วันจันทร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ถากถาง .... ความเขลา

ความคิดเห็นที่ 124

กาลามสูตรเอง ก็ไม่ได้เป็นไปเพื่อ"ความดับไม่มีเหลือ" อย่างที่ท่านพุทธทาสใช้เป็นเกณฑ์ชี้วัด
แถมกลับกันเสียอีก กาลามสูตรนี้เอง ที่สอนว่าหากยังปลงใจเชื่อเรื่อง นรกสวรรค์ โลกนี้โลกหน้าไม่ได้ ก็ถือว่าอย่างน้อยยังได้ความอุ่นใจในปัจจุบันเป็นเบื้องต้นก่อน

ผิดเกณฑ์ของท่านพุทธทาสทั้งนั้น ชนิดที่ว่าน่าจะโดนขึ้นบัญชีให้ตัดออกเป็นข้อแรกๆด้วยซ้ำ แต่ไฉนท่านพุทธทาสกลับอ้างใช้กาลามสูตรอยู่ตลอด? มีความข้ออะไรที่พึงใจเป็นพิเศษอยู่หรือ??

ท่านพุทธทาสวิจารณ์ว่าพระพุทธเจ้าตรัสไว้ขัดกันเอง!?(คห.100 เป็นตัวอย่างหนึ่ง "แม้ที่ตรัสไว้ ก็ยังมีขัดกันอยู่ หลายคู่")
แต่ท่านพุทธทาสเองกลับกระทำอะไรขัดแย้งกันในตัวเองเสียมากกว่า

(ที่สำคัญ ที่ท่านบอกว่าขัดแย้ง ถ้าอ่านดีๆ กลับจะพบด้วยว่าที่จริงแล้วไม่ได้ขัดแย้งเสียหน่อย ดูอย่างที่ปราชญ์ในยุคนี้อธิบายไว้ก็ได้ อ่านในหนังสือพุทธธรรมก็ยังมี)


จากคุณ : EvaAngelion
เขียนเมื่อ : 11 พ.ค. 54 19:09:28



ผมไม่ทราบจริงๆว่า ก่อนที่นาย EvaAngelion จะกล่าวออกมาพล่อยๆว่า “กาลามสูตรเอง ก็ไม่ได้เป็นไปเพื่อ ความดับไม่มีเหลือ” นั้น .... คุณได้มีโอกาสพิจารณา กาลามสูตร อย่างรอบคอบถี่ถ้วนแล้วหรือยัง (?)

กรุณาพิจารณาข้อมูลนี้อย่างช้าๆและชัดๆนะครับ .... และหลังจากนี้ ผมจะรอดู “ความรับผิดชอบ” จากคุณ ที่สมควรจะมีต่อท่านพุทธทาส ในฐานะลูกผู้ชายคนหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้ศึกษาพระพุทธศาสนา นะครับ

ในกรณีของ กาลามสูตรนั้นย่อมชัดเจนอยู่แล้วว่า พระพุทธองค์ตรัสสอนครบทั้ง ศีล สมาธิ และ ปัญญา ถ้าท่านทั้งหลายอ่านพระสูตรนี้อย่างครบถ้วนนะครับ .... หึหึหึหึ

(๑) กรณี ศีล พระพุทธองค์ตรัสอย่างนี้ว่า ….
“ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ก็บุคคลผู้โลภ ผู้โกรธ ผู้หลง ถูกความโลภ ความโกรธ ความหลงครอบงำ มีจิตอันความโลภ ความโกรธ ความหลง กลุ้มรุมนี้ ย่อมฆ่าสัตว์ก็ได้ ลักทรัพย์ก็ได้ คบชู้ก็ได้ พูดเท็จก็ได้สิ่งใดเป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์เพื่อทุกข์ สิ้นกาลนาน บุคคลผู้โลภ ย่อมชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้นก็ได้ ฯ” ....
ท่านทั้งหลายเห็นศีลชัด ใช่ไหมครับ (?)

(๒) กรณี สมาธิ พระพุทธองค์ตรัสอย่างนี้ว่า ….
“ดูกรกาลามชนทั้งหลาย อริยสาวกนั้น ปราศจากความโลภ ปราศจากความพยาบาท ไม่หลงแล้วอย่างนี้ มีสัมปชัญญะ มีสติมั่นคง มีใจประกอบด้วยเมตตา แผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกข์เหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยใจอันประกอบด้วยเมตตาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ มีใจประกอบด้วยกรุณา ... มีใจประกอบด้วยมุทิตา ... มีใจประกอบด้วยอุเบกขาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกันตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่าในที่ทุกสถาน ด้วยใจอันประกอบด้วยอุเบกขาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประโยชน์มิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ฯ” ….
นี่คือตรัสสอน อัปปมัญญา ๔ (ซึ่งเป็นสมาธิประเภทหนึ่ง) ชัดเจนนะครับ !!!!

