้) ย่อมเป็นที่ตั้งแห่ง เวทนา(ทางใจ) ซึ่งถ้าพิจารณาให้ดีแล้ว ย่อมเห็นได้อย่างชัดเจนว่า มโนปวิจาร(ความนึกหน่วง) นี้ย่อมมิใช่ จักขุวิญญาณ ซึ่งเป็นความรับรู้ทางกาย หากแต่เป็น มโนวิญญาณ คือความรับรู้ทางใจ นั้นต่างหาก และเมื่อพิจารณาพุทธพจน์จาก สักกสูตร ที่ตรัสว่า ....

(๑) รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก อาศัยความใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ หากภิกษุเพลิดเพลินสรรเสริญ หมกมุ่น พัวพันรูปนั้นอยู่ เมื่อเธอเพลิดเพลินสรรเสริญ หมกมุ่น พัวพันรูปนั้นอยู่
(๒) วิญญาณอันอาศัยตัณหานั้นย่อมมี อุปาทานอันอาศัยตัณหานั้นก็ย่อมมี

ขอให้ท่านทั้งหลายจงพิจารณาให้ดีว่า ความในข้อที่ ๑ นั้น กินใจความทั้งเวทนาทางกายและทางใจเอาไว้พร้อมแล้ว ซึ่งถ้าเป็นคนที่มีความรู้ความเข้าใจในปฏิจจสมุปบาทอย่างผิวเผิน ก็ย่อมไม่ทราบความข้อนี้ อันอาจนำมาสู่การ กล่าววาจาจาบจ้วงพระมหาเถระ(ท่านพุทธทาส) อย่างโง่เขลาและไม่สมควร
ทั้งนี้ เวทนาทางกายอันเนื่องมาจาก จักขุวิญญาณ นั้นย่อมดับไปแล้วเสียแต่แรก ถ้าเป็นกรณีของพระอรหันต์ ก็ย่อมไม่มีการสืบต่อ เนื่องจากขาด ความกำหนัดเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ แต่ในกรณีของปุถุชน ย่อมมี มโนปวิจาร เป็นเหตุปัจจัยเพิ่มเข้ามา ซึ่งการกระทำทางใจ(กรรมวิญญาณ) โดยการนึกหน่วงอารมณ์คือรูป(ในกรณีนี้) ย่อมเป็นที่ตั้งแห่ง เวทนา(ทางใจ) และ เวทนา อันนี้ต่างหาก ที่เป็นเหตุปัจจัยแก่ “ตัณหา” ตัวจริงเสียงจริง อันจะก่อให้เกิด อุปทาน ภพ ชาติ ฯลฯ
ดังนั้น พุทธพจน์ จากสักกสูตร ข้อ ๒ ที่แปลไว้ว่า “วิญญาณอันอาศัยตัณหานั้นย่อมมี อุปาทานอันอาศัยตัณหานั้นก็ย่อมมี” (พระไตรปิฎกแปลไทย) นั้นแปลถูกเพียงแค่ครึ่งเดียวในความข้อหลังที่ว่า อุปาทานอันอาศัยตัณหา(ก็ย่อมมี) แต่การแปลพุทธพจน์จาก สักกสูตร ความว่า วิญญาณอันอาศัยตัณหานั้น(ย่อมมี) ตรงนี้ยังแปลไม่ครบถ้วนนัก เพราะพุทธพจน์จาก สฬายตนวิภังคสูตรได้อธิบายเอาไว้ชัดเจนทีเดียวถึง มโนปวิจาร อันเป็นเหตุปัจจัยของ เวทนา(ทางใจ)
แต่รูป อันเป็นอารมณ์ของ มโนปวิจาร นี้ย่อมตั้งอยู่มิได้เลยหากขาดซึ่ง ความกำหนัดพอใจ ตามความจาก อุปายสูตร ดังนั้น จึงสามารถแปลความได้ว่า ความกำหนัดพอใจในอารมณ์นั้นๆ กับ มโนปวิจารเป็นเหตุปัจจัยซึ่งกันและกัน และเพราะมี ความกำหนัดพอใจ นี้เอง มโนวิญญาณในอารมณ์คือรูป จึงยังสามารถตั้งอยู่ได้ เมื่อมโนวิญญาณมีอยู่ ความกำหนัดพอใจในอารมณ์คือรูปก็มีอยู่ นี่จึงเป็นเหตุปัจจัยให้เกิด อุปาทาน ในอารมณ์คือรูปนั้น
