วันจันทร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

อัญญเดียรถีย์ ๒ ตน กับ มหามาลุงกโยวาทสูตร

เนื่องจาก มีอัญญเดียรถีย์สองตน(นาย ระนาดเอก และ นายเฉลิมศักดิ์1) อ่านข้อความจาก มหามาลุงกโยวาทสูตร แล้วไม่เข้าใจ จนนำไปสู่การกล่าวตู่พุทธพจน์ และกล่าววาจาจาบจ้วงพระเถระอย่างน่าสมเพชไร้ยางอาย จึงมีความจำเป็นที่จะต้องอธิบายขยายความกันตามสมควร ดังนี้ ....

ที่จริงแล้ว ถ้าเป็นผู้มีสัมมาทิฐิ หรือฉลาดในพุทธพจน์สักหน่อย ก็ย่อมที่จะสามารถเข้าใจในพุทธพจน์ส่วนนี้ได้ไม่ยาก เนื่องจากในเบื้องต้น พระพุทธองค์ก็ตรัสออกมาอย่างชัดเจนว่า ….

“ดูกรมาลุงกยบุตร นักบวช พวกอัญญเดียรถีย์จักโต้เถียง ด้วยคำโต้เถียง อันเปรียบด้วยเด็กนี้ได้ มิใช่หรือ(ว่า) ....”

ความหมายก็คือ พวกอัญญเดียรถีย์ มักนำเอากรณีของเด็กเล็ก(ทารก)นี้เองมาโต้แย้งว่า จะมี(โอรัมภาคิย)สังโยชน์ได้อย่างไร ก็ในเมื่อเด็กเหล่านั้นไม่มีแม้แต่ความคิดว่า ....

(๑) กายของตน
(๒) ธรรมทั้งหลาย
(๓) ศีลทั้งหลาย
(๔) กามทั้งหลาย
(๕) สัตว์ทั้งหลาย

ซึ่งเมื่อเป็นดังนี้แล้ว ….

(๑) สักกายทิฏฐิ
(๒) ความสงสัยในธรรมทั้งหลาย
(๓) สีลัพพตปรามาสในศีลทั้งหลาย
(๔) กามฉันทะในกามทั้งหลาย
(๕) ความพยาบาท ในสัตว์ทั้งหลาย

จักเกิดขึ้นแก่เด็กนั้นแต่ที่ไหน (?)

โดยประเด็นสำคัญ ก็อยู่ตรงถ้อยคำที่กล่าวต่อมา ดังนี้ว่า ....

(๑) ส่วน สักกายทิฏฐิ อันเป็นอนุสัยเท่านั้น ย่อมนอนตามแก่เด็กนั้น
(๒) ส่วน วิจิกิจฉาอัน เป็นอนุสัยเท่านั้น ย่อมนอนตามแก่เด็กนั้น
(๓) ส่วน สีลัพพตปรามาส อันเป็นอนุสัยเท่านั้น ย่อมนอนตามแก่เด็กนั้น
(๔) ส่วน กามราคะ อันเป็นอนุสัยเท่านั้น ย่อมนอนตามแก่เด็กนั้น
(๕) ส่วน พยาบาท อันเป็นอนุสัยเท่านั้น ย่อมนอนตามแก่เด็กนั้น

ข้อความตรงส่วนนี้เอง ที่อัญญเดียรถีย์ทั้งสองตน อ่านแล้วไม่เข้าใจ กล่าวคือ อัญญเดียรถีย์ทั้งสองตน อ้างว่า ถ้อยคำในส่วนนี้เป็นคำของอัญญเดียรถีย์ มิใช่พุทธพจน์ !!!!

แต่ในความเป็นจริงก็คือ ข้อความในส่วนนี้จะนับว่าเป็นพุทธพจน์ก็ได้ หรืออาจกลายเป็นคำของอัญญเดียรถีย์ก็ได้ ซึ่งนั่นก็ขึ้นอยู่กับว่า แต่ละคนเมื่ออ่านข้อความตรงนี้แล้ว มีความเข้าใจต่อพุทธพจน์นี้อย่างไร (?)
หมายความว่า ถ้าเข้าใจถูกต้องและตรง ข้อความนี้ก็จัดเป็นพุทธพจน์ แต่หาก เข้าใจไม่ตรงและไม่ถูกต้อง ข้อความนี้ ก็จะกลายเป็นทิฐิของอัญญเดียรถีย์ ไปในทันที !!!!