(๓) กรณี ปัญญา พระพุทธองค์ตรัสอย่างนี้ว่า ….
“ดูกรกาลามชนทั้งหลายอริยสาวกนั้นมีจิตไม่มีเวรอย่างนี้ มีจิตไม่มีความเบียดเบียนอย่างนี้ มีจิตไม่เศร้าหมองอย่างนี้มีจิตผ่องแผ้วอย่างนี้ย่อมได้รับความอุ่นใจ ๔ ประการในปัจจุบันว่า
ก็ถ้าปรโลกมีจริง ผลวิบากของกรรมทำดีทำชั่วมีจริง เหตุนี้เป็นเครื่องให้เราเมื่อแตกกายตายไป จักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดังนี้ ความอุ่นใจข้อที่ ๑ นี้ พระอริยสาวกนั้นได้แล้ว
ก็ถ้าปรโลกไม่มี ผลวิบากของกรรมทำดีทำชั่วไม่มี เราไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีทุกข์เป็นสุข บริหารตนอยู่ในปัจจุบันนี้ ดังนี้ ความอุ่นใจข้อที่ ๒ นี้ พระอริยสาวกนั้นได้แล้ว
ก็ถ้าเมื่อบุคคลทำอยู่ ชื่อว่าทำบาป เราไม่ได้คิดความชั่วให้แก่ใครๆ ไหนเลยทุกข์จักมาถูกต้องเราผู้ไม่ได้ทำบาปกรรมเล่า ดังนี้ ความอุ่นใจข้อที่ ๓ นี้ พระอริยสาวกนั้นได้แล้ว
ก็ถ้าเมื่อบุคคลทำอยู่ ไม่ชื่อว่าทำบาป เราก็ได้พิจารณาเห็น ตนว่าเป็นคนบริสุทธิ์แล้วทั้งสองส่วน ดังนี้ ความอุ่นใจข้อที่ ๔ นี้ พระอริยสาวกนั้นได้แล้ว
ดูกรกาลามชนทั้งหลาย อริยสาวกนั้นมีจิตไม่มีเวรอย่างนี้มีจิตไม่มีความเบียดเบียนอย่างนี้ มีจิตไม่มีเศร้าหมองอย่างนี้ มีจิตผ่องแผ้วอย่างนี้ ย่อมได้รับความอุ่นใจ ๔ ประการนี้แลในปัจจุบัน ฯ” ....
นี่คือตรัสสัมมาทิฐิ กรุณาไปตรวจสอบเปรียบเทียบกับ พุทธพจน์จาก มหาจัตตารีสกสูตร เอาเองนะครับ

ฤทธี





อ้างจาก .... PANTIP_COM Y10539890 ทำไมท่านพุทธทาส จึงกล้า

ความคิดเห็นที่ 293

ผิดหวังครับ รอตั้งนาน คุณฤทธีใช้ตรรกะผิดเพี้ยนอีกแล้วนะครับ
ประเด็นนี้ อาจจะขอยืมถ้อยคำสำนวนคุณมาใช้เยอะหน่อยนะครับ เห็นว่ามันพอเหมาะพอเจาะพอดี
อุตส่าห์ไปขุด เพ่งหาในกาลามสูตรมาตั้งนาน เพื่อจะมาอ้างว่า นี่ไงมีๆ อย่างนี้น่ะหรือครับ??

ผมก็ขอตอบง่ายๆอย่างนี้นะครับว่า
ส่วนปัญญาที่คุณว่ามาในกาลามสูตร บอกว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ แล้วมากล่าวอ้าง ว่าเป็นไปเพื่อความดับไม่มีเหลือได้นั้น...

มันเป็นโลกียะสัมมาทิฏฐิ ครับคุณ ไม่ใช่โลกุตระ

เป็นเรื่องของผลวิบากกรรรม.. ปรโลก..จักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์... ดับไม่มีเหลือตรงไหนครับ
ก็น่าเห็นชัดๆอยู่นะครับว่า เป็นกัมมัสกตาปัญญา อันคือ โลกียะสัมมาทิฏฐิ

ไม่ถึงโลกุตระ แล้วมันจะเป็นไปเพื่อความดับไม่มีเหลือ(อย่างที่คุณสมอ้างอยู่ซ้ำๆ) ได้อย่างไร
มิพักจะต้องกล่าวไปถึงศีล และ สมาธิ แบบที่คุณอ้างอิงมาอย่างริบหรี่เต็มที เลย

..................................................................................................

กาลามสูตร

"มีใจประกอบด้วยเมตตา แผ่ไปตลอด... ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน
อยู่ มีใจประกอบด้วยกรุณา ... มีใจประกอบด้วยมุทิตา ... มีใจประกอบด้วย
อุเบกขาแผ่ไปตลอด... ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ดูกรกาลามชนทั้งหลาย
อริยสาวกนั้นมีจิตไม่มีเวรอย่างนี้ มีจิตไม่มีความเบียดเบียนอย่างนี้ มีจิตไม่
เศร้าหมองอย่างนี้มีจิตผ่องแผ้วอย่างนี้ ย่อมได้รับความอุ่นใจ ๔ ประการใน
ปัจจุบันว่าก็ถ้าปรโลกมีจริง ผลวิบากของกรรมทำดีทำชั่วมีจริง เหตุนี้เป็นเครื่อง
ให้เราเมื่อแตกกายตายไป จักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดังนี้"

พระบาลีก็ตรัสอยู่ชัดเจนต่อเนื่องกันนะครับ ว่าจิตอย่างนี้ๆ มาจากการทำกรรมฐาน
คือ อัปปมัญญา ๔ อย่างที่คุณบอกมาเอง ซึ่งย่อมยังเป็นเพียงสมถะกรรมฐาน
อีกทั้งยังทรงตรัสถึงผล ก็คือการเข้าถึง "สุคติโลกสวรรค์" ชัดเจนนะครับ.
แล้วอย่างไรแห่งไหนครับที่คุณว่า "ดับไม่มีเหลือ"?

ไฉนคุณฤทธีเอาพระสูตรมาตัดต่อ แยกเป็นส่วนๆเสียอย่างนั้น
เพียงเพื่อประโยชน์ของตน ในการรุกรานความเห็นผู้อื่น อย่างขาดเหตุผล
ดังที่คุณเรียก จะเป็น"การกระทำที่ปราศจากความละอาย" ต่อพระธรรมไหมครับ

และดังที่อ้าง มหาจัตตารีสกสูตร มาอย่างลอยๆ
จะขอยกมาชัดๆให้พิจารณากันอย่างถูกต้องนะครับ :-
[๒๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาทิฐิเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เรากล่าวสัมมาทิฐิเป็น ๒ อย่าง คือ สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ
ให้ผลแก่ขันธ์ อย่าง ๑ สัมมาทิฐิของพระอริยะ ที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ
เป็นองค์มรรค อย่าง ๑ ฯ
[๒๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ
ให้ผลแก่ขันธ์ เป็นไฉน คือ ความเห็นดังนี้ว่า ทานที่ให้แล้ว มีผล ยัญที่บูชา
แล้ว มีผล สังเวยที่บวงสรวงแล้ว มีผล ผลวิบากของกรรมที่ทำดี ทำชั่วแล้ว
มีอยู่ โลกนี้มี โลกหน้ามี มารดามี บิดามี สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะมี สมณพราหมณ์
ทั้งหลาย ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง
เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลก มีอยู่ นี้สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ
ให้ผลแก่ขันธ์ ฯ.