กล่าวโดยสรุปก็คือ ความจากพระไตรปิฎกแปลไทย มีความมุ่งหมายที่จะอธิบายว่า ตราบเท่าที่ยังมี วิญญาณและตัณหา ก็ย่อมต้องมี อุปาทาน อยู่ตราบนั้น ที่นี้ท่านผู้แปล(พระไตรปิฎก) กล่าวถึงแต่เพียงว่า วิญญาณอันอาศัยตัณหา โดยเข้าใจไปว่า ผู้อ่านย่อมทราบดีอยู่แล้วว่า ตัณหานั้นเองก็ต้องอาศัยวิญญาณ(คือ มโนปวิจาร หรือ ที่อรรถกถาเรียกว่า กรรมวิญญาณ) เป็นเหตุปัจจัย
แต่ในอันที่จริงแล้ว เมื่อได้พิจารณา ข้อความคำอธิบายจากอรรถกถา ความว่า …. “บทว่า ตํ นิสฺสิตํ วิญฺญาณํ โหติ ได้แก่ กรรมวิญญาณที่อาศัยตัณหา” โดยคำว่า กรรมวิญญาณ ก็น่าจะสามารถทำให้เข้าใจในกระบวนการที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังได้เป็นอย่างดีอยู่แล้ว และถ้าเข้าใจในความข้อนี้เป็นอย่างดี ก็ไม่น่าที่จะต้องมาก่นด่าท่านพุทธทาส ให้เปลืองพื้นที่นรก แบบโง่ๆอย่างนี้เลย เพราะในอันที่จริง การที่ท่านพุทธทาส ซึ่งแปลพุทธพจน์นี้ว่า .... “วิญญาณ อันตัณหาในอารมณ์(คือรูปฯ) อาศัยแล้วย่อมมีแก่เธอ วิญญาณนั้นคือ อุปาทาน” ก็ย่อมเป็นการแปลความ ที่สามารถอธิบายกระบวนการที่แท้จริงของวงจรปฏิจจสมุปบาท ได้อย่างถูกต้องและครบถ้วนดีอยู่แล้ว
และถ้าผมอธิบายมาจนถึงป่านนี้แล้ว ยังไม่อาจเข้าใจได้อีกว่า วิญญาณอันประกอบด้วย ตัณหาในอารมณ์คือรูปนี้เองที่เป็น อุปาทาน ก็ขอให้ไปลาหมาตายเสียเถิด อย่าได้ เสนอหน้ามาวิพากษ์วิจารณ์ ท่านพุทธทาส โดยเนื่องกับ ปฏิจจสมุปบาท ให้บาปปากไปมากกว่านี้เลย .... เห็นแล้ว น่าสมเพชเวทนา จริงๆ
ขอให้ท่านทั้งหลายจงพิจารณาดูทีเถิดว่า ความตั้งมั่นแห่ง วิญญาณ อันเนื่องกับ กรรมวิญญาณ หรือ มโนปวิจาร นั้นเอง เมื่อประกอบด้วย ความกำหนัดยินดี ความเพลิดเพลิน ก็ย่อมหมายถึง ตัณหา และ อุปาทาน มิได้เป็นอย่างอื่นเลย ....

“พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมจงใจ ย่อมดำริ และครุ่นคิดถึงสิ่งใด สิ่งนั้นเป็นอารัมมณปัจจัยเพื่อความตั้งอยู่แห่งวิญญาณ เมื่อมีอารัมมณปัจจัย ความตั้งมั่นแห่งวิญญาณจึงมี เมื่อวิญญาณนั้นตั้งมั่นแล้ว เจริญขึ้นแล้ว ความบังเกิดคือภพใหม่ต่อไปจึงมี เมื่อมีความบังเกิดคือภพใหม่ต่อไป ชาติ ชราและมรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาส จึงมีต่อไป ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่จงใจ ไม่ดำริ แต่ยังครุ่นคิดถึงสิ่งใด สิ่งนั้นเป็นอารัมมณปัจจัยเพื่อความตั้งอยู่แห่งวิญญาณ เมื่อมีอารัมมณปัจจัย ความตั้งมั่นแห่งวิญญาณจึงมี เมื่อวิญญาณนั้นตั้งมั่นแล้ว เจริญขึ้นแล้ว ความบังเกิดคือภพใหม่ต่อไปจึงมี เมื่อมีความบังเกิดคือภพใหม่ต่อไป ชาติ ชราและมรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาสจึงมีต่อไป ความเกิดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.(ปฐมเจตนาสูตร)