ที่จริงแล้ว ถ้าหากพิจารณาคำอธิบายจากอรรถกถา เราก็สามารถรู้ได้โดยไม่ยากเลยว่า เราเข้าใจถูกต้องตรงตามพุทธพจน์ หรือไม่ (?)
ขอให้พิจารณาอรรถกถา เป็นลำดับ ดังนี้ ….

(๑) แม้พระเถระก็พยากรณ์สังโยชน์เท่านั้น. แม้เมื่อเป็นเช่นนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกโทษในวาทะของใคร. เพราะเหตุไร จึงทรงยกโทษพระเถระนั้นเล่า. เพราะพระเถระถือลัทธิอย่างนั้น.เพราะนี้เป็นลัทธิของพระเถระนั้น. พระเถระเป็นผู้ชื่อว่าประกอบด้วยกิเลสในขณะประพฤตินั่นเอง. ไม่ประกอบในขณะนอกนี้. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงยกโทษแก่พระเถระนั้น.

จากอรรถกถาตรงนี้ ก็ชัดเจนว่าท่านพระมาลุงยกบุตรนั้น มีความเห็นผิดดังนี้ว่า คนจะประกอบไปด้วยกิเลส ก็เฉพาะในขณะที่มีความประพฤติ(อันเนื่องจากกิเลส)เท่านั้น หมายความว่า ท่านมาลุงกยบุตรมีความเห็นผิด ซึ่งตรงกันกับพวกอัญญเดียรถีย์ที่มักยกข้ออ้างขึ้นมาว่า เด็กทารก จะมีสังโยชน์ได้อย่างไร ก็ในเมื่อเด็กเหล่านั้นยังไม่รู้ความ แล้วจะไปเอากิเลสมาจากไหน (แต่ในความเป็นจริง แม้ไม่ปรากฏ สังโยชน์ ในเด็กนั้น แต่ก็มี อนุสัย นอนเนื่องอยู่ ซึ่งท่านมาลุงกยบุตรไม่ทราบความข้อนี้)

(๒) อนึ่ง ในสูตรนี้เพราะบาลีว่า สานุสยา ปหียติ สักกายทิฏฐิพร้อมด้วยอนุสัย อันพระอริยบุคคลละได้แล้ว อาจารย์บางพวกกล่าวว่า สังโยชน์เป็นอย่างหนึ่ง อนุสัยเป็นอย่างหนึ่ง. เหมือนเมื่อกล่าวว่า ภัตพร้อมด้วยกับ.กับข้าวเป็นอย่างอื่นจากภัตฉันใด. ลัทธิของอาจารย์เหล่านั้นว่า อนุสัยพึงเป็นอย่างอื่นจากสักกายทิฏฐิอันกลุ้มรุม เพราะบาลีว่า สานุสยา พร้อมด้วยอนุสัยก็ฉันนั้น. อาจารย์เหล่านั้นปฏิเสธด้วยบทมีอาทิว่า สสีสํ ปารุเปตฺวา คลุมตลอดศีรษะ. เพราะคน อื่นไปจากศีรษะย่อมไม่มี.
ถ้าเช่นนั้นพึงมีคำถามว่า ผิว่า สังโยชน์เป็นอย่างนั้น อนุสัยไม่เป็นอย่างนั้น เมื่อเป็นเช่นนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกพระเถระ อุปมาด้วยคนหนุ่มก็เป็นการปรารมภ์ที่ไม่ดีน่ะซิ. มิใช่ยกขึ้นไม่ดี. เพราะบทนี้ว่า เอวํ ลทฺธิกตฺตา เพราะมีลัทธิอย่างนี้ กล่าวพิสดารแล้ว. ฉะนั้น กิเลสนั้นชื่อว่า สังโยชน์ เพราะเป็นเครื่องผูก ชื่อว่า อนุสัย เพราะละไม่ได้. เพราะเหตุนั้น พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้ สานุสยา ปหียติ สักกายทิฏฐิ พร้อมด้วยอนุสัยอันพระอริยบุคคลละได้. หมายเอาความนี้.