ดังนี้
ปรโลก ในกาลามสูตร เป็นเรื่อง "โลกนี้มี โลกหน้ามี" ในพระสูตรนี้ มั้ยครับ?
"การเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์"ในกาลามสูตร เป็นการ "ให้ผลแก่ขันธ์" มั้ยครับ?
"ผลวิบากของกรรมทำดีทำชั่วมีจริง"ในกาลามสูตร ตรงกับ "ผลวิบากของกรรมที่ทำดี ทำชั่วแล้ว มีอยู่" มั้ยครับ?
สรุป ปัญญาในกาลามสูตรยังเป็นสาสวะ ที่ไม่ใช่โลกุตระ คงไม่ต้องแจกแจงไปมากกว่านี้ ใช่ไหมครับ

ดังนี้ คุณอ้างพระสูตรพระธรรม ทั้งที่ยังไม่ได้พิจารณาเสียเอง เป็นวิถีอันควรแล้วของบัณฑิตเรียนธรรมหรือครับ
..................................................................................................

เรื่องง่ายๆเช่นนี้ ระดับคุณแต่กลับเอามาอย่างผิดเพี้ยน แล้วมาทวงหาความรับผิดชอบหรือครับ?

ผมยังไม่ค่อยยักจะเชื่อเลยว่าคุณจะไม่รู้อยู่แก่ใจ ดังนี้ก็น่าสงสัยว่า
คุณจงใจหาข้ออะไรเอามาเล่นในลักษณะ"ละครลิงตบตา"หรือเปล่าครับ?
ถ้าเช่นนั้นจริง จะขำให้ตามมารยาทการแสดงนะครับ "หึหึหึหึ"


ดังนี้หวังว่าต่อไป (ขอยืมอีกหน่อยนะครับ)
"ก่อนที่นายฤทธีจะกล่าวออกมาพล่อยๆว่า
"กาลามสูตร ก็เป็นไปเพื่อ ความดับไม่มีเหลือ"นั้น[ทั้งๆที่ไม่ถึงโลกุตระเลย]
.... คุณ[ควร]ได้มีโอกาสพิจารณาอย่างรอบคอบถี่ถ้วน"ก่อน

จะได้ไม่ด้น หยิบยกบทอะไรผิดเพี้ยนอย่างไม่น่าเชื่อ อีกนะครับ

--------------------------------------------------------------
คห นี้ของผมเดิมอุตส่าห์แสดงไว้อย่างสั้นๆนะครับ เพราะเห็นว่าที่จริงคุณระนาดเอกเขาก็ได้ย้ำประเด็นนี้ไว้ออกชัดเจนแล้ว
คุณฤทธีอาจจะเผอิญลืมมองให้ดีก็เป็นได้?
ถึงอุตสาหะข้าม ไปหยิบจับอะไรเล็กๆน้อยๆมาถือสาหาความเสียอย่างนั้น
(หรือนึกว่าสั้นๆ แล้วจะง่ายดีงั้นหรือครับ?) ดังนี้ :-

"..ท่านสามารถอธิบายได้หรือไม่ว่า ข้อความใน กาลามสูตร เกี่ยวข้องกับทุกข์และความดับแห่งทุกข์อย่างไร
อีกทั้งท่านสามารถยืนยันได้หรือไม่ว่า หากแม้ในชาติหนึ่งชาติใด ท่านมีวาสนา
ได้พบเพียงแต่กาลามสูตรนี้เพียงสูตรเดียวเท่านั้นในชีวิต ท่านจะสามารถนำข้อความจากสูตรนี้
ไปใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติเพื่อความดับทุกข์โดยไม่เหลือ ได้หรือไม่ (?)

โดยตรรกะเดียวกับที่ฤทธีอ้างใช้กับ มหาสมยสูตร ..
ถ้ากาลามสูตรไม่มีเนื้อหาประโยชน์เกี่ยวข้องกับการดับทุกข์โดยไม่เหลือ
กาลามสูตรนี้ก็ควรจะเสมอภาคกับมหาสมยสูตร คือ เป็นสิ่งที่ "ยอมรับไม่ได้" !!
--------------------------------------------------------------

ดังข้างบนนี้ "ในฐานะลูกผู้ชาย" ตรรกะของตัวเอง ก็ควรแก้เองให้ได้เสียก่อนนะครับ
แทนการที่จะมาทวงหาอะไรอย่างอับจนเช่นนี้

...ตรรกะต่างๆที่อาจผิดเพี้ยนกันได้ ก็เพราะเนื่องมาจากความมีฉันทาคติ...


ก็ในเมื่อต้นทางผิด เหตุมันมีอยู่เช่นนี้ ผลที่ตามมามันจะเป็นอื่นใดไปได้
ดังนี้ จะพยายามดิ้นแก้ให้เห็นผิดเป็นชอบ อะไรๆมันก็จะออกมาเบี้ยวๆ อยู่ร่ำไป

ไหนๆคุณก็กล่าวมาแล้ว ผมถึงพึ่งนึกได้
ประดาตรรกะของคุณเอง คุณก็ควรรับผิดชอบดูบ้างนะครับ
ไม่ใช่กล่าวถึงแต่ผู้อื่นถ่ายเดียวต่อไปเรื่อยๆ
ผมขอถือโอกาสนี้ ทวงความรับผิดชอบบ้างนะครับ เผื่อไว้ผมจะมาดูในโอกาสต่อไป

จากคุณ : EvaAngelion
เขียนเมื่อ : 19 พ.ค. 54 23:32:46



ถากถาง .... ความเขลา

ขอสรุปความจาก ความคิดเห็นที่ 293 ของนาย EvaAngelion ดังต่อไปนี้

ความเขลา ลำดับที่ (๑)

ส่วนปัญญาที่คุณว่ามาในกาลามสูตร บอกว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ แล้วมากล่าวอ้าง ว่าเป็นไปเพื่อความดับไม่มีเหลือได้นั้น...