ความกำหนัดยินดีใน มโนวิญญาณ อันเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทานนี้เอง ที่เราเรียกกันว่า “อุปาทาน” สมดังที่พระพุทธองค์ตรัสกับภิกษุทั้งหลาย ดังนี้ว่า ….

“ดูกรภิกษุ ความกำหนัดพอใจ ในอุปาทานขันธ์ ๕ นั่นแล เป็นตัวอุปาทานในอุปาทานขันธ์ ๕ นั้น ฯ” (อ้างจาก มหาปุณณมสูตร)

เมื่อเราทราบแล้วว่า มโนวิญญาณ ตามคำของท่านพุทธทาส ก็คือคำว่า กรรมวิญญาณ ตามคำของอรรถกถา ประเด็นที่จะต้องพิจารณาก็คือ กรรมวิญญาณที่อาศัยตัณหา นั้นคืออย่างไร (?)

ถ้าให้ตอบ สั้นๆง่ายๆ แบบกำปั้นทุบดิน ก็คือ .... อุปาทาน

ต่อไปนี้ ขอให้ท่านทั้งหลาย ได้มีโอกาสร่วมกันพิจารณา พุทธพจน์จาก สมาธิสูตร(ว่าด้วยสมาธิเป็นเหตุเกิดปัญญา) ความว่า ....

“ .... ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลในโลกนี้ ย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำถึง ย่อมดื่มด่ำอยู่ ก็บุคคลย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำถึง ย่อมดื่มด่ำอยู่ ซึ่งอะไร. ย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำถึง ย่อมดื่มด่ำอยู่ซึ่งรูป ฯลฯ .... ย่อมเพลิดเพลินซึ่งเวทนา ฯลฯ .... ย่อมเพลิดเพลินซึ่งสัญญา ฯลฯ ย่อมเพลิดเพลินซึ่งสังขาร ฯลฯ .... ย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำถึง ย่อมดื่มด่ำอยู่ซึ่งวิญญาณ เมื่อเพลิดเพลิน พร่ำถึง ดื่มด่ำอยู่ซึ่งวิญญาณ ความยินดีย่อมเกิดขึ้น ความยินดีในวิญญาณ นั่นเป็นอุปาทาน เพราะอุปาทานของบุคคลนั้นเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์โทมนัสและอุปายาส ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ”

พุทธพจน์ในส่วนนี้ เกิดจากการที่พระพุทธองค์ ตรัสสอนให้ภิกษุเจริญสมาธิ ความว่า …. เมื่อมีจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงของความเกิดและความดับแห่ง รูป เวทนา สัญญา สังขาร และ วิญญาณ และการที่จิตไม่อาจตั้งมั่นได้ ก็เนื่องจาก ความปรารถนายินดีในอารมณ์ (คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) ด้วยอำนาจของตัณหา ซึ่งความปรารถนายินดีนั้นเอง ที่พระพุทธองค์ตรัสว่า นั่นเป็นอุปาทาน !!!!

ทั้งนี้ อรรถกถาจารย์ได้อธิบายศัพท์ ตทุปาทานํ เอาใว้ดังนี้ว่า ....

บทว่า ตทุปฺปาทานํ คือ ชื่อว่าอุปาทานเพราะอรรถว่ายึดมั่นอารมณ์นั้น.