แต่อรรถกถาข้อนี้ก็ได้อธิบายอย่างแจ่มชัดทีเดียวว่า นั่นเป็นความเข้าใจผิดของท่านพระมาลุงกยบุตร และ เหล่าอัญญเดียรถีย์ (หรืออาจรวมไปถึง นาย ระนาดเอก และ นายเฉลิมศักดิ์1) ที่หลงผิด ไปเข้าใจว่า สังโยชน์ กับ อนุสัย เป็นของคนละอย่างกัน ทั้งๆที่จริงแล้ว มันเป็นของอย่างเดียวกัน(คือกิเลส) โดยต่างกันก็เพียงแต่ชื่อเรียกเท่านั้น กล่าวคือ ....

(๑) เรียกว่า สังโยชน์ เพราะอรรถว่า เป็นเครื่องผูก
(๒) เรียกว่า อนุสัย เพราะอรรถว่า ละไม่ได้

แปลความให้ชัดๆอีกทีก็คือ ไอ้กิเลสทั้งหลายเหล่านี้ เราเรียกว่า อนุสัย(ด้วยอรรถว่า ละไม่ได้) จำเพาะในขณะที่มันยังไม่ฟุ้งขึ้น คือมันยังมิได้แสดงตัวออกมา ดังเช่นที่ตรัสว่า “เป็นอนุสัยเท่านั้น ย่อมนอนตามแก่เด็กนั้น(มหามาลุงกโยวาทสูตร)”
และเรียกว่า สังโยชน์(ด้วยอรรถว่า เพราะเป็นเครื่องผูก) ในกรณีที่ “กุมารนั่นนั้นอาศัยความเจริญและความเติบโตแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย พรั่งพร้อมบำเรออยู่ด้วยกามคุณ ๕(มหาตัณหาสังขยสูตร)”

ทีนี้ ลองกลับมาพิจารณาพุทธพจน์จากมหามาลุงกโยวาทสูตร อีกครั้ง ว่าทำไม อัญญเดียรถีย์สองตนนั้นจึงอ่านแล้วไม่เข้าใจ .... ความผิดพลาดของเขาอยู่ที่ตรงไหน (?)
ขอให้พิจารณา พุทธพจน์ที่ตรัสกับท่านมาลุงกยบุตร ดังต่อไปนี้ ....

“ดูกรมาลุงกยบุตร เธอจำโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เหล่านี้ ที่เราแสดงแล้วอย่างนี้ แก่ใครหนอ? ดูกรมาลุงกยบุตร นักบวช พวกอัญญเดียรถีย์จักโต้เถียง ด้วยคำโต้เถียง อันเปรียบด้วยเด็กนี้ได้ มิใช่หรือว่า

(๑) แม้แต่ความคิดว่า กายของตน ดังนี้ ย่อมมีแก่เด็ก กุมารอ่อนผู้ยังนอนหงายอยู่ ก็สักกายทิฏฐิจักเกิดขึ้นแก่เด็กนั้นแต่ที่ไหน ส่วนสักกายทิฏฐิอันเป็นอนุสัยเท่านั้น ย่อมนอนตามแก่เด็กนั้น

(๒) แม้แต่ความคิดว่า ธรรมทั้งหลายดังนี้ ย่อมไม่มีแก่เด็กกุมารอ่อนผู้ยังนอนหงายอยู่ ก็ความสงสัยในธรรมทั้งหลาย จักเกิดขึ้นแก่เด็กนั้นแต่ที่ไหนส่วนวิจิกิจฉาอันเป็นอนุสัยเท่านั้น ย่อมนอนตามแก่เด็กนั้น

(๓) แม้แต่ความคิดว่า ศีลทั้งหลายดังนี้ ย่อมไม่มีแก่เด็กกุมารอ่อนผู้ยังนอนหงายอยู่ สีลัพพตปรามาสในศีลทั้งหลาย จักเกิดขึ้นแก่เด็กนั้นแต่ที่ไหน ส่วนสีลัพพตปรามาสอันเป็นอนุสัยเท่านั้น ย่อมนอนตามแก่เด็กนั้น