มันเป็นโลกียะสัมมาทิฏฐิ ครับคุณ ไม่ใช่โลกุตระ

เป็นเรื่องของผลวิบากกรรรม.. ปรโลก..จักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์... ดับไม่มีเหลือตรงไหนครับ
ก็น่าเห็นชัดๆอยู่นะครับว่า เป็นกัมมัสกตาปัญญา อันคือ โลกียะสัมมาทิฏฐิ
ไม่ถึงโลกุตระ แล้วมันจะเป็นไปเพื่อความดับไม่มีเหลือ(อย่างที่คุณสมอ้างอยู่ซ้ำๆ) ได้อย่างไร
มิพักจะต้องกล่าวไปถึงศีล และ สมาธิ แบบที่คุณอ้างอิงมาอย่างริบหรี่เต็มที เลย

ตอบ ถ้านาย EvaAngelion เป็นผู้เจริญปัญญาอยู่บ้างตามสมควร ผมก็คงเข้าใจว่า นายคนนี้กำลังเจอวิปัสสนูกิเลส หากแต่จากการโพสต์ข้อความทั้งหมดดังที่เห็นใน ความคิดเห็นที่ 293 กลับแสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่า นายคนนี้มิได้เป็นนักปฏิบัติธรรม ไม่ว่าจะเป็นแนวทางใดก็ตาม(วิปัสสนายานิก หรือ สมถยานิก) หึหึหึหึ
ถามว่าผมทราบได้อย่างไร (?) ก็พิจารณาจาก “ผล” ในการแสดงพระสูตรของเขานั่นเอง โดยสามารถพิจารณาได้ ดังนี้ ....

อ้าง มหาจัตตารีสกสูตร

[๒๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาทิฐิเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวสัมมาทิฐิเป็น ๒ อย่าง คือ สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์ อย่าง ๑ สัมมาทิฐิของพระอริยะ ที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ
เป็นองค์มรรค อย่าง ๑ ฯ
[๒๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์ เป็นไฉน คือ ความเห็นดังนี้ว่า ทานที่ให้แล้ว มีผล ยัญที่บูชาแล้ว มีผล สังเวยที่บวงสรวงแล้ว มีผล ผลวิบากของกรรมที่ทำดี ทำชั่วแล้วมีอยู่ โลกนี้มี โลกหน้ามี มารดามี บิดามี สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะมี สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้งเพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลก มีอยู่ นี้สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์ ฯ.

ทั้งๆที่ นายคนนี้ ได้ยก มหาจัตตารีสกสูตร ขึ้นมาอ้าง พร้อมทั้งได้ขีดเส้นใต้(หมายความว่าเน้นว่าเป็นข้อความสำคัญ) แต่ในความเป็นจริง เขากลับไม่สามารถเข้าถึง “ใจความ” ของพุทธพจน์นั้นได้เลย ซึ่งแน่นอนว่า จุดตัดสินมันอยู่ตรงที่ เขาห่างจากภาคปฏิบัติ(จริง)นั่นเอง ขอให้พิจารณาพุทธพจน์ ดังต่อไปนี้ (ซึ่งนาย EvaAngelion เป็นผู้ยกมาอ้างนั่นแหละ)

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์ เป็นไฉน คือ ความเห็นดังนี้ว่า ทานที่ให้แล้ว มีผล ยัญที่บูชาแล้ว มีผล สังเวยที่บวงสรวงแล้ว มีผล ผลวิบากของกรรมที่ทำดี ทำชั่วแล้วมีอยู่ โลกนี้มี โลกหน้ามี มารดามี บิดามี สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะมี สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้งเพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลก มีอยู่ นี้สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์ ฯ”

พุทธพจน์ส่วนนี้ ถ้าดูอย่างคนโง่เขลาเบาปัญญา เขาก็จะเข้าใจว่า ความข้อนี้เป็นปริยัติ ที่แยกกันต่างหากจาก “ภาคปฏิบัติ” ซึ่งไม่เป็นความจริงเลย ที่จริงแล้ว แม้จะมิใช่นักปฏิบัติ แต่ถ้าหากจะเป็นผู้ฉลาดในพุทธพจน์สักหน่อย เขาย่อมเข้าใจได้ไม่ยากว่า “วิปัสสนา” ได้แฝงตัวอยู่ในความข้อนี้แล้ว ขอให้สังเกตให้ดีๆว่า แม้ในเบื้องต้น พระพุทธองค์จะตรัสถึง ….
๑. ทานที่ให้แล้ว มีผล
๒. ยัญที่บูชาแล้ว มีผล
๓. สังเวยที่บวงสรวงแล้ว มีผล
๔. ผลวิบากของกรรมที่ทำดี ทำชั่วแล้วมีอยู่
๕. โลกนี้มี โลกหน้ามี ฯลฯ
แต่ในท้ายที่สุด ก็ตรัสว่า .... นี้(เป็น)สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์ กล่าวคือ พระพุทธองค์มิได้ตรัสว่า ให้ผลแก่ นาย ก นาย ข หรือ สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา ซึ่งการที่พุทธศาสนิกชนคนใดก็ตาม สามารถที่จะ มีความเข้าใจถึง ....
๑. ทานที่ให้แล้ว มีผล โดยพ้นไปจาก สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา
๒. ยัญที่บูชาแล้ว มีผล โดยพ้นไปจาก สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา
๓. สังเวยที่บวงสรวงแล้ว มีผล โดยพ้นไปจาก สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา
๔. ผลวิบากของกรรมที่ทำดี ทำชั่วแล้วมีอยู่ โดยพ้นไปจาก สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา
๕. โลกนี้มี โลกหน้ามี ฯลฯ โดยพ้นไปจาก สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา
ทั้งหมดเหล่านี้ ย่อมต้องผ่านกระบวนการ(ปฏิบัติ)ทางปัญญามาแล้วเป็นอย่างดี มิฉนั้น เขาจะไม่มีทางที่จะสามารถเข้าถึง (โลกีย)สัมมาทิฐินี้ได้เลย ซึ่งคำว่าโลกียสัมมาทิฐินี้ หมายถึง ทิฐิของโยคาวจร ที่ยังไม่พ้นไปจาก โคตรภูญาณ นั่นเอง .... คงจะไม่งง ใช่ไหม (?)