ดังนั้น การที่ท่านพุทธทาสกล่าวว่า วิญญาณนั้นคือ อุปาทาน จึงต้องอยู่ภายในเงื่อนไขที่ว่าเป็น วิญญาณ อันตัณหาในอารมณ์(คือรูปฯ) อาศัยแล้ว เท่านั้น มิใช่เป็นการยก “วิญญาณ” ขึ้นมาพูดลอยๆเสียเมื่อไร ซึ่งความข้อนี้ ก็สอดคล้องต้องกันทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นพุทธพจน์จาก สักกสูตร มหาตัณหาสังขยสูตร หรือ สมาธิสูตร

คำศัพท์ ตทุปาทานํ นั้น อรรถกถาจารย์ได้อธิบายว่าหมายถึง อุปาทานเพราะอรรถว่ายึดมั่นอารมณ์นั้น (สมาธิสูตร) หรือก็คือ ตัณหานั้นเอง(มหาตัณหาสังขยสูตร) ทั้งนี้ขอให้ทราบเอาใว้ด้วยว่าการเข้าไปถึงธรรมอันเป็นไปในภูมิ ๓ ด้วยอาการถือมั่นและยึดมั่นในธรรมเหล่านั้น(อุปาทานและอภินิเวส) มี ๒ คือ ตัณหาและทิฏฐิ(อ้างจาก กัจจานโคตตสูตร) โดยความยึดมั่นในอารมณ์ นอกจากจะหมายถึง ตัณหาและอุปาทานแล้ว ยังหมายรวมไปถึง ความยึดมั่นใน องค์ฌาน จนแม้แต่ความยึดมั่นในอารมณ์วิปัสสนานั้นด้วย สมดังที่ตรัสเอาใว้ดังนี้ว่า ....

“ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติแล้วอย่างนี้ ย่อมได้อุเบกขาโดยเฉพาะด้วยคิดว่า สิ่งที่ไม่มีก็ไม่พึงมีแก่เรา และจักไม่มีแก่เราเราจะละสิ่งที่กำลังมีอยู่ และมีมาแล้วนั้นๆเสีย เธอยินดี บ่นถึง ติดใจอุเบกขานั้นอยู่ เมื่อเธอยินดี บ่นถึง ติดใจ อุเบกขานั้นอยู่ วิญญาณย่อมเป็นอันอาศัยอุเบกขานั้น ยึดมั่นอุเบกขานั้น ดูกรอานนท์ ภิกษุผู้มีความยึดมั่นอยู่ ย่อมปรินิพพานไม่ได้”

อรรถกถาจารย์ได้อธิบายเพิ่มเติมเอาใว้ดังนี้ว่า ....

บทว่า ตทุปาทานํ ความว่า วิญญาณนั้น ชื่อว่าถือเอาด้วยการยึดมั่นวิปัสสนานั้น.
บทว่า น ปรินิพฺพายติ ความว่า ภิกษุผู้มีอาลัยในวิปัสสนา ย่อมไม่ปรินิพพานในศาสนาของเรา.

หมายความว่า พุทธพจน์ ต นิสฺสิตวิญฺาณ โหติ นี้เมื่อแปลโดยอรรถ ก็ได้ความหมายว่า อุปาทาน คำเดียวเท่านั้นเอง !!!!
การที่ท่านพุทธทาสแปลพระบาลีนี้ว่า “วิญญาณ อันตัณหาในอารมณ์(คือรูปฯ) อาศัยแล้วย่อมมีแก่เธอ วิญญาณนั้นคือ อุปาทาน” ก็ควรถือได้ว่า ท่านแปลด้วยความเมตตาต่อผู้อ่านเป็นอย่างยิ่ง โดยที่ท่านอุตส่าห์อธิบายขยายความ(ซึ่งอาจพบเห็นได้ในพระสูตรอื่นๆ) เพื่อให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจถึงกระบวนการที่เกิดขึ้นทั้งหมด ได้อย่างถูกต้องครบถ้วน
ทั้งนี้ ถ้าหากเราอ่านจากพระไตรปิฎกแปลไทย ความว่า .... “วิญญาณอันอาศัยตัณหานั้นย่อมมี อุปาทานอันอาศัยตัณหานั้นก็ย่อมมี” อย่างนี้แทบจะฟังไม่รู้เรื่องว่าอะไรเป็นอะไร และเมื่อเข้าไปอ่านเพื่มเติมจากอรรถกถา ก็ได้ความว่า “กรรมวิญญาณที่อาศัยตัณหา” ซึ่งถ้าท่านทั้งหลาย ไม่มีความรู้ความเข้าใจอะไรเลย ขอถามว่า ท่านทั้งหลายจะสามารถนึกถึงคำว่า “อุปาทาน” จากคำอธิบายของอรรถกถานี้ได้หรือไม่ (?) .... นี่เป็นคำถาม ที่ท่านจะต้องตอบกับตัวเอง ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต นะครับ !!!!