(๔) แม้แต่ความคิดว่า กามทั้งหลาย ดังนี้ ย่อมไม่มีแก่เด็กกุมารอ่อนยังนอนหงายอยู่ ก็กามฉันทะในกามทั้งหลายจักเกิดขึ้นแก่เด็กนั้นแต่ที่ไหน ส่วนกามราคะอันเป็นอนุสัยเท่านั้น ย่อมนอนตามแก่เด็กนั้น

(๕) แม้แต่ความคิดว่า สัตว์ทั้งหลาย ดังนี้ ย่อมไม่มีแก่เด็กกุมารอ่อนผู้ยังนอนหงายอยู่ ก็ความพยาบาท ในสัตว์ทั้งหลายจักเกิดขึ้นแก่เด็กนั้นแต่ที่ไหน ส่วนพยาบาทอันเป็นอนุสัยเท่านั้น ย่อมนอนตามแก่เด็กนั้น

ดูกรมาลุงกยบุตร นักบวช พวกอัญญเดียรถีย์จักโต้เถียงด้วยคำโต้เถียงอันเปรียบด้วยเด็กอ่อนนี้ได้มิใช่หรือ? เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เวลานี้เป็นกาลสมควร ข้าแต่พระสุคต เวลานี้เป็นกาลสมควรที่พระผู้มีพระภาคพึงทรงแสดงโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ภิกษุทั้งหลายได้ฟังต่อพระผู้มีพระภาคแล้ว จักทรงจำไว้ ฯลฯ”

ในที่นี้ เมื่อพิจารณาเอาเฉพาะกรณีปัญหา กล่าวคือ พุทธพจน์จาก มหามาลุงกโยวาทสูตร ที่ตรัสว่า ....

“แม้แต่ความคิดว่า กามทั้งหลาย ดังนี้ ย่อมไม่มีแก่เด็กกุมารอ่อนยังนอนหงายอยู่ ก็กามฉันทะในกามทั้งหลายจักเกิดขึ้นแก่เด็กนั้นแต่ที่ไหน ส่วนกามราคะอันเป็นอนุสัยเท่านั้น ย่อมนอนตามแก่เด็กนั้น”

ซึ่งข้อชี้ขาดว่า ผู้อ่านพุทธพจน์ส่วนนี้ เป็นสัมมาทิฐิ หรือเป็นพวกอัญญเดียรถีย์มิจฉาทิฐิ มันก็อยู่ตรงที่ว่า เขาเหล่านั้น มีความเข้าใจว่า สังโยชน์ กับ อนุสัย เป็นของอย่างเดียวกันหรือไม่ .... ก็เท่านั้นเอง

หมายความว่า ถ้าใครก็ตาม อ่านพุทธพจน์นี้แล้วเข้าใจว่า กามราคะ(อันเป็นอนุสัย) เป็นคนละอย่างกับ กามฉันทะ คนผู้นั้นก็เป็นพวกมิจฉาทิฐิ(อัญญเดียรถีย์)
แต่หากเมื่ออ่านพุทธพจน์ส่วนนี้ แล้วเข้าใจว่า กามราคะ(อันเป็นอนุสัย) เป็นสิ่งเดียวกันกับ กามฉันทะ คนผู้นั้นก็เป็นพวกสัมมาทิฐิ ใจความจากพุทธพจน์พร้อมทั้งอรรถกถา ก็มีอยู่เพียงเท่านี้ ซึ่งจะเห็นได้ว่า ล้วนแล้วแต่เป็นของ “ตื้น” ทั้งสิ้น !!!! (ทั้งนี้ เว้นที่จะกล่าวถึง ไอ้พวก “โง่เขลาเบาปัญญา” ที่ไม่รู้แม้กระทั่งว่า มี อนุสัย นอนเนื่องอยู่ในเด็กนั้น)

ประเด็นที่อาจจะต้องอธิบายเพิ่มเติมก็คือ พวกอัญญเดียรถีย์ เขาอ้างว่า เด็กทารกยังไม่มี กามฉันทะ ซึ่งก็เป็นความจริงตามนั้น แต่ประเด็นที่เขาโต้แย้งฝ่ายพุทธก็คือ เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว กามฉันทะ มันจะมีมาแต่ไหน (?) ซึ่งนี่ก็คือประเด็นสำคัญของเรื่องนี้ ด้วยเหตุที่ ....