แต่ปัญหาที่จะต้องถามไถ่กันเพื่อทำความจริงให้แจ้งก็คือ นาย EvaAngelion เข้าใจว่า “สาสวะสัมมาทิฐิ” นี้คืออย่างไร และความเข้าใจดังว่านั้น ตรงตามพุทธพจน์ หรือเปล่า (?)

พูดง่ายๆก็คือ เสมือนประหนึ่งว่า นาย EvaAngelion เขาเข้าใจว่า “สาสวะสัมมาทิฐิ” เป็นสิ่งที่แยกกันต่างหากกับ “อนาสวะสัมมาทิฐิ” ซึ่งที่จริงก็คือ นั่นเป็นเพียงแค่ ความคิดของคนที่เอาแต่เพ่งตำรา อย่างปราศจากความเข้าใจ อันเนื่องมาจาก ขาดประสบการณ์ภาคปฏิบัติ(จริง)นั่นเอง ขอกล่าวย้ำให้หายโง่อีกครั้งหนึ่งว่า .... “สาสวะสัมมาทิฐิ” อยู่ในฝักฝ่ายของ วิปัสสนากรรมฐาน ก่อนถึง โคตรภูญาณ นะครับ !!!!
หมายความว่า โลกียสัมมาทิฐินี้ มิใช่สิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้ด้วยการ “นึกคิด” เอาเองตามใจชอบ และที่สำคัญไปกว่านั้นก็คือ ประเด็นสำคัญของ โลกียสัมมาทิฐิ มิได้มีขอบเขตอยู่แค่เพียง ความคิดความเชื่อในเรื่อง “ทานที่ให้แล้ว มีผล ยัญที่บูชาแล้ว มีผล สังเวยที่บวงสรวงแล้ว มีผล ผลวิบากของกรรมที่ทำดี ทำชั่วแล้วมีอยู่ โลกนี้มี โลกหน้ามี ฯลฯ” อย่างตามมีตามเกิดนะครับ
แต่จะต้องหมายถึง เป็นความเข้าใจต่อ ผลของทาน ฯ วิบาก โลกนี้ โลกหน้า ฯ ที่พ้นไปจากตัวกูของกู สมดังที่ตรัสว่า สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์ เห็นไหมครับว่า มิได้ตรัสถึง สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา(แต่ตรัสว่า ให้ผลแก่ขันธ์) ดังนั้น ก็พิจารณาตนเองดูนะครับว่า ไอ้ที่ทำบุญทำทานกันอยู่นั่น พ้นไปจากตัวกูของกูหรือยัง .... ถ้ายัง ก็แปลว่า ไม่ใช่สัมมาทิฐิ ตรงตามพุทธพจน์นี้ หรือลองพิจารณาตนเองดูสิว่า มีความเชื่อในเรื่องโลกนี้โลกหน้า อย่างปราศจาก ตัวกูของกู แล้วหรือยัง .... ถ้ายัง ก็แปลว่า ไม่ใช่สัมมาทิฐิ ตรงตามพุทธพจน์นี้ ฯลฯ
สิ่งที่จะต้องพิจารณาให้มากก็คือ ท่านทั้งหลายจะสามารถมีสัมมาทิฐิ ตรงความหมายที่แท้จริง ตรงตามพุทธพจน์นี้ได้อย่างไรนั้นต่างหาก หรือมิใช่ (?)

ความเขลา ลำดับที่ (๒)

พระบาลีก็ตรัสอยู่ชัดเจนต่อเนื่องกันนะครับ ว่าจิตอย่างนี้ๆ มาจากการทำกรรมฐาน
คือ อัปปมัญญา ๔ อย่างที่คุณบอกมาเอง ซึ่งย่อมยังเป็นเพียงสมถะกรรมฐาน
อีกทั้งยังทรงตรัสถึงผล ก็คือการเข้าถึง "สุคติโลกสวรรค์" ชัดเจนนะครับ.
แล้วอย่างไรแห่งไหนครับที่คุณว่า "ดับไม่มีเหลือ"?