กล่าวโดยสรุปก็คือ ถ้อยคำดังกล่าวของท่านพุทธทาส ย่อมมิได้เกิดจากการแปลผิด หรือ มีเจตนาสอดแทรกความคิดเห็นของตน(หมายถึงท่านพุทธทาส)เข้าไปโดยพลการแต่อย่างใด ซึ่งก็ย่อมเป็นที่ชัดเจนอยู่ว่า “อรรถ” ของข้อความเหล่านั้น ล้วนแล้วแต่สอดคล้องกับพุทธพจน์จากพระสูตร(อื่นๆ) ซึ่งแน่นอนว่า คนที่มีความรู้น้อยอย่างนายระนาดเอกและพรรคพวก ก็ย่อมที่จะ “รู้” ไปไม่ถึงเป็นธรรมดา แปลความได้ว่าปัญหาที่สำคัญที่สุดอันนำมาสู่ข้อขัดแย้งเกี่ยวกับท่านพุทธทาสนั้น มักเกิดขึ้นมาจากว่า เหล่าบรรดาผู้คัดค้านโจมตีท่านพุทธทาสเหล่านั้น มิได้เป็น ผู้ฉลาดในปฏิจจสมุปบาท เสมอเหมือนดังที่ท่านพุทธทาสเป็นอยู่(โดยอนัตตภาวะ) นั่นเอง !!!!
ดังนั้น จึงไม่เป็นการแปลกประหลาดแต่อย่างใดเลย ที่คนเหล่านี้จะศึกษาคำสอนของท่านพุทธทาสแล้วไม่เข้าใจ แต่มันน่าสมเพชเวทนาก็ตรงที่ เมื่อโง่แล้วไม่รู้ตนเองว่าโง่ ดันมาทำอวดฉลาดโดยการใส่ร้ายกล่าวหาท่านพุทธทาส ด้วยข้อความอันเป็นเท็จไร้สาระ ดังที่ปรากฏให้เห็นอยู่อย่างเกลื่อนกล่นในปัจจุบันนี้ ....
ผมได้อธิบายมามากจนเกินพอดีแล้ว หวังว่าท่านทั้งหลายจะสามารถเข้าใจได้ตามสมควร ส่วนที่ว่า ใครคนใดจะยังดันทุรัง โจมตีกล่าวร้ายท่านพุทธทาสด้วยประเด็นนี้(ทั้งๆที่น่าจะยุติได้แล้ว) นั่นต้องถือว่า เป็นเวรเป็นกรรมของเขาเอง ซึ่งเราก็คงไปทำอะไร(เขา)มิได้ สมดังที่พระพุทธองค์ได้เคยตรัสเอาไว้ว่า .... “บุคคลใด เมื่อพระตถาคตบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก กระทำให้ตื้นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่รู้ ไม่เห็น เราจะกระทำอะไรได้กะบุคคลนั้น ผู้เป็นปุถุชนคนพาล บอด ไม่มีจักษุ ไม่รู้ ไม่เห็น” (อ้างจาก ปุปผสูตร)



ความคิดเห็นที่ 53

ทีนี้ พระไตรปิฎกภาษาไทย แปลพระบาลีว่า วิญญาณอาศัยตัณหา อุปาทานอันอาศัยตัณหา(นั้นก็ย่อมมี)

แต่ ท่านพุทธทาสแปลว่า ตัณหาอาศัยวิญญาณ วิญญาณนั้นคืออุปาทาน

ไม่ต้องสนใจว่า คุณจะมีความรู้บาลีหรือไม่ ไม่จำเป็น ผมเองก็ไม่รู้ภาษาบาลี

ผมจะขอถามคุณบุญเรือง หรือคุณจันทร์สุขสดใส หรือใครก็ตามที่คิดหรือมีเหตุผลว่า ท่านพุทธทาสไม่ได้แปลพระบาลีเอาเอง โดยใส่ความคิดเห็นส่วนตัวลงไป

คำถามคือ..