(๑) ถ้าหากอัญญเดียรถีย์สองตนนั้น เข้าใจว่า สังโยชน์ กับ อนุสัย เป็นของคนละอย่างกัน โดยที่เด็กทารกมี กามฉันทะ มาตั้งแต่แรกเกิด เขาก็จะกลายเป็นมิจฉาทิฐิพวกหนึ่ง(สัสสตทิฐิ)

(๒) ถ้าหากอัญญเดียรถีย์สองตนนั้น เข้าใจว่า สังโยชน์ กับ อนุสัย เป็นของคนละอย่างกัน และเด็กทารกมี กามฉันทะ ในภายหลังเมื่อโตแล้ว เขาก็จะกลายเป็นมิจฉาทิฐิอีกพวกหนึ่ง(อุทเฉททิฐิ)

(๓) ถ้าหากอัญญเดียรถีย์สองตนนั้น เข้าใจว่า สังโยชน์ กับ อนุสัย เป็นของอย่างเดียวกัน แต่กลับเข้าใจไปว่า เด็กทารกมี กามฉันทะ มาตั้งแต่แรกเกิด เขาก็จะกลายเป็นมิจฉาทิฐิอยู่ดี(สัสสตทิฐิ) และที่สำคัญไปกว่านั้นก็คือ ความเข้าใจของพวกเขา จะไปค้านกับพุทธพจน์จาก มหาตัณหาสังขยสูตร อีกโสตหนึ่งด้วย .... ซึ่งนี่คือ ข้อเท็จจริง ที่ใครๆก็ค้านไม่ได้(นอกไปเสียจากพวก ทุมมังกุ เก้อยาก)

(๔) จะมีแต่ก็เพียง ผู้ที่เข้าใจว่า สังโยชน์ กับ อนุสัย เป็นของอย่างเดียวกัน และเด็กทารกมี กามฉันทะ ในภายหลังเมื่อโตแล้วเท่านั้น โดยที่ กามราคะ (จะทำหน้าที่)เป็น(เพียง)อนุสัยเท่านั้น (และ)ย่อมนอนตามแก่เด็กนั้น(ไปตามเหตุปัจจัย) …. จึงจะได้ชื่อว่าเป็นสัมมาทิฐิ

ทั้งนี้ ขอทำความเข้าใจให้ตรงกันดังนี้ว่า ข้อความทั้งหมด ดังที่กล่าวมาข้างต้น ล้วนแล้วแต่เป็นการอธิบายพุทธพจน์ตามนัยอรรถกถาแห่งมหามาลุงกโยวาทสูตร ซึ่งมีความสอดคล้องต้องกันเป็นอย่างดี อีกทั้งยังไม่มีส่วนใดเลยที่จะขัดแย้งกับพุทธพจน์จาก มหาตัณหาสังขยสูตร !!!!

ส่วนในประเด็นที่ว่า ใคร โง่ ใคร เขลา ใคร เบาปัญญา ท่านทั้งหลาย ย่อมสามารถ แลเห็นได้ด้วยตนเองแล้ว และนั่นจึงหมายความว่า ใครคือ อัญญเดียรถีย์(ตัวจริง) ผู้ทำร้ายทำลายพุทธพจน์ด้วยความขยันขันแข็ง(อย่างน่าทุเรศ) ก็น่าที่จะทราบได้ไม่ยาก .... เช่นกัน



Ritti Janson



ปล. เห็นพวกนักอภิธรรมชั้นปลายแถว(นี้)แล้ว น่าสมเพชจริงๆ
ยัง(โชว์)โง่ได้อีกนะเนี่ยยยยยยย เฮอะ เฮอะ ๆๆๆๆๆๆๆๆ





http://www.oknation.net/blog/SiamBhikhunis

http://rittijanson.blogspot.com/