ไฉนคุณฤทธีเอาพระสูตรมาตัดต่อ แยกเป็นส่วนๆเสียอย่างนั้น
เพียงเพื่อประโยชน์ของตน ในการรุกรานความเห็นผู้อื่น อย่างขาดเหตุผล
ดังที่คุณเรียก จะเป็น"การกระทำที่ปราศจากความละอาย" ต่อพระธรรมไหมครับ

ตอบ พูดกับคนโง่อวดฉลาด นี่พูดยากนะครับ .... เฮอะ เฮอะ ๆๆๆๆ

ดังที่ได้กล่าวไปในข้อที่แล้วว่า สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์ นั้นมิใช่สิ่งที่เกิดขึ้นมาได้แบบ “ลอยๆ” นะครับ หากแต่ต้องผ่านการปฏิบัติทางปัญญามาแล้วอย่างเข้มข้น มิฉนั้น เขา(หรือใครก็ตาม) จะไม่มีทาง เข้าใจใน “ทานที่ให้แล้ว มีผล ยัญที่บูชาแล้ว มีผล สังเวยที่บวงสรวงแล้ว มีผล ผลวิบากของกรรมที่ทำดี ทำชั่วแล้วมีอยู่ โลกนี้มี โลกหน้ามี ฯลฯ” โดยที่พ้นไปจาก สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา ไปได้เลย ขอให้พิจารณาเทียบกับพุทธพจน์จาก มหามาลุงกโยวาทสูตร ซึ่งกล่าวถึง สัมมาสมาธิ ซึ่ง นาย EvaAngelion ค่อนขอดว่า เป็นเพียงสมถะกรรมฐานอย่างสอดคล้องกับ วิปัสสนา อย่างที่นายคนนี้ไม่อาจมองเห็นจาก “สาสวะสัมมาทิฐิ” ความว่า ....

“ดูกรอานนท์ มัคคปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เป็นไฉน?
ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมเพราะอุปธิวิเวก เพราะละกุศลธรรมได้ เพราะระงับความคร้านกายได้โดยประการทั้งปวง บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เธอพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ซึ่งมีอยู่ในกาย ในสมาบัตินั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นความลำบาก เป็นไข้ เป็นอื่น เป็นของทรุดโทรม เป็นของสูญเป็นของมิใช่ตัวตน.
เธอย่อมเปลื้องจิตจากธรรมเหล่านั้น ครั้นเธอเปลื้องจิตจากธรรมเหล่านั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตไปในอมตธาตุว่า ธรรมชาตินี้สงบ ธรรมชาตินี้ประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบสังขารทั้งปวง เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นที่สิ้นกำหนัด เป็นที่ดับสนิทเป็นที่ดับกิเลส และกองทุกข์ดังนี้. เธอตั้งอยู่ในวิปัสสนา อันมีไตรลักษณ์เป็นอารมณ์นั้น ย่อมบรรลุธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้ายังไม่บรรลุธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายย่อมเป็นโอปปาติกะ จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะความยินดี ความเพลิดเพลินในธรรมนั้น และเพราะสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ทั้ง ๕ ดูกร อานนท์ มรรคแม้นี้แล ปฏิปทาแม้นี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ฯ”

หลักฐานประกอบคำอธิบาย ก็นำมาแสดงให้เห็นแล้วนะครับ ที่นี้ถ้าหาก นาย EvaAngelion ต้องการจะค้านคำของผม ก็เพียงแค่ยกหลักฐานมาแสดงให้เห็นว่า พุทธศาสนิกชน สามารถเข้าถึง สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ ซึ่งพระพุทธองค์ตรัสว่า เป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์ กล่าวคือ พ้นไปจากความยึดติดถือมั่นใน สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา โดยมิต้องอาศัย วิปัสสนา อันมีไตรลักษณ์เป็นอารมณ์ ว่ามีอยู่ หรือว่า ไม่มี (?)

ผมขอสรุปประเด็นให้ชัดอีกครั้งนะครับว่า โลกียสัมมาทิฐิ ต่างจาก โลกุตรสัมมาทิฐิ ก็เพียงแค่ ลำดับญาณเท่านั้นนะครับ แต่โดยพื้นฐานในแง่ของการปฏิบัติแล้ว เหมือนกันทุกประการ หรือกล่าวอีกแบบก็คือ โลกียสัมมาทิฐิ เกิดในญาณที่อ่อนกว่า โลกุตรสัมมาทิฐิ (กล่าวคือ ยังไม่พ้น โคตรภูญาณ นั่นเอง)

ประเด็นเริ่มต้นของเรื่องนี้ก็คือ แนวทาง ในการพิจารณาว่าข้อความใดเป็นพุทธพจน์หรือไม่ ก็คือการพิจารณาโดยอาศัยหลักการจากพุทธพจน์ ที่ตรัสกับท่านพระอนุราธะ ความว่า “ดูกรอนุราธะ ในกาลก่อนด้วย ในบัดนี้ด้วย เราย่อมบัญญัติทุกข์และความดับแห่งทุกข์ ฯ”

ทีนี้ก็ขอให้พิจารณาดูเอาเองเถิดว่า ….
ข้อความจาก กาลามสูตรนั้น เนื่องกับทุกข์และความดับทุกข์ หรือไม่ (?) ถ้าใช่ ก็จบ
ข้อความจาก กาลามสูตรนั้น ประกอบไปด้วยเรื่องของ ศีล สมาธิ ปัญญา หรือไม่ (?) ถ้าใช่ ก็จบ
ข้อความจาก กาลามสูตรนั้น เป็นไปเพื่อความดับไม่เหลือ หรือไม่ (?) ถ้าใช่ ก็จบ

แต่เมื่อมาพิจารณาข้อคัดค้านของ นาย EvaAngelion แล้ว .... มันสมเหตุสมผลตรงไหนมิทราบ (?)