เด็กทารกแรกเกิด ครั้งแรกที่ร้องไห้จ้า .. อากัปกิริยาของเด็กทารก (แน่ล่ะ ต้องอาศัยวิญญาณ หรือจิต)

ถ้า วิญญาณคืออุปาทาน อย่างที่ท่านพุทธทาสแปลพระไตรปิฎกไปอย่างนั้น

ในเมื่อเด็กทารกยังไม่เคยเรียนรู้อะไรเลย แล้ว..

อุปาทานของเด็ก มาจากไหน เกิดขึ้นได้อย่างไร ?

จากคุณ : ระนาดเอก
เขียนเมื่อ : 18 พ.ค. 54 04:33:52







คำถามข้างบนนี้ นายระนาดเอก เขาถามเอากับ คุณ บุญเรือง และ คุณจันทร์สุขสดใส แต่ผมก็ถือโอกาส “เสือก” ตอบไปเสียในคราวเดียวกันนี้เลย เพื่อให้มัน “จบ” กันเป็นเรื่องๆ ไป

ที่จริงแล้ว ปัญหาข้อนี้ มิได้มีความยุ่งยากซับซ้อนอะไรเลย ถ้าหากว่า นายระนาดเอก และพรรคพวก(ที่เห่อเหิมหนุนหน้าหนุนหลังกันอยู่) จะไม่ไปเสียเวลาอยู่กับ อภิธรรม(เฟ้อ) โดยเอาเวลาเท่าที่มีอยู่ไปศึกษาพุทธพจน์โดยตรงจากพระสูตรพระวินัย เพื่อประกอบการพิจารณาโดยแยบคายในใจ อย่างปราศจาก “อคติ” ทั้งปวง อันอาจนำมาซึ่งความคิดปรุงแต่ง ที่เลยเถิดออกไปจากพระธรรมวินัย จนอาจกลายเป็น มิจฉาทิฐิไปในที่สุด .... หึหึหึหึ

ขอให้ท่านทั้งหลาย จงพิจารณาพุทธพจน์จาก มหามาลุงกโยวาทสูตรสูตร ดังต่อไปนี้ ....

“ดูกรมาลุงกยบุตร นักบวช พวกอัญญเดียรถีย์จักโต้เถียง ด้วยคำโต้เถียงอันเปรียบด้วยเด็กนี้ได้ มิใช่หรือว่า
แม้แต่ความคิดว่า กายของตน ดังนี้ ย่อมมีแก่เด็กกุมารอ่อนผู้ยังนอนหงายอยู่ ก็สักกายทิฏฐิจักเกิดขึ้นแก่เด็กนั้นแต่ที่ไหน ส่วนสักกายทิฏฐิอันเป็นอนุสัยเท่านั้น ย่อมนอนตามแก่เด็กนั้น
แม้แต่ความคิดว่า ธรรมทั้งหลายดังนี้ ย่อมไม่มีแก่เด็กกุมารอ่อนผู้ยังนอนหงายอยู่ ก็ความสงสัยในธรรมทั้งหลาย จักเกิดขึ้นแก่เด็กนั้นแต่ที่ไหน ส่วนวิจิกิจฉาอันเป็นอนุสัยเท่านั้น ย่อมนอนตามแก่เด็กนั้น
แม้แต่ความคิดว่า ศีลทั้งหลายดังนี้ ย่อมไม่มีแก่เด็กกุมารอ่อนผู้ยังนอนหงายอยู่ สีลัพพตปรามาสในศีลทั้งหลาย จักเกิดขึ้นแก่เด็กนั้นแต่ที่ไหน ส่วนสีลัพพตปรามาสอันเป็นอนุสัยเท่านั้น ย่อมนอนตามแก่เด็กนั้น
แม้แต่ความคิดว่า กามทั้งหลาย ดังนี้ ย่อมไม่มีแก่เด็กกุมารอ่อนยังนอนหงายอยู่ ก็กามฉันทะในกามทั้งหลาย จักเกิดขึ้นแก่เด็กนั้นแต่ที่ไหน ส่วนกามราคะอันเป็นอนุสัยเท่านั้น ย่อมนอนตามแก่เด็กนั้น
แม้แต่ความคิดว่า สัตว์ทั้งหลาย ดังนี้ ย่อมไม่มีแก่เด็กกุมารอ่อนผู้ยังนอนหงายอยู่ ก็ความพยาบาท ในสัตว์ทั้งหลายจักเกิดขึ้นแก่เด็กนั้นแต่ที่ไหน ส่วนพยาบาทอันเป็นอนุสัยเท่านั้น ย่อมนอนตามแก่เด็กนั้น ฯลฯ”

