วันจันทร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

เรื่องของคน …. หน้าไม่อาย

อ้างความจากกระทู้ PANTIP_COM Y10539890 ทำไมท่านพุทธทาส จึงกล้า

ความคิดเห็นที่ 204

ตอบประเด็นที่ คุณ Ritti Jansen ตั้งไว้

---------------------------------------------------------------------

ประเด็นที่หนึ่ง ตามที่ คุณ Ritti ตั้งไว้ใน #160

พุทธพจน์ที่ว่า

"ครั้นแล้วพึงเรียนบทและพยัญชนะเหล่านั้นให้ดี
แล้วพึงเทียบเคียงในพระสูตรพึงสอบสวนในพระวินัย"

พึงเข้าใจดังนี้นะครับว่า

พระสูตรในที่นี้มิได้หมายความว่า พระสุตตันตปิฎก
พระวินัยในที่นี้มิได้หมายความว่า พระวินัยปิฎก

ทั้งสองคำนี้มาจาก ภาษาบาลีว่า สุตฺเต และ วินเย

บทว่า สุตฺเต ได้แก่ พึงเทียบเคียงในพุทธพจน์คือปิฎก ๓.
บทว่า วินเย นี้ ได้แก่ พึงสอบสวนในเหตุแห่งการกำจัดกิเลสมีราคะเป็นต้น อย่างหนึ่ง.

พึงตรวจสอบหลักฐานที่ผมยกมาได้จาก

อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=21&A=4300&Z=4616
และอรรถกถา
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=171


ดังนั้น การสอบสวนกับสุตเต จึงหมายถึง ธรรมใดๆนั้นควรสอดคล้องกับ ปิฎกทั้งสาม
และสอบสวนกับ วินเย คือ เป็นไปในทางที่ละกิเลส มีโลภะ โทสะ โมหะ
นั่นแลจึงเป็นธรรมในคำสั่งสอนของพระพุทธองค์


บทว่า พระอานนท์ เรียนธรรมจากพระพุทธองค์ ๘๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์
เรียนจากภิกษุมีพระสารีบุตรเป็นต้น อีก ๒๐๐๐ ที่เหลือ
นั้นมาจากสุตตันตโดยตรงและก็สอบสวนได้ลงกับ สุตเตฺ คือ ปิฎก ๓ ทุกประการ

ดังนั้น ประเด็นนี้จึงมีความชัดเจนดีสมบูรณ์ในตัวอยู่แล้วนะครับ
ว่าพระไตรปิฎกนี้เป็นพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ทั้ง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์

---------------------------------------------------------------------
ปล.
บางครั้งบาลีหนึ่งคำมีความหมายได้หลายนัย
การไม่ได้ศึกษาในสำนักครู ย่อมเป็นไปได้ยากที่จะเข้าใจ
ให้ถูกต้องในพระธรรมได้หมดทุกนัย จึงควรเปิดใจยอมรับ
หมั่นแก้ไขความเข้าใจผิดของตนอยู่เสมอ


จากคุณ : ชาวมหาวิหาร
เขียนเมื่อ : 12 พ.ค. 54 15:30:23




ผมยอมรับจริงๆเลยว่า กลุ่มคนพวกนี้ ช่างเเป็นคนที่ไร้ยางอายสิ้นดี
ท่านทั้งหลายมาช่วยกันพิจารณา อรรถกถามหาปเทสสูตร ร่วมกันนะครับ