ถ้าจะบอกว่า เนื้อความในกาลามสูตรมิได้ตรัสในเรื่องของทุกข์และความดับทุกข์อย่างนั้นหรือ (?) กลับไปอ่านใหม่อีกสัก ๑๐๐ เที่ยว แล้วค่อยมาคุยกัน จะดีกว่าไหม (?)
ทั้งๆที่ พระพุทธองค์ตรัสถึง ศีลสมาธิปัญญา อย่างชัดเจน แต่นายคนนี้กลับอ้างว่า นั่นเป็น โลกียสัมมาทิฐิ ไม่ใช่ โลกุตรสัมมาทิฐิ .... เฮอะ เฮอะ ๆๆๆๆ อย่างนี้เขาเรียกว่าเถียงข้างๆคูๆแล้วนะครับ
จะเป็นสัมมาทิฐิแบบไหน ก็ต้องผ่านการเจริญปัญญาด้วยกันทั้งนั้นนะครับ และความแตกต่างของสัมมาทิฐิทั้ง ๒ แบบ ก็อยู่ที่ลำดับญาณเท่านั้น ในแง่ของภาคปฏิบัติแล้วใช้หลักการอย่างเดียวกันครับ คือ ต้องอาศัย วิปัสสนา อันมีไตรลักษณ์เป็นอารมณ์ เพราะถ้าปราศจากการเจริญปัญญาเสียแล้ว มันจะเกิดสัมมาทิฐิมิได้ แม้ว่านั่นจะหมายถึงสัมมาทิฐิในฝ่ายโลกียะก็ตาม
กล่าวคือ มิใช่แค่ คุณเชื่อเรื่องชาตินี้ชาติหน้าแล้ว นั่นจะแสดงให้เห็นว่า คุณเป็นพวกสัมมาทิฐิ(โลกียะ) นะครับ เพราะหลักใหญ่ใจความมันอยู่ที่ ความเชื่อเหล่านั้นจะต้องไม่ประกอบไปด้วย ความยึดติดถือมั่นใน สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา ต่างหาก สมดังที่ตรัสว่า เป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์(มิใช่ ให้ผลแก่นายนั่นนางนี่) แปลความได้ว่า ถ้าคุณเชื่อในเรื่องชาตินี้ชาติหน้า แต่ในความเชื่อนั้น กลับปรากฏว่ามี ตัวกูของกู คือ สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา ประกอบความเชื่อนั้นอยู่ ความเชื่อนั้นยังมิใช่ สัมมาทิฐิ นะครับ ถ้านาย EvaAngelion รู้สึกว่ายังไม่สาแก่ใจ ก็ลองกลับไปพิจารณาข้อความจาก สังขิตตสูตร ซึ่งพระพุทธองค์ได้ตรัสกับท่านพระนางมหาปชาบดีโคตมีเถรี ความว่า ....

“ดูกรโคตมี ท่านพึงรู้ธรรมเหล่าใดว่า ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อความกำหนัด เป็นไปเพื่อไม่ประกอบสัตว์ไว้ ไม่เป็นไปเพื่อประกอบสัตว์ไว้ เป็นไปเพื่อไม่สั่งสมกิเลส ไม่เป็นไปเพื่อสั่งสมกิเลส เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อย ไม่เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักมาก เป็นไปเพื่อสันโดษไม่เป็นไปเพื่อไม่สันโดษ เป็นไปเพื่อความสงัด ไม่เป็นไปเพื่อความคลุกคลีด้วยหมู่คณะ เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร ไม่เป็นไปเพื่อความเกียจคร้านเป็นไปเพื่อความเป็นคนเลี้ยงง่าย ไม่เป็นไปเพื่อความเป็นคนเลี้ยงยาก ดูกรโคตมี ท่านพึงทรงจำไว้โดยส่วนหนึ่งว่า นี้เป็นธรรมเป็นวินัย เป็นคำสั่งสอนของพระศาสดา ฯ”

นาย EvaAngelion อ่านพุทธพจน์แล้วเข้าใจไหมครับว่า ....

ธรรมเหล่าใด เป็นไปเพื่อไม่ประกอบสัตว์ไว้ ไม่เป็นไปเพื่อประกอบสัตว์ไว้ ท่านพึงทรงจำไว้โดยส่วนหนึ่งว่า นี้เป็นธรรมเป็นวินัย เป็นคำสั่งสอนของพระศาสดา

กล่าวคือ ถ้า นาย EvaAngelion เชื่อเรื่อง โลกนี้โลกหน้า จนแม้แต่เชื่อเรื่อง วิบากกรรม ผลของทาน ฯลฯ แต่ความเชื่อนั้นกลับเป็นไปเพื่อประกอบสัตว์(สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา)ไว้ในวัฏสงสาร พระพุทธองค์ตรัสว่า นั่นมิใช่ สัตถุสาสน์ นะครับ
แล้วหนทางเดียวที่ชาวพุทธทั้งหลายจะสามารถเข้าถึง โลกียสัมมาทิฐิ มิใช่หนทางเดียวกันกับการเข้าถึง โลกุตตรสัมมาทิฐิ หรอกหรือ (?)
ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ใครบางคน คงจะไม่ลืมพุทธพจน์ที่ตรัสไว้ใน มหาสติปัฏฐานสูตรที่ว่า ....

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์ เพื่อล่วงความโศกและ
ปริเทวะ เพื่อความดับสูญ แห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน หนทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ฯลฯ”

ความเขลา ลำดับที่ (๓)

ปรโลก ในกาลามสูตร เป็นเรื่อง "โลกนี้มี โลกหน้ามี" ในพระสูตรนี้ มั้ยครับ?
"การเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์"ในกาลามสูตร เป็นการ "ให้ผลแก่ขันธ์" มั้ยครับ?
"ผลวิบากของกรรมทำดีทำชั่วมีจริง"ในกาลามสูตร ตรงกับ "ผลวิบากของกรรมที่ทำดี ทำชั่วแล้ว มีอยู่" มั้ยครับ?
สรุป ปัญญาในกาลามสูตรยังเป็นสาสวะ ที่ไม่ใช่โลกุตระ คงไม่ต้องแจกแจงไปมากกว่านี้ ใช่ไหมครับ

ดังนี้ คุณอ้างพระสูตรพระธรรม ทั้งที่ยังไม่ได้พิจารณาเสียเอง เป็นวิถีอันควรแล้วของบัณฑิตเรียนธรรมหรือครับ

ตอบ นายคนนี้ ยังอุตส่าห์มีหน้ามาถามผมว่า ….

"การเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์"ในกาลามสูตร เป็นการ "ให้ผลแก่ขันธ์" มั้ยครับ?