สรุปความก็คือ ท่านพระมาลุงกยบุตร มีความเห็นผิดไปว่า บุคคลจะประกอบไปด้วยกิเลสก็เฉพาะตอนที่ถูกกิเลสครอบงำเท่านั้น ในขณะอื่นๆ ย่อมไม่ได้ชื่อว่าประกอบไปด้วยกิเลส พระพุทธองค์จึงตรัสแสดงให้เห็นว่า เด็กไม่มีกิเลสจริงหรือไม่ โดยตรัสว่า “มีกิเลสที่เป็นอนุสัย แฝงตัวนอนเนื่องอยู่” นั่นจึงหมายความว่า อุปาทาน ตามหลักการอธิบาย ปฏิจจสมุปบาท แบบ ตัณหามูล ที่ท่านพุทธทาสกล่าวว่า หมายถึง วิญญาณ อันตัณหาในอารมณ์(คือรูปฯ) อาศัยแล้ว นั้นแม้ยังไม่ปรากฏในชั้นเด็กทารกที่ยังไม่ประสา แต่เหตุปัจจัยของ ตัณหา อุปาทาน ฯ ล้วนแล้วแต่ได้แฝงตัวนอนเนื่องเป็นอนุสัย อยู่ในเด็กนั้นแล้ว ซึ่งนี่เป็นการกล่าวตามพุทธพจน์ จะเชื่อหรือไม่ ย่อมเป็นภาระที่ท่านทั้งหลายจะต้องพิจารณาโดยแยบคายในใจเอาเอง
ขออธิบายซ้ำอีกทีว่า ตามหลักการอธิบาย ปฏิจจสมุปบาท แบบ ตัณหามูลนั้น วงจรปฏิจจสมุปบาท จะเริ่มต้นขึ้น เมื่อตอนที่เริ่มรู้จัก โลภโกรธหลง แล้ว ซึ่งก็เป็นการกล่าวอธิบายตามแนวพุทธพจน์จาก มหาตัณหาสังขยสูตร หาได้เป็นการพูดเอาเองตามใจชอบแต่อย่างใดไม่ กล่าวคือ ....