พึงทราบวินิจฉัยในมหาปเทสสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า โภคนคเร วิหรติ ได้แก่ ในปรินิพพานสมัย พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริกไปนครนั้นแล้ว ประทับอยู่. บทว่า อานนฺทเจติเย ได้แก่ ในวิหารอันตั้งอยู่ตรงสถานที่เป็นภพของอานันทยักษ์. บทว่า มหาปเทเส แปลว่า โอกาสใหญ่หรือข้ออ้างใหญ่ อธิบายว่า เหตุใหญ่ ที่กล่าวอ้างคนใหญ่ ๆ มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น .
บทว่า เนว อภินนฺทิตพฺพ ความว่า ภาษิตนั้น อันเธอทั้งหลายผู้ร่าเริงยินดี ให้สาธุการแล้วไม่พึงฟังก่อนอย่าเพิ่งเชื่อ เพราะเมื่อมีผู้กระทำอย่างนี้ ภิกษุนั้นแม้จะถูกต่อว่าในภายหลังว่า คำนี้ไม่สม ก็ยังกล่าวว่า เมื่อก่อนนี้เป็นธรรม บัดนี้ ไม่ใช่ธรรมเสียแล้วหรือ ดังนี้ แล้วไม่ย่อมสละลัทธิ. บทว่า นปฺปฏิกฺโกสิตพฺพ ได้แก่ไม่พึงกล่าวก่อนว่าคนโง่นี้พูดอะไร. เพราะเมื่อกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุนั้นจักไม่กล่าวถึงแม้ข้อที่ถูกและไม่ถูก. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า อนภินนฺทิตฺวาอปฺปฏิกฺโกสิตฺวา ดังนี้.
บทว่า ปทพฺยญฺชนานิ ได้แก่ พยัญชนะกล่าวคือบท. บทว่า สาธุก อุคฺคเหตฺวา ได้แก่ เรียนด้วยดีว่า ท่านกล่าวบาลีไว้ในที่นี้ กล่าวความไว้ในที่นี้ กล่าวอนุสนธิไว้ในที่นี้ กล่าวคำต้นคำปลายไว้ในที่นี้ ดังนี้.
บทว่า สุตฺเต โอตาเรตพฺพานิ ได้แก่ พึงเทียบเคียงกันในพระสูตร. บทว่า วินเย สนฺทสฺเสตพฺพานิ ได้แก่พึงสอบสวนในพระวินัย. ในที่นี้ท่านกล่าววินัยว่าเป็นสูตร ดังที่ท่านกล่าวไว้ในสุตตวิภังค์ว่า คัดค้านไว้ในที่ไหน คัดค้านไว้ในกรุงสาวัตถี. ขันธกะท่านเรียกว่าวินัย ดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า โกสมฺพิย วินยาติสาเร ดังนี้. ไม่ยึดถือเอาแม้วินัยปิฎกอย่างนี้ แต่ถือเอาวินัยปิฎกอย่างนี้ว่า อุภโตวิภังค์เป็นพระสูตร ขันธกะแลปริวารเป็นพระวินัยดังนี้. อีกอย่างหนึ่ง ถือเอาปิฎกสองอย่างนี้คือ สุตตันตปิฎกเป็นพระสูตร วินัยปิฎกเป็นพระวินัย. หรือว่าไม่ถือเอาปิฎกสามอย่างนี้ก่อน คือ สุตตันตปิฎก และอภิธัมมปิฎกเป็นพระสูตร วินัยปิฎกเป็นพระวินัย จริงอยู่ ชื่อว่า พุทธพจน์ที่ไม่มีชื่อว่าสูตรมีอยู่ คือ ชาดก ปฏิสัมภิทา นิเทศ สุตตนิบาต ธรรมบท อุทาน อิติวุตตกะ วิมานวัตถุ เปตวัตถุ เถรคาถา เถรีคาถา อปทาน แต่พระสุทินนเถระคัดค้านพุทธพจน์นั้นทั้งหมดว่าพุทธพจน์ที่ไม่มีชื่อว่าสูตรนั้นไม่มีดังนี้ แล้วกล่าวว่าปิฎก ๓ เป็นพระสูตรแต่วินัยเป็นการณะ.
เมื่อจะแสดงถึงการณะต่อจากนั้น จึงกล่าวสูตรนี้ว่า ดูก่อนโคตมี ท่านพึงรู้ธรรมเหล่าใด ธรรมเหล่านี้ย่อมเป็นไปเพื่อประกอบด้วยราคะ ไม่เป็นไปเพื่ออปราศจากราคะ ย่อมเป็นไปเพื่อสังโยชน์ ไม่เป็นไป เพื่อปราศจากสังโยชน์ ย่อมเป็นไปเพื่อความยึดมั่น ไม่เป็นไปเพื่อความไม่ยึดมั่น ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักมาก ไม่เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อย ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่สันโดษ ไม่เป็นไปเพื่อความสันโดษ ย่อมเป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน ไม่เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร ย่อมเป็นไปเพื่อความ
คลุกคลี ไม่เป็นไปเพื่อความวิเวก ย่อมเป็นไปเพื่อความสะสม ไม่เป็นไปเพื่อความไม่สะสม ดูก่อนโคตมี ท่านพึงรู้โดยส่วนเดียวว่า นี้ไม่ใช่ธรรมนี้ไม่ใช่วินัย นี้ไม่ใช่คำสอนของพระศาสดา ดังนี้ ดูก่อนโคตมี ท่านพึงรู้ธรรมเหล่าใด ธรรมเหล่านี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความปราศจากราคะ ไม่เป็นไปเพื่อความมีราคะ ย่อมเป็นไปเพื่อปราศจากสังโยชน์ ไม่เป็นไปเพื่อสังโยชน์ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่ยึดมั่น ไม่เป็นไปเพื่อความยึดมั่น ย่อมเป็นไปเพื่อความมักน้อย ไม่เป็นไปเพื่อความมักมาก ย่อมเป็นไปเพื่อความสันโดษ ไม่เป็นไปเพื่อความไม่สันโดษ ย่อมเป็นไปเพื่อความปรารภความเพียร ไม่เป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน ย่อมเป็นไปเพื่อวิเวก ไม่เป็นไปเพื่อความคลุกคลี ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่สะสม ไม่เป็นไปเพื่อความสะสม ดูก่อนโคตมี ท่านพึงรู้โดยส่วนเดียวว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสั่งสอนของพระศาสดา. เพราะฉะนั้น ความในข้อนี้จึงมีดังนี้ว่า บทว่า สุตฺเต ได้แก่ พึงเทียบเคียง ในพุทธพจน์คือปิฎก ๓. บทว่า วินเย นี้ ได้แก่ พึงสอบสวนในเหตุแห่งการ กำจัดกิเลส มีราคะเป็นต้น อย่างหนึ่ง.
บทว่า น เจว สุตฺเต โอตรนฺติ ความว่า บทพยัญชนะทั้งหลาย ไม่มาในที่ไหน ๆ ตามลำดับ ในพระสูตร ยกเปลือกขึ้นแล้ว ปรากฏชัดว่ามาจากคัมภีร์ คุฬหเวสสันตระ คุฬหอุมมัคคะ คุฬหวินัยและเวทัลลปิฎกอย่างใด อย่างหนึ่ง (เป็นคัมภีร์ปายมหายาน). ก็บทพยัญชนะที่มาแล้วอย่างนี้ และไม่ปรากฏในการนำกิเลสมีราคะเป็นต้นออกไป ก็พึงทิ้งเสีย. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า อิติ หิท ภิกฺขเว ฉฑฺเฑยฺยาถ ดังนี้. พึงทราบความในบททุกบท โดยอุบายนี้. บทว่า อิท ภิกฺขเว จตุตฺถ มหาปเทส ธาเรยฺยาถ ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงทรงจำไว้ ซึ่งโอกาสเป็นที่ประดิษฐานธรรมข้อที่ ๔ นี้ไว้.
จบอรรถกถามหาปเทสสูตรที่ ๑๐