เฮ้ออออออออออออออออออ .... ผมจะ “หัวเราะ” เป็นภาษาอะไรดีวะเนี่ย (?)

คืออย่างนี้นะครับ ไม่มีใครเขาปฏิเสธ นรกสวรรค์ อะไรนั่นหรอกนะครับ และเรื่องนรกสวรรค์ มันก็ยังมิใช่ประเด็นสำคัญในการตัดสินชี้ขาดในการเข้าถึงพระธรรมวินัย เสียด้วย ซึ่งเรื่องนี้สังเกตไม่ยากเลย ก็ลองกลับไปพิจารณา กาลามสูตร ดูให้ดีๆสิว่า พระพุทธองค์ตรัสถึง ความวางใจ(หรือความอุ่นใจ) ๔ อย่าง คือ ....
๑. ถ้าผลของความดีความชั่วมี ตนก็จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
๒. ถ้าผลของความดีความชั่วไม่มี ก็รักษาตัวให้มีความสุขได้ในปัจจุบัน
๓. ถ้าทำบาปเป็นอันทำ ตนไม่ทำบาปก็คงไม่ประสบทุกข์
๔. ถ้าทำบาปไม่เป็นอันทำ ก็เห็นว่าตัวเองบริสุทธิ์ทั้ง ๒ ทาง
จะเห็นได้ว่า จากพุทธพจน์ในส่วนนี้ ก็ชัดเจนแล้วนี่ครับว่า เราสามารถทำความดี ได้โดยไม่จำเป็นต้องมีความเชื่อ เรื่องบุญบาป หรือเรื่องชาตินี้ชาติหน้าเอาเลยด้วยซ้ำ .... อ่านแล้ว อย่ามาทำเป็นมึนนะครับ !!!!
กล่าวโดยสรุปก็คือ ประเด็นสัมมาทิฐินั้นเน้นที่คำว่า “ให้ผลแก่ขันธ์” ตามที่ นาย EvaAngelion ยกมาอ้าง(โดยไม่รู้ความหมายที่แท้จริง) นั่นแหละ .... หึหึหึหึ

แต่เดิมที่ผมมิได้อธิบายให้มากไปกว่าเท่าที่โพสต์ไปนั้น ก็เนื่องจากเข้าใจ(เอาเอง)ว่า คนในบอร์ดคงจะเข้าใจได้เองอยู่แล้ว เนื่องจากเป็นเรื่องที่ “ตื้น” ซึ่งผู้ศึกษาพระศาสนาเพื่อความดับทุกข์ ย่อมต้องผ่านและเข้าใจความข้อนี้ ดีอยู่แล้ว
แต่ผิดคาดไปหน่อยก็ตรงที่ต้องมาเจอกับพวก “ลูกเป็ดไก่อ่อน” ที่หลง(ผิด)นึกว่าตนเองเก่งกล้าสามารถเสียเต็มประดา(จนถึงกับหาญกล้าไปกล่าววาจาจาบจ้วงพระมหาเถระ) .... เฮอะๆๆๆๆ


สรุปในสรุป

กาลามสูตร เป็นพระสูตรที่ตรัสถึง ศีลสมาธิปัญญาอย่างครบถ้วนดีอยู่แล้ว กล่าวคือเนื่องกับทุกข์และความดับทุกข์อย่างชัดเจน การที่ “ลูกเป็ดไก่อ่อน” บางตัว ไปยกประเด็น โลกียสัมมาทิฐิ มาอ้างอย่างโง่ๆ โดยกล่าวว่า ไม่ได้เป็นไปเพื่อความดับไม่เหลือนั้น ก็ย่อมเป็นภาระที่ “ลูกเป็ดไก่อ่อน” ตัวนั้น จะต้องอธิบายให้ได้ว่า เขาสามารถเข้าถึง โลกียสัมมาทิฐิ ตามที่อ้างถึงนั้นด้วยหนทางใด หากมิใช่หนทางเดียวกันกับ การเข้าถึง “โลกุตตรสัมมาทิฐิ” นั่นเอง ผมชี้ให้เห็นแล้วนะครับว่า หนทางเข้าถึงสัมมาทิฐิทั้ง ๒ อย่าง ในทางปฏิบัติ นั้นเป็นทางเดียวกัน ต่างกันแต่เพียงลำดับ(ของ)ญาณเท่านั้นเอง ดังนั้น ถ้าต้องการปฏิเสธความจริงข้อนี้ ก็กรุณาอธิบายความข้อนี้ออกมาให้ได้นะครับว่า ....

นาย EvaAngelion สามารถเข้าถึงความเชื่อในเรื่อง วิบากกรรม ผลของทาน ฯลฯ อย่างปราศจาก ความยึดติดถือมั่นใน สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา สมดังที่พระพุทธองค์ตรัสว่า เป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์ ได้อย่างไร ถ้ามิใช่ทางอันเอก กล่าวคือ วิปัสสนา อันมีไตรลักษณ์เป็นอารมณ์ ซึ่งก็เป็นทางเดียวกันกับการเข้าถึง “โลกุตตรสัมมาทิฐิ” ที่นายคนนั้น พยายามจะแยกออกมาต่างหาก(ด้วยความอ่อนหัด)นั่นแหละ

สุดท้ายนี้ ผมก็ยังยืนยันคำเดิมว่า นาย EvaAngelion จะต้องรับผิดชอบ ในคำพูดของตนเอง ที่กล่าวอย่างพล่อยๆว่า ....

กาลามสูตรเอง ก็ไม่ได้เป็นไปเพื่อ"ความดับไม่มีเหลือ" อย่างที่ท่านพุทธทาสใช้เป็นเกณฑ์ชี้วัด

แล้วผมจะรอดูว่า คนๆนี้ มันจะหน้าด้านเก้อยากไปได้นานสักแค่ไหน (?)



ฤทธี



http://www.oknation.net/blog/SiamBhikhunis

http://rittijanson.blogspot.com/