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย น้ำนมของมารดานับเป็นโลหิตในอริยวินัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย กุมารนั้นอาศัยความเจริญและความเติบโตแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย ย่อมเล่นด้วยเครื่องเล่นสำหรับกุมาร คือ ไถเล็ก ตีไม้หึ่ง หกขะเมน จังหัน ตวงทราย รถเล็ก ธนูเล็ก
ดูกรภิกษุทั้งหลาย กุมารนั่นนั้นอาศัยความเจริญและความเติบโตแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย พรั่งพร้อมบำเรออยู่ด้วยกามคุณ ๕ คือ รูปที่รู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ น่ารัก ประกอบด้วยกามเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดและความรัก เสียงที่รู้แจ้งด้วยโสต ... กลิ่นที่รู้แจ้งด้วยฆานะ ... รสที่รู้แจ้งด้วยลิ้น ... โผฏฐัพพะที่รู้แจ้งด้วยกาย อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจน่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดและความรัก กุมารนั้น เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อมกำหนัดในรูปที่น่ารัก ย่อมขัดเคืองในรูปที่น่าชัง ย่อมเป็นผู้มีสติในกายไม่ตั้งมั่น และมีจิตเป็นอกุศลอยู่ ย่อมไม่ทราบชัดเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับหมดแห่งเหล่าอกุศลธรรมอันลามก ตามความเป็นจริง เขาเป็นผู้ถึงพร้อมซึ่งความยินดียินร้ายอย่างนี้ เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ดี ย่อมเพลิดเพลิน บ่นถึง ติดใจเวทนานั้นอยู่ เมื่อกุมารนั้นเพลิดเพลิน บ่นถึง ติดใจเวทนานั้นอยู่ ความเพลิดเพลินก็เกิดขึ้น ความเพลิดเพลินในเวทนาทั้งหลายเป็นอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส ความเกิดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้อย่างนี้ กุมารนั้น ได้ยินเสียงด้วยโสต ... ดมกลิ่นด้วยฆานะ ลิ้มรสด้วยลิ้น ... ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ... รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ย่อมกำหนัดในธรรมารมณ์ที่น่ารัก ย่อมขัดเคืองในธรรมารมณ์ที่น่าชัง ย่อมเป็นผู้มีสติในกายไม่ตั้งมั่น และมีจิตเป็นอกุศลอยู่ ย่อมไม่ทราบชัดเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับหมดแห่งเหล่าอกุศลธรรมอันลามกตามความเป็นจริง เขาเป็นผู้ถึงพร้อมซึ่งความยินดียินร้ายอย่างนี้เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดีมิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ดี ย่อมเพลิดเพลิน บ่นถึง ติดใจ เวทนานั้นอยู่ เมื่อกุมารนั้นเพลิดเพลิน บ่นถึง ติดใจเวทนานั้นอยู่ ความเพลิดเพลินก็เกิดขึ้น ความเพลิดเพลินในเวทนาทั้งหลายเป็นอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์โทมนัสและอุปายาส ความเกิดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้ อย่างนี้”


สรุปก็คือ การที่ท่านพุทธทาส เน้นการสอนปฏิจจสมุปบาทแบบตัณหามูล โดยเว้นการอธิบายแบบคร่อมภพชาติ เนื่องจาก ….
(๑) อาจเป็นเหตุนำมาสู่ สัสสตทิฐิ ในหมู่คนโง่
(๒) ไม่ควรเสียเวลากับเรื่องชาตินี้ชาติหน้า ซึ่งไม่สามารถพิสูจน์ให้เห็นจริงได้
โดยวงจรปฏิจจสมุปบาทแบบตัณหามูล จะเริ่มต้นขึ้นเมื่อตอนที่เริ่มรู้จัก โลภโกรธหลง แล้วเท่านั้น แต่นั่นก็มิได้หมายความว่า วงจรปฏิจจสมุปบาทแบบอวิชชามูล จะไม่มีอยู่ กล่าวคือมันมีอยู่ แต่ก็ไม่สามารถอธิบายโดยการพิสูจน์ให้เห็นจริงได้เท่านั้น หมายความว่า ถ้าหากจะดึงดันอธิบาย ปฏิจจสมุปบาทแบบอวิชชามูลให้ได้ ก็ไม่มีปัญหาอะไรกับตัวผู้สอนหรอก แต่ปัญหามันจะเกิดกับตัวผู้ฟังเอง กล่าวคือ ตราบใดที่ยังไม่พ้นวิสัยปุถุชน คุณก็ต้องรับฟัง ปฏิจจสมุปบาทแบบอวิชชามูล โดยอาศัย “ความเชื่อ” แต่เพียงถ่ายเดียว(สุตมยปัญญา) โดยที่มิอาจพัฒนาความรู้ความเข้าใจขึ้นไปสู่ “จินตมยปัญญา” อย่างถูกต้องสมบูรณ์ไปได้เลย(ส่วนภาวนามยปัญญา ไม่ต้องพูดถึง) ดังที่ นายระนาดเอกและพรรคพวก ก็ได้แสดงให้เห็นแล้วถึง มิจฉาทิฐิ ของพวกเขาเอง อันเกิดจากความคิดฟุ้งซ่าน ที่เลยเถิดไปจาก พุทธพจน์ ซึ่งตรัสไว้ดีแล้ว ดังที่ปรากฏอยู่ในพระสูตรและพระวินัย นั่นเอง



หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ท่านทั้งหลายจะสามารถทำความเข้าใจได้ตามสมควร

Ritti Janson




http://www.oknation.net/blog/SiamBhikhunis

http://rittijanson.blogspot.com/