สรุปความจากอรรถกถา ก็คือ ท่านอธิบายว่า สุตฺเต และ วินเย มีความหมายหลายนัย ดังต่อไปนี้คือ ....

(๑) สุตฺเต = ในที่นี้ท่านกล่าววินัยว่าเป็นสูตร วินเย = ขันธกะท่านเรียกว่าวินัย

(๒) สุตฺเต = อุภโตวิภังค์เป็นพระสูตร วินเย = ขันธกะแลปริวารเป็นพระวินัย

(๓) สุตฺเต = สุตตันตปิฎกเป็นพระสูตร วินเย = วินัยปิฎกเป็นพระวินัย.

(๔) สุตฺเต = สุตตันตปิฎกและอภิธัมมปิฎกเป็นพระสูตร วินเย = วินัยปิฎกเป็นพระวินัย

(๕) สุตฺเต = ปิฎก ๓ เป็นพระสูตร วินเย = แต่วินัยเป็นการณะ

ในการพิจารณาอรรถกถาคราวนี้ ผมบอกได้เลยว่า ถ้าไม่มีความเข้าใจต่อพระธรรมวินัยเป็นอย่างดีแล้วล่ะก็ เป็นได้ “โชว์โง่” ทุกรายไป ทั้งนี้ ขอให้ท่านทั้งหลายผู้มีใจเป็นธรรม ได้โปรดพิจารณาให้ดีว่า

ประเด็นแรก ทั้งๆที่ข้อความในอรรถกถา ได้ให้ความหมายของคำว่า สุตฺเต และ วินเย มาถึง ๕ นัย แต่แล้วทำไม ล็อกอินชาวมหาวิหาร จึงเลือกที่จะนำมาแสดงเพียงแค่ความหมายเดียว นั่นเป็นเพราะความหมายนั้นที่นำมาแสดง มันเป็นความหมายที่ “ถูกใจ” ที่สุด ใช่หรือไม่ (?) .... ไม่ค่อยจะมีความซื่อสัตย์ เลยเนอะ (?)

ประเด็นที่สอง ขออธิบายความหมายที่แท้จริงของข้อความในอรรถกถา ดังนี้ว่า ....

(๑) การที่อรรถกถา กล่าวว่า “ในที่นี้ท่านกล่าววินัยว่าเป็นสูตร ดังที่ท่านกล่าวไว้ในสุตตวิภังค์ว่า คัดค้านไว้ในที่ไหน คัดค้านไว้ในกรุงสาวัตถี. ขันธกะท่านเรียกว่าวินัย ดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า โกสมฺพิย วินยาติสาเร ดังนี้” ย่อมเป็นการแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า ความหมายดังกล่าวนี้ เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อ สมัยสังคายนาครั้งที่ ๒ เป็นอย่างเร็ว ทั้งนี้เนื่องจาก ข้อความที่อรรถกถาอ้างถึงนี้ มีที่มาจาก สัตตสติกขันธกะ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๗ นั่นเอง เชิญเข้าไปตรวจสอบได้เลยนะครับ

(๒) การที่อรรถกถา กล่าวว่า “ไม่ยึดถือเอาแม้วินัยปิฎกอย่างนี้ แต่ถือเอาวินัยปิฎกอย่างนี้ว่า อุภโตวิภังค์เป็นพระสูตร ขันธกะแลปริวารเป็นพระวินัยดังนี้” ก็เท่ากับเป็นเบาะแสว่า คัมภีร์ปริวาร เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในสมัยสังคายนาครั้งที่ ๓ เป็นอย่างเร็ว เนื่องจากในการสังคายนาครั้งที่ ๒ ในความข้อที่ ๑ นั้น ยังไม่ปรากฏว่ามี คัมภีร์เล่มนี้ (หมายถึง คัมภีร์ปริวาร) โดยที่ อุภโตวิภังค์ นั้นหมายถึง มหาวิภังค์และภิกขุนีวิภังค์

(๓) การที่อรรถกถา กล่าวว่า “อีกอย่างหนึ่ง ถือเอาปิฎกสองอย่างนี้คือ สุตตันตปิฎก เป็นพระสูตร วินัยปิฎกเป็นพระวินัย” จากคำอธิบายนี้ ก็เลยเป็นที่ชัดเจนว่า ครั้งหนึ่งในอดีตอันไกลโพ้น ชาวพุทธเถรวาทเคยถือกันว่า มีปิฎกเพียง ๒ กล่าวคือ พระสุตตันตปิฎก และ พระวินัยปิฎก เท่านั้น .... ชัดเจนพอไหมล่ะ (?)

(๔) การที่อรรถกถา กล่าวว่า “หรือว่าไม่ถือเอาปิฎกสามอย่างนี้ก่อน คือ สุตตันตปิฎกและอภิธัมมปิฎกเป็นพระสูตร วินัยปิฎกเป็นพระวินัย” ความข้อนี้ แปลความหมายได้ว่า จนเมื่อเกิดปิฎกครบ ๓ แล้ว จึงให้ถือว่า อภิธรรมปิฎกเป็นส่วนหนึ่งของพระสูตร นั่นย่อมเท่ากับว่า ข้อความจากอรรถกถาในส่วนนี้ ยอมรับว่า แท้ที่จริงแล้ว อภิธรรมปิฎก ก็เคยเป็นเพียงส่วนหนึ่งของพระสูตรหรืออาจกล่าวว่า มีที่มาจากพระสูตรนั่นเอง

(๕) การที่อรรถกถา กล่าวว่า “พุทธพจน์ที่ไม่มีชื่อว่าสูตรนั้นไม่มีดังนี้ แล้วกล่าวว่าปิฎก ๓ เป็นพระสูตรแต่วินัยเป็นการณะ” อันที่จริงแล้ว ความข้อนี้มีค่าเพียงแค่ “มติ” อันหนึ่งของพระเถระ โดยมีสมมุติฐานว่า ขึ้นชื่อว่าพุทธพจน์แล้ว ย่อมสามารถเรียกว่าพระสูตรได้หมด จากนั้นก็พิจารณาเทียบเคียงกับ หลักการจาก สังขิตตสูตร โดยให้ความหมาย วินัย ว่าหมายถึง การณะ(เหตุ) ซึ่งก็คือหลักการตรวจสอบพระธรรมวินัย ซึ่งมีที่มาจากพระสูตรดังกล่าวนั่นเอง !!!!

ดังนั้น การที่ ล็อกอินชาวมหาวิหาร เลือกที่จะยกข้อความ “บทว่า สุตฺเต ได้แก่ พึงเทียบเคียง ในพุทธพจน์คือปิฎก ๓. บทว่า วินเย นี้ ได้แก่ พึงสอบสวนในเหตุแห่งการ กำจัดกิเลส มีราคะเป็นต้น อย่างหนึ่ง” นี้ขึ้นมาโต้แย้งผม ก็คงเนื่องจากเห็นแก่คำว่า “พุทธพจน์คือปิฎก ๓” โดยที่มิได้พิจารณาเลยสักนิดว่า ข้อความที่ตนยกมาอ้างนั้น แท้ที่จริงมีความหมายว่าอย่างไร (?)
ทั้งนี้ ถ้า ล็อกอินชาวมหาวิหาร พิจารณาให้รอบคอบสักนิดก็จะเข้าใจได้เองว่า ความหมายที่แท้จริงของ สุตฺเต และ วินเย นัยที่ ๕ นี้ ก็คือการตรวจสอบพระธรรมวินัยด้วยหลักการจาก สังขิตตสูตร ซึ่งพระพุทธองค์ได้ตรัสไว้กับท่านมหาปชาบดีโคตมีเถรี ที่ผมได้เอ่ยถึงใน คิดเห็นที่ 3 กระทู้ ทำไมท่านพุทธทาส จึงกล้า นั่นเอง โดยความหมายที่แท้จริงของความข้อนี้ก็คือ ....

การตรวจสอบพุทธพจน์ตามหลักมหาปเทส ๔ ด้วยการเทียบเคียงในพระสูตร สอบสวนในพระวินัย ตามความจาก มหาปเทสสูตร นั้น มีค่าเท่ากับ การตรวจสอบด้วยหลักการจาก สังขิตตสูตร ซึ่งก็คือวิธีการเดียวกับการที่ท่านพุทธทาสใช้ในการตรวจสอบพุทธพจน์ โดยอาศัยความจาก อนุราธสูตร ดังที่ผมได้อธิบายไปแล้วข้างต้น

ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นหลักการจาก สังขิตตสูตร หรือ อนุราธสูตร ก็ตาม ย่อมสามารถใช้ตรวจสอบข้อความจากทั้ง ๓ ปิฎกว่า นั่นเป็นสัตถุศาสน์ คือ คำสั่งสอนของพระศาสดา หรือไม่ (?)
ดังนั้น การพบคำว่า ๓ ปิฎก จากความหมายนัยที่ ๕ นี้ จึงมิได้เป็นการพิสูจน์ว่า อภิธรรมปิฎกเป็นพระสูตร หรือ เป็นพุทธพจน์(จากพระโอษฐ์) แต่อย่างใดเลย

แต่ประเด็นที่ผม “ติดใจ(เอาความ)” ก็คือ ทั้งๆที่อรรถกถาจารย์ได้ให้ความหมายคำว่า สุตฺเต และ วินเย เอาไว้ถึง ๕ นัย แต่แล้วทำไม ล็อกอิน ชาวมหาวิหาร จึงเลือกที่จะนำมาโพสต์เพียงแค่ ความหมายเดียว สิ่งที่คุณกระทำไปทั้งหมดนี้ ก็เพียงแค่หวังจะเอาชนะคะคานกันเท่านั้นหรอกหรือ (?) …. ช่างน่าสมเพชจริงๆ

ข้อความมีอยู่ถึง ๕ ความหมาย แต่คุณกลับปิดบังข้อเท็จจริงเอาไว้ถึง ๔
การกระทำของคุณในลักษณะนี้ ควรจะแปลความหมายได้ว่าอย่างไรบ้างเล่าครับ (?)

หน้าไม่อาย .... ใช่ไหม (?)


Ritti Janson


http://www.oknation.net/blog/SiamBhikhunis

http://rittijanson.blogspot.com/